16937 : โครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่และปลาในชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของอาหารโปรตีนในท้องถิ่น
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางดาริน ชมภูพันธ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/2/2564 10:22:20
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
22/03/2564  ถึง  30/04/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  12  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ครัวเรือน ผู้เข้าโครงการจำนวน 42 คน ประกอบไปด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี (คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, คณะบริหารธุรกิจ และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี) จำนวน 30 คน บุคลากร จำนวน 12 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแหล่งอื่น (งบเฉพาะกิจ) 2564 350,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. สุภารักษ์  คำพุฒ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร  ธาราฉาย
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64-2.1.1 ผลิตบัณฑิตที่เป็นมืออาชีพด้านสัตวศาสตร์ (มืออาชีพ เน้น ทักษะเชิงปฏิบัติ, มีภาวะผู้นำ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21)
ตัวชี้วัด AS 64-2.8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนานักศึกษา 5 ด้าน
กลยุทธ์ 64-2.1.6 ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะทางวิชาการ และทักษะการใช้ชีวิต ด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เป้าประสงค์ 64-2.3.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสัตวศาสตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ตัวชี้วัด AS 64-2.18 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 64-4.1 สร้างองค์ความรู้ใหม่และ/หรือนวัตกรรมรวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อำเภอกัลยาณิวัฒนา อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ไม่มากนักแต่การเดินทางค่อนข้างยากลำบากเนื่องจากอยู่ในเขตเทือกเขา และการเดินทางไปยังชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ก็ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากอยู่ในเขตเทือกเขาและถนนหนทางก็อยู่ในสภาพไม่ดี เนื่องจากข้อจำกัดของภูมิประเทศ เรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน วัตถุดิบแหล่งอาหารโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางซื้อมาจากแหล่งอื่นเพื่อจำหน่ายในตลาดในตัวอำเภอ จากนั้นจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อต่อเพื่อนำไปจำหน่ายในชุมชนต่าง ๆ อีกต่อหนึ่ง ทำให้ราคาค่อนข้างแพงอันเนื่องมากจากการขนส่งและการเก็บรักษาของสด ซึ่งปรากฎการณ์นี้ได้ส่งผลให้เด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะย่างยิ่งแหล่งโปรตีนไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปเนื่องไปถึงร่างกาย ในด้านพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญา จากปัญหาดังกล่าวนี้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก็จะส่งผลกระทบต่อการสาธารณสุขพื้นฐานของประเทศ และถ้าพลเมืองรุ่นใหม่มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายและสติปัญญาแล้วก็จะส่งต่อเนื่องไปถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตได้ จากสถานการการระบาดของโรคโควิต 19 ในระยะที่ผ่านมา ได้มีบทพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าอาชีพที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการปิดประเทศได้แก่ อาชีพเกษตร ดังจะเห็นได้จากประชาชนที่อยู่ในชนบทหรือตามหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างไรก็ตาม การเกษตรในปัจจุบันจำเป็นจะต้องพัฒนาเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดในขณะที่ได้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงที่สุดในพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องมีการเอาใจใส่ดูแลอย่างถูกวิธีจึงจะมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไก่ไข่ และปลา ถือสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถผลิตเป็นแหล่งโปรตีนในชุมชนที่มีคุณภาพดีและมีราคาถูก สามารถบริโภคได้ทุกวัน ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่และปลาในระดับชุมชน เพื่อผลิตวัตถุดิบแหล่งอาหารโปรตีนในชุมชน บริโภคและจำหน่ายในชุมชน โดยคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จะนำเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงไก่ไข่ไปถ่ายทอดให้ชุมชนผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการจัดการฟาร์มสัตว์ปีก โรงเรือนและอุปกรณ์สัตว์ปีก โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ปีก โภชนศาสตร์และการให้อาหารสัตว์ปีก เป็นต้น คณะประมงและทรัพยากรทางน้ำจะนำเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงปลา การป้องกันโรคปลาและอาหารปลา ส่วนคณะบริหารธุรกิจจะดำเนินการศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจชุมชน การทำบัญชีครัวเรือน วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ตลอดจนการวางแผนการจัดจำหน่ายผลผลิต เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบการผลิตภาคการเกษตรในพื้นที่ห่างไกลผ่านกลไกฝึกอบรมโดยยุวชนอาสา
2. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนผ่านกลไกยุวชนอาสา
3. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการเกษตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการพัฒนาชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่และปลาในชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของอาหารโปรตีนในท้องถิ่น
KPI 1 : – องค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาเกษตรบนในพื้นที่ห่างไกล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 องค์ความรู้ 2
KPI 2 : จำนวนยุวชนอาสานำองค์ความรู้ไปพัฒนาระบบการเกษตรของท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : - การเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจหมุนเวียนของชุมชนเป้าหมาย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ร้อยละ 30
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่และปลาในชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของอาหารโปรตีนในท้องถิ่น
ชื่อกิจกรรม :
โครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่และปลาในชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของอาหารโปรตีนในท้องถิ่น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/02/2564 - 30/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
หมวดค่าใช้สอย
- ค่าอาหารนักศึกษา วันละ 100 บาท จำนวน 30 คน ระยะเวลา 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง รวม 24,000บาท
- ค่าที่พักอาจารย์(เบิกจ่ายจริง) คนละ 335 บาท จำนวน 12 คน ระยะเวลา 1 คืน จำนวน 4 ครั้ง รวม 16,080 บาท
- ค่าที่พักนักศึกษา(เบิกจ่ายจริง) คนละ 335 บาท จำนวน 30 คน ระยะเวลา 1 คืน จำนวน 4 ครั้ง รวม 40,200 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ คนละ 240 บาท จำนวน 12 คน ระยะเวลา 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง รวม 23,040 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการเช่ารถยนต์ วันละ 1,800 บาท จำนวน 5 คัน ระยะเวลา 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง รวม 72,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน 2 เรื่องๆ ละ 5,000 บาท รวม 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 185,320.00 บาท 185,320.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
หมวดค่าวัสดุ
- วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่่น : ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (ไปกลับ จ่ายตามจริง) 1,500 บาท จำนวน 5 คัน จำนวน 4 ครั้ง รวม 30,000 บาท
- วัสดุการเกษตร : เวชภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค วัคซีน ฯลฯ 10,000 บาท 2 ครัวเรือน รวม 20,000 บาท
- วัสดุการเกษตร : ทำฟาร์มตัวอย่าง เช่น ตาข่าย ไม้ไผ่ ลวด ฯลฯ 20,000 บาท 2 ครัวเรือน รวม 40,000 บาท
- วัสดุเกษตร : ใช้ฝึกอบรม เช่น ไก่ไข่ ลูกปลา อาหารสัตว์ ฯลฯ 30,000 บาท 2 ครัวเรือน รวม 60,000 บาท
- วัสดุสำนักงาน: เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ฯลฯ รวม 4,680 บาท
- วัสดุคอมพิวเตอร์ : เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ รวม 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 164,680.00 บาท 164,680.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 350000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล