16855 : โครงการการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธ์ุพื้นเมืองในจังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/5/2564 9:59:53
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา บุคคลากร เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2564 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ (โครงการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน) 2564 140,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ 64 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ64 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 AP 2.3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม ด้วยองค์ความรู้ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด 64 AP2.3.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้/ ฐานเรียนรู้ ๖KAP & KP
กลยุทธ์ 64 AP 2.3.4.21 ผลักดัน และส่งเสริมให้ฐานเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ภายใต้หน่วยงาน มีการพัฒนา สร้างความประทับใจ จากผู้เยี่ยมชมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

: แตงไทย หรือเรียกเป็นชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Oriental pickling melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo var. conomon อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับแตงกวา บวบ ฟักทอง มะระ แตงโมและแคนตาลูป โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลักษณะเป็นผลอ่อน โดยนำมาเป็นผักรับประทานกับน้ำพริก หรือแกงเผ็ดได้ และยังสามารถนำรับทานเป็นของหวานได้ เช่นลอดช่องแตงไทย ขนมแตงไทยเป็นต้น ในปี 2559 พบรายงานทางเศรษฐกิจของแตงไทยมีมูลค่าถึง 26,045,160 ล้านบาท มีผลผลิตเป็นจำนวน 3,418,110 กิโลกรัม จากพื้นที่ปลูกจำนวน 20 จังหวัด (พวงทิพย์ บุญช่วย, 2560) สำหรับแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองของไทยจะมีลักษณะต้านทานต่อโรคและแมลงค่อนข้างสูงกว่าพืชในกลุ่มเดียวกัน โดยเฉพาะโรคทางดินได้แก่โรคเหี่ยว (Fusarium wilt) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f. sp. melonis ที่อยู่ในดิน โดยพบว่ามีรายงานการถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์แตงเมลอน (Akashi et al., 2002) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Thomas et al., (1962) ว่าแตงกลุ่ม Cucumis melo var. conomon เป็นกลุ่มแตงที่มีระดับความต้านทานต่อโรคอยู่ในระดับสูง แต่ข้อเสียคือมีความหวานค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับแตงโมและแคนตาลูป (Tanaka et al., 2007) สำหรับในประเทศไทยนั้นแตงไทยเป็นพืชผักพื้นเมืองที่มีปลูกกระจัดกระจายอยู่เกือบทั่วประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งพันธุ์ที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทยเมื่อหลายปีที่ผ่านมาในรุ่นปู่ย่าตายายนั้นผลจะมีลักษณะยาวหรือยาวรี มีความหลากหลายของลักษณะสีผล ลวดลายบนผล ขนาดผล ลักษณะเนื้อและสีเนื้อเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันพบว่าได้ปรากฏลักษณะรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีทั้งลักษณะกลม ยาว มีลวดลายสวยงามเป็นระเบียบ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการถูกคัดเลือกลักษณะต่างๆด้วยความตั้งใจโดยคัดลักษณะที่ไม่สวยงามทิ้งไป หรือทำการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีลักษณะตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันพบว่าแตงไทยที่มีลักษณะผลยาวและมีสีผลเป็นสีเดียวหรือสองสีเริ่มหายไป ส่วนมากที่พบจะมีลักษณะผลสีเหลืองมีลายแถบยาวสีขาวตามลักษณะของผลและปรากฏแตงไทยที่มีลักษณะผลกลมเหมือนแคนตาลูปเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการผสมข้ามระหว่างแตงไทยและแคนตาลูป ประกอบกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทานแตงไทยเหมือนคนสมัยก่อน แต่หันมานิยมบริโภคแคนตาลูปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเช่นนี้ต่อไปคาดว่าสายพันธุ์แตงไทยที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของคนไทยอาจสูญหายไปในที่สุด ดังนั้นหากไม่มีการรวบรวมรักษาพันธุกรรมของแตงไทยพันธุ์ดั้งเดิมเอาไว้ ในอนาคตแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้นอาจมีโอกาสสูญหายไปจากประเทศไทยได้ค่อนข้างสูง เพราะตลาดแตงไทยในปัจจุบันพบว่าส่วนมากเป็นแตงไทยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์และคัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลทางพันธุกรรมและจะทำให้ทราบว่าปัจจุบันลักษณะแตงไทยพันธุ์ดังเดิมยังคงมีอยู่หรือได้ถูกทำการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นพันธุ์การค้าหมดแล้ว ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรทางชีวภาพไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้ามีการรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทั้งทางกายภาพและทางพันธุกรรมไว้ก็จะเป็นแนวทางในการช่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่นอยู่คู่ผืนแผนดินไทยให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ไว้ใช้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดลำพูนและจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดลำพูนและจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทราบถึงจำนวนสายพันธุ์แตงไทยพันธุ์พื้นเมืองที่มีปลูกอยู่ในจังหวัดลำพูน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทราบลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์
KPI 1 : จำนวนตัวอย่างแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 ชนิด 20
KPI 2 : ร้อยละของงบประมาณที่ใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ได้ข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 20 20 ชนิด 20
KPI 4 : ร้อยละของงานวิจัยที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของวิจัย
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทราบถึงจำนวนสายพันธุ์แตงไทยพันธุ์พื้นเมืองที่มีปลูกอยู่ในจังหวัดลำพูน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทราบลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการรวบรวมพันธุ์แตงไทยพื้นเมืองในจังหวัดลำพูนและจังหวัดแม่ฮ่องสอน การปลูกเพื่อศึกษาลักษณะปรากฏและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง และการรายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/04/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัว (เป็นเงิน 10,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น วัสดุเพาะกล้า ถาดเพาะกล้า ขุยมะพร้าว ตอกเสียบแปลง มูลวัว ไม้ไผ่ ปุ๋ยอินทรีย์ ดินดำ แกลบดิบ เปลือกถั่ว ไตรโคเดอร์มา บิววาเรีย ถาดเพาะ พลาสติกคลุมแปลง ฯลฯ (เป็นเงิน 130,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 130,000.00 บาท 0.00 บาท 130,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 140000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล