16739 : โครงการ การอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/12/2563 10:56:21
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/01/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2564 123,647.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ธนากร  ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 64-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 64-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 64-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการเกษตรและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ได้ขยายวิทยาเขตมายังจังหวัดแพร่เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนแถบล้านนาตะวันออกมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จึงตระหนักในบทบาทสำคัญอีกประการหนึ่งคือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ตามธรรมชาติ การทดลองและวิจัยแก่นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย และคนในชุมชนที่มีความสนใจ พื้นที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่คำมี จังหวัดแพร่ ได้รับอนุญาต ให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้จากกรมป่าไม้แล้ว มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นแหล่งเก็บหาของป่าที่สำคัญ ของชาวบ้านชุมชนในเขตรอบๆ ป่าปัจจุบันพื้นที่ป่าเหล่านี้ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในสาขาวิชาเกษตรป่าไม้เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมรวมถึงชุมชนรอบๆ หากไม่มีนโยบาย หรือโครงการใดๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายในพื้นที่ป่าเหล่านี้ไว้ อีกทั้งในพื้นที่บางส่วนมีการบุกรุกตัดไม้และเข้ามาทำการเกษตรเกิดเป็นลักษณะพื้นที่เสื่อมโทรม ซึ่งถ้าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ช้าคงมีพืชพรรณบางอย่างสูญหายไปแน่ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อการบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพ และขีดสมรรถนะของชุมชน การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในเขตป่าอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่นจึงเป็นโครงการหนึ่งที่สมควรปฏิบัติ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ และตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในมหาวิทยาแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติขึ้น และที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นก็เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย นักวิจัยได้เห็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่อนุรักษ์แห่งนี้ และได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในมหาวิทยาแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีโครงการย่อยจำนวน 8 โครงการ ดังต่อไปนี้ โครงการย่อยที่ 1 โครงการศึกษาชีพลักษณ์แม่ไม้เด่นในป่าเต็งรัง พื้นที่อนุรักษ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โครงการย่อยที่ 2 การเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โครงการย่อยที่ 3 โครงการจัดการแปลงปลูกต้นฝางในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ โครงการย่อยที่ 4 โครงการบำรุงรักษาแปลงปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าเต็งรังเสื่อมโทรม จำนวน 3 ไร่ ในพื้นที่อนุรักษ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ฯ โครงการย่อยที่ 5 โครงการจัดการแปลงทดสอบไม้โตเร็วท้องถิ่น (งิ้วป่า, สะเดา และ สมอภิเพก) จำนวน 3 ไร่ โครงการย่อยที่ 6 การจัดการแปลงปลูกป่าถวายพ่อของแผ่นดิน เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ เมื่อปี 2554 จำนวน 9 ชนิด 3 ไร่ โครงการย่อยที่ 7 โครงการการจัดการแปลงทดสอบไม้โตเร็วท้องถิ่น (เสี้ยว, ขี้เหล็ก และ มะค่าแต้) จำนวน 3 ไร่ โครงการย่อยที่ 8 โครงการจัดการแปลงสาธิตสวนหลังบ้าน เพื่อการรวบรวมพืชสมุนไพร อาหาร ประดับ พลังงาน และไม้ผล จำนวน 10 ไร่ ซึ่งโครงการทั้งหมดที่กล่าวมายังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นฐานการเรียนรู้และถ่ายทอดงานวิชาการด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสู่ชุมชน ในปี 2561 ทีมวิจัยได้รับงบประมาณเพื่อทำกิจกรรม 4 กิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาชีพลักษณ์แม่ไม้เด่นในป่าเต็งรัง พื้นที่อนุรักษ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 2) เพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 3) การจัดการแปลงปลูกต้นฝางในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ 4) บำรุงรักษาแปลงปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าเต็งรังเสื่อมโทรม จำนวน 3 ไร่ ในพื้นที่อนุรักษ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ฯ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในปี 2562 จึงได้จัดทำโครงการย่อยทั้งหมดจำนวน 4 โครงการ ในโครงการต่อไปนี้โครงการ 1 โครงการจัดการแปลงทดสอบไม้โตเร็วท้องถิ่น (งิ้วป่า, สะเดา และ สมอภิเพก) จำนวน 3 ไร่ โครงการ 2 การจัดการแปลงปลูกป่าถวายพ่อของแผ่นดิน เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ เมื่อปี 2554 จำนวน 9 ชนิด 3 ไร่ โครงการที่ 3 โครงการการจัดการแปลงทดสอบไม้โตเร็วท้องถิ่น (เสี้ยว, ขี้เหล็ก และ มะค่าแต้) จำนวน 3 ไร่ และโครงการที่ 4 โครงการจัดการแปลงสาธิตสวนหลังบ้าน เพื่อการรวบรวมพืชสมุนไพร อาหาร ประดับ พลังงาน และไม้ผล จำนวน 10 ไร่ ซึ่งโครงการทั้งหมดที่กล่าวมายังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นฐานการเรียนรู้และถ่ายทอดงานวิชาการด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสู่ชุมชน เพื่อการต่อยอดจากปี 2561และ 2562 ทีมวิจัยได้รับงบประมาณเพื่อทำกิจกรรม 3 กิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) เพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2) การจัดการแปลงปลูกต้นฝางในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ และ 3) บำรุงรักษาแปลงปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าเต็งรังเสื่อมโทรม จำนวน 3 ไร่ ในพื้นที่อนุรักษ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ฯ เพื่อให้เกิด และโครงการทั้งหมดอยู่ในแผนกิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2 เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น
3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดงานวิชาการด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสู่ชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ การอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนวิชาที่นำไปบูรณาการในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 รายวิชา 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ การอนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อกิจกรรม :
อนุรักษ์ความหลากหลายพืชท้องถิ่น ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนากร  ลัทธิ์ถีระสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธนากร  แนวพิชิต (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมากำจัดวัชพืช จำนวน 15 ไร่ ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำแนวกันไฟ เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานโครงการฯ เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการ (ค่าพาหนะ) จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
6. ค่าที่พัก จำนวน 1 คืน ๆ ละ 500 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
7. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 วัน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 960 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 33,460.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,460.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน ๆ ละ 90 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น ดินดำ แกลบดำ มูลวัว ถาดเพาะเมล็ด ถุงเพาะ จอบ เสียม ช้อนปลูก เป็นเงิน 25,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กล่องพลาสติค กระติก แก้วน้ำ ตะกร้า เป็นเงิน 1,587 บาท
3. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา สมุด ยางลบ ดินสอ เป็นเงิน 14,600 บาท
4. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล เป็นเงิน 31,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 72,187.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 72,187.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 123647.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ระบบที่ไม่ไหลทุกวัน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-จัดทำที่กักเก็บน้ำ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล