16832 : โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2564 9:25:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/01/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2564 9,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. อภิรดี  เสียงสืบชาติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ได้ขยายวิทยาเขตมายังจังหวัดแพร่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนแถบล้านนาตะวันออกมาเเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จึงตระหนักในบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งคือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นฐานเรียนรู้ตามธรรมชาติ การทดลองและวิจัยแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นส่วนอวัยวะ หรือส่วนเนื้อเยื่อ มาเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยแร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และสารควบคุมการเจริญเติบโต ภายใต้สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในสภาวะควบคุมอุณหภูมิ แสง ความชื้น โดยส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงนี้ จะสามารถเติบโตพัฒนาได้หลายรูปแบบ พืชที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะมีลักษณะเหมือนกับพืชต้นพันธุ์ที่นำมาใช้เพาะเลี้ยงทุกประการ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการขยายพันธุ์พืช การเก็บรักาา และอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืชต่างๆ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังมีประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชกับต่างประเทศที่สะดวกขึ้น พืชที่อยู่ในขวดสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และราที่จะทำอันตรายต่อพืช โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสมุนไพรในรูแบบเซลล์แขวนลอย ยังช่วยในการผลิตสารต่างๆ ที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือสารที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ตานทานโรคและแมลงได้ดีขค้น หรือให้ผลผลิตมากขึ้น โดยอาศัยเทคนิคในการเลี้ยงต้นอ่อนขนาดเล้ก เทคนิคการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสรพืช หนือเทคนิคการชักนำให้พืชกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ๆ โดยอาศัยสารเคมีหรือการฉายรังสี เป็นต้น องค์ความรู้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปอย่างยิ่ง ทางสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตร จึงจัดโครงการเชิงบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อรองรับความต้องการของผู้ที่สนใจ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเพาะเนื้อเยื่อพืชให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ชื่อกิจกรรม :
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เอกอาทิตย์  ฤทธิเดชยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,650.00 บาท 0.00 บาท 1,650.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 2 กลุ่ม ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 3,750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล