17070 : English camp for Kids 2021
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางนพนิตย์ วงศ์สุ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/5/2564 10:16:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/03/2564  ถึง  30/04/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เด็ก อายุตั้งแต่ 6-12 ปี จำนวน 20 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 20 คนๆละ 1,500 บาท 2564 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิยะดา  ชัยเวช
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA64-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA64-G9 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด KPI 64-27 รายได้จากการให้บริการวิชาการ (อบรม ดูงาน ที่ปรึกษา วิทยากร ฯลฯ)
กลยุทธ์ BA64-S-54 ส่งเสริมและสนัสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค 4.0 เด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาให้สามารถสร้างผลงาน หรือนวัตกรรมได้ โดยพัฒนาเด็กให้มีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดผลิตภาพและการคิดรับผิดชอบ ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณลักษณะดังกล่าว ควรพัฒนา ให้เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการลงมือกระทำได้ปฏิบัติจริง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์เป็น ชิ้นงาน ซึ่งการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัย อย่างไรก็ตามการพัฒนาเด็กปฐมวัยจะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเด็กปฐมวัยทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยพัฒนาอย่างรอบ ด้านอย่างสมดุล รวมถึงการพัฒนาจิตปัญญาที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เน้นการพัฒนาความคิด จิตใจ อารมณ์ภายในตนเอง อย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง รู้คุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อม ต่อธรรมชาติ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถประยุกต์เชื่อมโยงกับศาสตร์ต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุลและ มีคุณค่า ด้วยเหตุนี้ จิตตปัญญาศึกษาจึงเป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในระดับต่าง ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภายในตน การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม ศูนย์นวัตกรรมการจัดการธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน (iCAMS) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดโครงการ ค่ายปฐมวัย (Child’s camp) ซึ่งกิจกรรมค่ายปฐมวัยในรูปแบบการสร้างการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านศูนย์/ฐานเรียนรู้ทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้มีเรียนรู้วิถีทางการเกษตรผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้มีคุณลักษณะการพัฒนาปฐมวัย 4.0 ที่ต้องการ นอกจากการจัดกิจกรรมผ่านศูนย์/ฐานเรียนรู้แล้ว ยังมีกิจกรรมในห้องเรียนที่เสริมพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อผู้เรียนในระดับปฐมวัยด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะเด็กปฐมวัยตามหลักการพัฒนา 4.0
เพื่อประชาสัมพันธ์ฐาน/ศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้กับเด็กรุ่นใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักและเรียนรู้กิจกรรมทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักและเรียนรู้กิจกรรมทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 3 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักและเรียนรู้กิจกรรมทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
English camp for Kids 2021

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/03/2564 - 04/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยะดา  ชัยเวช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางจิราพร  ชัยเขตร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายนรินทร์   ปิ่นแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1.ค่าอาหารกลางวัน
- ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คนๆ ละ 150 บาท จำนวน 5 มื้อ เป็นเงิน 15,000 บาท
- เจ้าหน้าที่ของคณะฯ จำนวน 5 คนๆ ละ 150 บาท จำนวน 5 มื้อ เป็นเงิน 3,750 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมโครงการ) จำนวน 20 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 10 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
3.ค่าของที่ระลึก ฐานเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 5 ฐาน เป็นเงิน 3,250 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภค เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล