16781 : โครงการสืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นายบุญธรรม บุญเลา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/1/2564 16:01:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1200  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการพระราชดำริ 2564 903,920.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย นิคม  วงศ์นันตา
นาย บุญธรรม  บุญเลา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ วส64-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก(MOC)
เป้าประสงค์ วส64-1.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด วส64-9. จำนวนแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ วส64-1.3.10 พัฒนาแหล่งเรียนรู้แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ และศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ครั้นทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร ให้แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 พระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเกษตรทฤษฏีใหม่ ความตอนหนึ่งว่า “ทฤษฏีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติการเกษตรอีกแนวทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย มีหลักสำคัญว่า แต่ละแปลงจะแบ่งออกเป็นส่วน สมมติว่า แปลงหนึ่ง มี 15 ไร่ จะปลูกข้าว 5 ไร่ ปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผักสวนครัว 5 ไร่ ขุดสระน้ำ 3 ไร่ ปลูกที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีก1 ไร่ วิธีนี้ได้ทดลองปฏิบัติขั้นแรกมานานพอสมควร และได้ผลดีที่น่าพอใจระดับหนึ่ง ในขั้นที่สอง ก็จะต้องรวมกันในรูปกลุ่ม หรือสหกรณ์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน เพื่อช่วยเหลื่อในด้านการผลิต การตลาด และในขั้นที่สามจะต้องร่วมมือกับสถาบันการเงินและการพลังงานเพื่อช่วยเหลือด้านการจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้านสหกรณ์ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุน” จากพระบรมราโชวาทดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดตั้งฐานเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่สนใจทั่วไป เข้ามาศึกษาดูงานและ น้อมนำเอาแนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมะสมของสภาพพื้นที่ของตนเอง จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาได้ดำเนินงานในแปลงสาธิตเกษตรทฤษฏีใหม่ ตามฐานย่อยต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ จำนวน 9 ฐาน คือ 1. ฐานการผลิตพืชผัก 2. ฐานการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้น 3. ฐานการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยและการบังคับกล้วยแตกเครือกลางลำต้น 4. ฐานการทำนาข้าว 5. ฐานการผลิตปุ๋ยหมัก , ผลิตน้ำหมักชีวภาพ 6. ฐานการเลี้ยงหมูหลุม 7. ฐานการเลี้ยงไก่ 8. ฐานการเลี้ยงปลาในกระชัง 9. ฐานการผลิตพืชสมุนไพร โดยได้ดำเนินการผลิตตามกิจกรรมของแต่ละฐานให้สอดคล้องกันตามแนวพระราชดำริ นอกจากนั้นยังบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ให้ความสนใจนำกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้สนใจ และผู้เกี่ยวข้องเข้าเยี่ยมชมจำนวน 1,300 คน ต่อปี ในปีงบประมาณนี้ควรต้องดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และจัดการพื้นที่ให้มีความพร้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับ การให้บริการแก่ผู้ขอรับองค์ความรู้และศึกษาดูงานต่อไป ดังนั้นแปลงสาธิตเกษตรทฤษฏีใหม่ นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้งในแง่การเรียนการสอน การบริการวิชาการ แหล่งศึกษาดูงานทั้งชาวไทยและกลุ่มนานาชาติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองและสืบสานแนวพระราชดำริด้านเกษตรทฤษฏีใหม่
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกทักษะด้านเกษตรทฤษฏีใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 15 ไร่
KPI 1 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 500 400 100 คน 1200
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่รับบริการวิชาการ และวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 90 90 90 ร้อยละ 90
KPI 6 : จำนวนแหล่งเรียนรู้และฝึกทักษะด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ของมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1 1 แหล่ง 1
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.21966 0.24494 0.21966 0.21966 ล้านบาท 0.90392
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 15 ไร่
ชื่อกิจกรรม :
1.1 กิจกรรมการจัดทำรูปแบบตามองค์ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่
การจัดทำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่จำนวน 9 กิจกรรม
1) การปลูกข้าว
2) การปลูกไม้ผล
3) การปลูกพืชผัก
4) การปลูกพืชสมุนไพร
5) การเลี้ยงปลาในกระชัง
6) การเลี้ยงสุกร (หมูหลุม)
7) การผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ
8) การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง
9) แปลงอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์กล้วยและบังคับกล้วยตกเครือกลางลำต้น
1.2 กิจกรรม
การจัดเผยแพร่ผลงานเกษตรทฤษฎีใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายนิคม  วงศ์นันตา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายบุญธรรม  บุญเลา (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายนิคม  สุทธา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างบริการสนับสนุนงานด้านเกษตร วุฒิ ป.ตรี
(จำนวน 1 คน x 15,000 บาท x 12 เดือน เป็นเงิน 180,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 180,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างบริการสนับสนุนงานด้านเกษตร
(จำนวน 1 คน x 8,000 บาท x 12 เดือน เป็นเงิน 96,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
24,000.00 บาท 24,000.00 บาท 24,000.00 บาท 24,000.00 บาท 96,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างบริการสนับสนุนงานงานด้านเกษตร และทำความสะอาด
(จำนวน 1 คน x 7,500 บาท x 12 เดือน เป็นเงิน 90,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
22,500.00 บาท 22,500.00 บาท 22,500.00 บาท 22,500.00 บาท 90,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างบริการสนับสนุนงานด้านเกษตร
(จำนวน 6 คน x 7,120 บาท x 12 เดือน เป็นเงิน 512,640 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
128,160.00 บาท 128,160.00 บาท 128,160.00 บาท 128,160.00 บาท 512,640.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยคอก เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ เป็นเงิน 25,280 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,280.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,280.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 903920.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล