16939 : ยุวชนอาสาเพื่อพัฒนาศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.กรรณิกา ชัยอุดมวิถี (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/2/2564 12:08:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2563  ถึง  30/11/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คน ประกอบด้วยเยาวชน เกษตรกร กลุ่มชุมชน นักเรียนและนักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 350,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากรายงานการติดตามสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศ ในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2561 พบว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยว 19.481 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 12.46 เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายนที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.57 นักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินเดีย สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1,015,893 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.88 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนในเดือนกรกฎาคม จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวเพียงร้อยละ 4 เนื่องจากการหดตัวของนักท่องเที่ยวจีนและยุโรป อย่างไรก็ตามคาดการณ์ตลอดทั้งปี 2561 การท่องเที่ยวจะสร้างรายได้รวม 3 ล้านล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2 ล้านล้านบาทและจากไทยเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวที่สร้างรายได้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน รัสเซียและมาเลเซีย (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา,2561) และจากการประชุมได้มีการวางแผนการดำเนินงาน ปี2562 เน้นการใช้วิถีการกินนำไปสู่การสัมผัส Local Experience สร้างมูลค่าเพิ่มด้วย content สร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อม และชูอัตลักษณ์เมืองรองมาเป็นส่วนผสมหลักในการสร้างสรรค์สินค้า สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเพื่อตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีตลาดการท่องเที่ยวขยายตัว จากการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในกลุ่มประเทศ GMS ซึ่งมีความโดดเด่นด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีและธรรมชาติที่คล้ายคลึงกัน สามารถพัฒนา เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายร่วมกันและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและนานาชาตินอกจากนั้น แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของภาคที่มีเป็นจำนวนมาก ยังสามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมเชิงอนุรักษ์มากขึ้น โดยอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นต้นน้ำที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จากแหล่งต้นน้ำที่ไหลรวมกันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย และทำให้เกิดทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวเขื่อนเก็บน้ำและอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ (พัทธ์ธีรา รชดะไพโรจน์,2553) ชุมชนบ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนครัวเรือน 425 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 962 ราย โดย ส่วนใหญ่ประกอบการอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 4,500 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 2,195 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 415 ไร่ และพื้นที่ทำสวนจำนวน 1,780 ไร่ โดยมีผู้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน อ่างเก็บน้ำห้วยก้าง อ่างเก็บน้ำห้วยกุ๊ก เพื่อการอุปโภคบริโภค ปศุสัตว์ และการเกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา โดยเริ่มจากปี 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริโครงการสร้างเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลขึ้นบ้านภูดิน และมีราษฏรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ดังนั้น ทางราชการจึงต้องอพยพในพื้นที่ใหม่ และก่อตั้งหมู่บ้านเป็นบ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ให้กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเกษตร เรียกว่า “อ่างเก็บน้ำห้วยภูดิน” ต่อมาในปี 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยก้าง และในปี พ.ศ.2521 พระองค์ได้ทรงเสด็จมาเยี่ยมราษฏรบ้านภูดินเพื่อติดตามทรงติดตามงานโครงการต่างๆภายในหมู่บ้านและทรงมีพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยกุ๊กเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง ด้วยทรงห่วงใยถึงปัญหาน้ำที่ไม่เพียงพอต่อการเกษตร นับเป็นเวลาได้ 35 ปี ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่งเป็นแหล่งน้ำที่รองรับน้ำจากลำห้วยที่ไหลลงมารวมกันจำนวนมาก โดยบริเวณรอบๆอ่างเก็บน้ำ เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนอาศัยและและแหล่งเพาะปลูก ชาวบ้านจึงได้ใช้แหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค ทั้งการเกษตร และการดำรงชีพ ซึ่งในอดีตได้มีปัจจัยมาจากความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย และเกิดความเสื่อมโทรมจนเกิดปัญหาตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งการขาดกลไกการสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำที่ไม่มีความสมดุลทั้งในระดับภาพรวม ได้แก่ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ป่า ดิน สิ่งแวดล้อม พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น จนปัจจุบันได้มีการบริการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้มีประสิทธิภาพอันเกิดประโยชน์ได้สูงสุด ซึ่งมีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยการกำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำได้ยึดหลักแนวทาง จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่ให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยมีการน้อมนำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ในส่วนประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ การปรับตัวของเกษตรกรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความมั่นคงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำและเร่งแก้ไขวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12, 2561) โดยมีแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญที่ครอบคลุม เพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเกิดความยั่งยืน เริ่มจากต้นทางคือ การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำจากทรัพยากรต้นน้ำโดยใช้แนวพระราชดำริ ว่าด้วยเรื่องป่าเปียก ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ให้ไว้สำหรับการฟื้นฟูต้นน้ำและเป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) และนำหลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำสำหรับการฟื้นฟูป่าชุมชนโดยทฤษฎีป่าเปียกผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนและรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การบริหารจัดการให้เกิดอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยให้มีการบริหารจัดการ กลไก การประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่างๆทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคประชาชนในชุมชนท้องถิ่น โดยสามารถวางแผนการใช้น้ำและการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย และอนุรักษ์บำรุงรักษาทรัพยากรน้ำได้อันเป็นการนำไปสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยึดหลักคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามาใช้เป็นหลักในการขับเคลื่อนเพื่อลดความเลื่อมล้ำในสังคม ถึงการพัฒนาประสิทธิภาพแนวทางการบริหารจัดการทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสู่การท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบัน กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หรือเชิงนิเวศ มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกิจกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันนั้น เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แทบทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและประสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้นอันเป็นการตอบสนองกระแสการท่องเที่ยวโลกในรูปแบบผสมผสานดังกล่าวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความพึงพอใจและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวเป็นสำคัญอีกด้วยทั้งโครงการดังกล่าวสามารถต่อยอดในรูปแบบอื่นๆเพื่อให้เกิดรูปธรรมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดต่อไปได้ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยต้นทางคือ การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งชุมชนบ้านภูดิน ได้มีการสำรวจทรัพยากรชุมชนและจัดทำเส้นทางประวัติศาสตร์ อาทิ เรื่องราวประวัติศาสตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเสด็จมาเยี่ยมราษฎร และการทรงงานและแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ชุมชนภูดิน เส้นทางที่พระองค์เสด็จประพาสไปยังอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง และสถานที่ประทับของพระองค์ เช่น ลานพลับพลา ลานประทับ เป็นต้น โดยมีแนวทางการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว “ตามรอยภูมิพล สู่ภูดิน” โดยเชื่อมโยมเส้นทางประวัติศาสตร์บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางเชิงนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และฐานเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ สลับเป็นระยะ กระบวนการกลางทางคือ การสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่านการนำเสนอกิจกรรมในโปรแกรมการท่องเที่ยว เช่น การศึกษาฐานเรียนรู้ หรือการนำนักท่องเที่ยวเยือนชมทรัพยากรในอ่างเก็บน้ำ การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชน และฐานการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ คือ การจัดการน้ำและการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet Fire Break) ซึ่งแนวพระราชดำริป่าเปียก เป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทำได้ง่ายและได้ผลดีนิ่ง ทรงคิดค้นขึ้น โดยการนำเอาหลักการที่แสนง่ายดาย แต่ได้ประโยชน์อย่างมหาศาล มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวิธีการประกอบกันได้ทรงพระราชทานวิธีการสร้าง “ป่าเปียก” เอาไว้ให้ประชาชนได้ดำเนินการตามพระราชดำริ 6 วิธีด้วยกัน ได้แก่ 1) การจัดทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยที่มีการใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ไปปลูกที่บริเวณตามแนวคลองต่าง ๆ 2) การสร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟของ ป่าเปียก โดยที่มีการอาศัยน้ำในชลประทานและน้ำฝนมาช่วย 3) การปลูกต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เพื่อใช้ครอบคลุมแนวร่องน้ำ ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวนั้นเกิดความชุ่มชื้นอย่างทวีขึ้นและก็สามารถแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างของร่องน้ำ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เพราะว่าไฟป่านั้นมักจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น 4) การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นให้กับพื้นดิน หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Check Dam” เพื่อทำการปิดกั้นร่องน้ำ หรือ ลำธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินเอาไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะทำการซึมเข้าไปสะสมในดิน ช่วยทำให้ดินเกิดเป็นความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”5) การสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย และ6) การปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก นอกจากนี้ ยังรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ให้มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนสอดคล้องกระแสโลก ด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นที่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงก่อให้เกิดขบวนการเรียนรู้ สร้างเสริมความเข้าใจสร้างจิตสำนึกต่อผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกันอนุรักษ์รักษาดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มิให้ถูกทำลายหรือเกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างที่มีอยู่ในระบบนิเวศอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติจนเกิดความเสียหาย เป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชุมชน เพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดโดยมีราษฎรในชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน ทั้งการจัดทำเส้นทาง แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นมีความพร้อมในการจัดทำเป็นถานที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนเองที่ต้องการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรราชาติที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาสินค้าและบริการด้วยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อรักษาไว้เป็นวัฒนธรรมของชุมชนต่อไป ปลายทางคือ การตลาด ซึ่งมีการพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวในด้านอาชีพชุมชนให้แก่กลุ่มชุมชน ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนใหม่ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะม่วง จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ มะม่วงกวน และแยมมะม่วง และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลำไย จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ท๊อฟฟี่ลำไย แยมลำไย และไวน์ลำไย ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างสินค้าที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ให้แก่กลุ่มชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน นอกจากนี้ ยังการการพัฒนา การเตรียมความพร้อมโฮมสเตย์ชุมชน และการมัคคุเทศก์นำเที่ยวท้องถิ่น ให้เกิดการพัฒนาขับเคลื่อน และนำไปสู่ความเข้มแข็งในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน จากนั้นจึงนำไปสู่การสร้างเครือข่าย การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยการสร้างเนื้อหาการนำเสนอชุมชนจากการเริ่มต้นในอดีต จนได้รับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 จนเป็นชุมชนภูดินที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีศักยภาพและสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัย มีความสนใจในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยว องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ และองค์ความรู้ในการพัฒนาอาชีพจากการท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนามาตรฐานโฮมสเตย์ชุมชน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อการพัฒนาศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อจัดการองค์ความรู้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : : เยาวชน เกษตรกร กลุ่มชุมชน นักเรียนและนักศึกษามี องค์ความรู้ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
KPI 1 : นักศึกษาได้รับการศึกษาด้านเส้นทางเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : องค์ความรู้การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 3 : องค์ความรู้ในสาขาวิชาและการศึกษาเรียนรู้ในสาขาวิชารูปแบบใหม่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 4 : การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 5 : จิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : รายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ร้อยละ 3
KPI 7 : เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ของชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เส้นทาง 1
KPI 8 : รูปแบบการถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รูปแบบ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : : เยาวชน เกษตรกร กลุ่มชุมชน นักเรียนและนักศึกษามี องค์ความรู้ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ชื่อกิจกรรม :
ยุวชนอาสาเพื่อพัฒนาศักยภาพของกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านภูดิน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2563 - 31/01/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 150 คน ๆ ละ 35 บาท 6 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง
เป็นเงิน 63,000 บาท
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 50 บาท 6 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง
เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 150 คน ๆ ละ 200 บาท 3 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง
เป็นเงิน 180,000 บาท
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 100 บาท 3 มื้อ จำนวน 2 ครั้ง
เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 192,000.00 บาท 192,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถ
จำนวน 1 คัน ๆ ละ 16 วัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 40,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก
จำนวน 3 ห้อง ๆ ละ 12 คืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
เช่น กระดาษ ปากกา เป็นเงิน 14,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,200.00 บาท 14,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 350000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล