16901 : โครงการแนวทางการสร้างและสนับสนุนนวัตกรรมในวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ดร.วัฒนาพงษ์ ใหม่เฟย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 15/2/2564 15:59:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2564  ถึง  30/04/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  กลุ่มตัวแทนเครือข่ายเกษตร/OTOP/SMEs ในชุมชน และคนวัยทำงานที่มีความสนใจที่พัฒนาด้านนวัตกรรม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแหล่งอื่น (งบเฉพาะกิจ) 2564 300,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
ดร. วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กัญญ์พัสวี  กล่อมธงเจริญ
อาจารย์ ดร. ชมชวน  บุญระหงษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภัสสร  วรรณสถิตย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โสภณ  ฟองเพชร
รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์  สุวรรณรักษ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64Info-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจ (MOC) (ด้านการให้บริการวิชาการ)
เป้าประสงค์ 64Info-2.5 บริการวิชาการและชี้นำแนวทางต่อการพัฒนาสังคม
ตัวชี้วัด 64Info-2.2 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 64Info-2.5.1 คณะฯ ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดผลงานตามความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านสื่อดิจิทัลและส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในกิจกรรมของชุมชนที่มีการใช้สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกในการพัฒนาชุมชนสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษ ขยะ ฝุ่นควัน และปัญหาโรคอุบัติใหม่ ทั้งหมดนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และความต้องการใช้ทรัพยากรการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นจนขาดความสมดุลเกินความสามารถที่โลกจะรองรับได้ แนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบผลิตจึงมุ่งสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ หรือลดการทิ้งของเสียสู่สภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด ภายใต้ระบบเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy Model ซึ่งประกอบด้วย B- Bio Economy : เศรษฐกิจชีวภาพ C-Circular Economy : เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G-Green Economy : เศรษฐกิจสีเขียว ตามกรอบนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาความรู้ การจัดการ และเทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพของระบบการผลิต การนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติ ที่มุ่งเป้าการพัฒนาระบบผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถแก่ชุมชนและท้องถิ่นให้เรียนรู้สิ่งใหม่ พึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสามารถปรับใช้นวัตกรรม นำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาการพัฒนาอาชีพในชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรกรรมภายใต้การเติบโตสีเขียว (Green Growth) เพื่อพัฒนาผลผลิตทางมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างพลังทางสังคมให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรและอาหาร พลังงาน สุขภาพ และการท่องเที่ยว ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และชุมชน ด้วยประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายการขับเคลื่อนความมั่งคง มั่งคั่งด้วยนวัตกรรม ดังนั้น การที่จะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและต่อเนืองด้วยชุมชนเองได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนต้องเข้าใจและมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมภายในชุมชนเอง และมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรให้เกิดนวัตกรรม วิธีการสร้างและสนับสนุน ให้เกิดนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมสรุปได้ดังนี้ วิธีการสร้างให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ 1. การมีวิสัยทัศน์ 2. เป้าหมายที่ชัดเจน 3. สร้างพฤติกรรมในระดับกลุ่มงาน และในระดับบุคคล 4. องค์กรมุ่งเน้นให้พนักงานมีความคิดความสร้างสรรค์ 5. องค์กรมุ่งเน้น ที่การปฏิบัติ 6. ต้องมีมูลค่าเพิ่ม 7. พัฒนาวิธีการใหม่ 8. สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาให้แก่องค์กรได้ 9. การทำ สิ่งใหม่ๆ 10.การพัฒนาต่อยอดได้ 11. การออกแบบผลิตภัณฑ์ 12. การมีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ 13. การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 14. การวางแผน วิธีการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ 1. การรับรู้ภายในองค์กรถึงการสร้างผลงาน ของกลุ่มพนักงาน 2. การสนับสนุนของหัวหน้างาน การให้อิสระแสดงความคิดเห็น นำเสนอสิ่งต่างๆ และตัดสินใจ 3. การสนับสนุนด้านทรัพยากรอย่างเพียงพอ 4. มีโอกาสแสดงผลงานต่อองค์กร 5. มุ่งเน้นการเรียนรู้ 6. การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่อง 7. มีอิสระในการทำงาน 8. องค์กรต้องสนับสนุนความรู้และ การจัดการ 9. การให้ค่าตอบแทน หรือเงินรางวัล 10.โครงสร้างขององค์กร 11.หน้าที่ความรับผิดชอบ 12.ภาวะผู้นำ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเครือข่ายนักศึกษาและคณาจารย์ที่สนใจการเข้าร่วมช่วยแก้ไขปัญหาวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่งเพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีความต้องการที่จะร่วมศึกษาหาแนวทางการสร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่งเกิดผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์ โดย การเรียนรู้ด้านนวัตกรรม (Innovation) สินค้า (Production) และกำหนดแนวทางในการ เสริมสร้างทักษะให้ตรงกับความต้องการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การขับเคลื่อนผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ Production Based Learning นำไปสู่การทดลองปฏิบัติจริง และ สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างให้เกิดนวัตกรรม ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แนวทางการสร้างและการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง นวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าของชุมชน อย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์
KPI 1 : กลุ่มตัวแทนเครือข่ายเกษตร/OTOP/SMEs ในชุมชน และคนวัยทำงานที่มีความสนใจที่พัฒนาด้านนวัตกรรม (จำนวน : 120คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนนวัตกรรมสินค้าเกษตรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง (ไม่น้อยกว่า 5 ผลิตภัณฑ์)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แนวทางการสร้างและการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง นวัตกรรมเพื่อยกระดับสินค้าของชุมชน อย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์
ชื่อกิจกรรม :
การลงพื้นที่ประชุมวางแผนงาน รวบรวมข้อมูล และการเสวนา เพื่อหาแนวทางการสร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2564 - 30/04/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน 100บาท x 120 คน X 1มื้อต่อวัน X 3 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35บาท x 120 คน X 2มื้อต่อวัน X 3 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 25,200.00 บาท 0.00 บาท 25,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 3000 บาทต่อชิ้น X 3 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถ 2500 บาทต่อคัน X 3 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างจัดทำเอกสารประกอบการเสวนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ 70 บาทต่อชิ้นงาน X 120 ชิ้น X 2 ครั้ง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท 0.00 บาท 16,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างตรวจคุณภาพ/คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกระดับ 10000 บาทต่อชิ้น X 5 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการยกระดับ 10000 บาทต่อชิ้น X 5 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างผลิตโลโก้และบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกระดับ 10000 ต่อชิ้น X 5 ชิ้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ขอผลิตภัณฑ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 1000 บาทต่อคัน X 3 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 22,500.00 บาท 0.00 บาท 22,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 300000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล