17091 : โครงการส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการด้วยการพัฒนาทักษะและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และผู้ประกอบการชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา พัฒนสิงห์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/4/2564 10:34:47
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/04/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษาหมาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขนิษฐา  พัฒนสิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 64 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 64 MJU 4.2 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 64 MJU 4.1.2 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ MJU64 : 1.3 พัฒนานักศึกษาให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด 1.3.1 ระดับความสำเร็จของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
กลยุทธ์ 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) 5 ด้าน
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาแม้มีการพัฒนาเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ประชาชนยังเกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รัฐบาลจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อีกทั้งรัฐบาลยังปรับตัวแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 โดยการปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทดแทนยุค 3.0 เดิมซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก โดยมีการวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580) เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนา โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันนั้นมีความจำเป็นต้องพัฒนาสังคมผู้ประกอบการซึ่งต้องมุ่งพัฒนาทั้งด้านผู้ประกอบการและปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การดำเนินกิจกรรมของการประกอบการนั้นช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต การมุ่งสร้างวัฒนธรรมหรือสังคมผู้ประกอบการให้แพร่หลายจะช่วยสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีพื้นฐานความรู้ และมีศักยภาพและประสิทธิภาพ สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และแข่งขันในระดับเวทีการค้าโลกได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้ประกอบการนั้น ปัจจัยสำคัญคือต้องมีบุคลากรพร้อมรับมือกับการปรับตัว ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงเป็นภาคส่วนที่สำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนองค์กรขนาดใหญ่ตามแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาคอุตสาหกรรมในยุคประเทศไทย 3.0 ดังนั้นเพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ก้าวสู่สังคมแห่งการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงได้กำหนดแผนพัฒนาส่วนงานไว้ 6 มิติ โดยมิติที่ 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing) เป็นมิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ และ ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับแผนพัฒนาส่วนงานที่ตั้งไว้ สาขาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้และได้กำหนด “โครงการส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการด้วยการพัฒนาทักษะและสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และผู้ประกอบการชุมชน” ขึ้นมาเพื่อสร้างวัฒนธรรมหรือสังคมผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยมุ่งเน้นการสร้างภาวะความเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ผู้ประกอบการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้เกิดความตระหนักและซึมซับกระบวนการทางความคิด (Mindset) ของการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มต้นจนเป็นบุคคลที่สามารถจัดตั้งธุรกิจใหม่และสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองและสังคมได้ในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ และเทคนิคในการสร้างและปรับแผนธุรกิจใหม่
2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรจากสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะความเป็นผู้ประกอบการ สามารถคิดและนำเสนอแผนธุรกิจได้
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการสร้างธุรกิจใหม่ และ/หรือการปรับแผนธุรกิจ ตลอดจนนำเสนอแผนธุรกิจได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนนักศึกษา ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะความเป็นผู้ประกอบการ สามารถคิดและนำเสนอแผนธุรกิจได้
ชื่อกิจกรรม :
1. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมาย และรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2. ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
2.1 อบรมเชิงปฏิบัติการ การค้นหาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการด้วยการวิเคราะห์ SWOT
2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model Canvas)
2.3 อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม เพื่อการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด (Design Thinking)
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการ Pitching Perfect ผ่านเทคนิคการถ่ายทอดโดยการบอกเล่าแบบ Story Telling
3. สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/04/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  พัฒนสิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ฉันทวรรณ  เอ้งฉ้วน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ฉัตรนลิน  แก้วสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถอบรม Onsite ในลักษณะการรวมกลุ่มได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
อบรมออนไลน์ผ่าน Microsoft team (เฉพาะกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)
อบรมออนไลน์ผ่าน Microsoft team (เฉพาะกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร)
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล