16738 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเพาะเลี้ยงหอยขมเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/12/2563 14:06:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 50,000 บาท 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
เป้าประสงค์ FT-64-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนชาวไทยในทุกระดับชั้นให้ดำเนินไปในทางสายกลาง พอดี พอเหมาะ พอประมาณ มีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน เน้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาศ ทั้งนี้การเลี้ยงหอยขมก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดย หอยขม หรือทางภาคเหนือเรียกว่าหอยจูบ เป็นอาหารของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งสามารถนำประกอบอาหารชนิดต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น แกงคั่วหอยขม ลาบหอยขม แกงอ่อมหอยขม และ ฯลฯ ปัจจุบันราคาหอยขมในตลาดสดทั่วไปราคากิโลกรัมละ 40-60 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล การจำหน่ายโดยทั่วไปจะจำหน่ายในรูปของหอยขมสด บางท้องที่ก็นำมาต้มสุกก่อนแล้วจิ้มเอาแต่เนื้อหอยออกจากเปลือก แล้วค่อยนำมาจำหน่ายแต่เฉพาะเนื้อหอย ราคากิโลกรัมละ 120-150 บาท ในอดีตที่ผ่านมาผลผลิตจากหอยขมจะได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ และผลพลอยได้จากบ่อเลี้ยงปลาเท่านั้น โดยในธรรมชาตินั้นจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลของการขยายพันธุ์ของหอยขม โดยจะมีมากในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ส่วนมากจะพบได้ตามแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติที่มีระดับน้ำไม่ลึกมากนัก ซึ่งหอยจะอาศัยฝังตัวตามดินโคลนหรือเกาะตามริมตลิ่ง ซึ่งผลผลิตที่ได้ไม่มีความแน่นอนทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันหอยขมมีการขยายพันธุ์จำนวนน้อยลง สาเหตุมาจากแหล่งน้ำเน่าเสียที่เกิดจากการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ทำให้จำนวนประชากรของหอยขมลดลง และไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่นำมาบริโภค ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเกษตรกรหลายรายเริ่มมีการเพาะเลี้ยงหอยขมเพื่อการค้าบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทยที่นิยมกินเมนูหอยขมกันอย่างแพร่หลาย หอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ใน Phylum Mollusca เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีความหลากหลายสูง ทั้งรูปร่าง ขนาด พฤติกรรม และแหล่งที่อยู่อาศัย สามารถดำรงชีววิตได้เกือบทุกบริเวณของโลกทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืด แม้กระทั่งบนบก พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่บนยอดภูเขาสูง ในป่า สวน ไร่ นา แม่น้ำ ลำธาร และทะเล มีผู้ประมาณว่าในโลกนี้มีสัตว์จำพวกหอยอยู่ประมาณ 50,000-150,000 ชนิด ลักษณะโดยทั่วไป คือ ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่ม ไม่แบ่งเป็นข้อปล้อง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ หัว เท้า แมนเทิล (mantle) ช่องแมนเทิล (mantle cavity) และอวัยวะภายใน ทั้งนี้ หอยขมถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของหอยฝาเดียว โดยมีลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของหอยฝาเดียวติดต่อเป็นชิ้นเดียวกัน โดยบิดเป็นเกลียวรอบแกนกลาง (columella) รอบหนึ่งของเกลียวเรียกว่า วง (whorl) หัวและเท้าของหอยยื่นออกมาทาง ช่องเปิดเปลือกหรือปากเปลือก (aperture) ปลายสุดของเปลือกเป็นยอดแหลมปิดตันซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดและจัดเป็นส่วนยอดของเปลือก (apex) เป็นจุดที่หอยเริ่มสร้างเปลือก เปลือกวงแรกเกิดขึ้นตั้งแต่หอยยังอยู่ในระยะวัยอ่อน วงต่อ ๆ ไปเชื่อมต่อกับวงที่เกิดก่อนอย่างแน่นหนาและเห็นเป็นรอยต่อระหว่างวง (suture) ได้ชัดเจน เปลือกหอยมีหลายวง เมื่อวงแรกที่สร้างมีขนาดเล็กไม่พออยู่ หอยก็จะสร้างให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดลำตัว เมื่อหอยเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะหยุดสร้างเปลือก เปลือกวงสุดท้ายจึงมีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวหอยยึดติดกับเปลือกด้วยกล้ามเนื้อโคลูเมลลา (columellar muscle) นับจากจุดยอดของเปลือกวงแรกลงมาจนถึงวงสุดท้ายเป็นส่วนที่เรียกว่า ยอดหรือสไปร์ โดยปกติวงของเปลือกหอยจะเวียนไปในทางเดียวกันคือทางขวา แต่มีหอยบางชนิดเท่านั้นที่วงของเปลือกจะเวียนไปในทางตรงกันข้าม ด้วยองค์ความรู้ในเรื่องของการเพาะเลี้ยงหอยขมที่นักวิจัยศึกษาวิจัยอยู่ อีกทั้งยังถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ นักวิจัยจึงสนใจที่จะนำเอาองค์ความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงหอยขมมาเผยแพร่ให้เกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้เทคนิคการเลี้ยง การแปรรูป การตลาด และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าของหอยขม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงหอยขมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กลุ่มเกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตหอยขมให้เกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 8 : ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้องค์ความรู้จากการอบรมเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเลี้ยงหอยขม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 2 คนๆ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คนๆ 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น วัตถุดิบการผลิตอาหารหอยขม และวัสดุเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงหอยขม เช่น ปลาป่น รำละเอียด เกลือป่น สวิงตาถี่ พลาสติกโรงเรือน ตาข่ายไนล่อน ท่อ PVC ฯลฯ เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถ้วยบดยา ฮอร์โมน Cinnafact, Motilium-M และ ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม ปากกา ถ่ายเอกสาร และ ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
15.นายเทพพิทักษ์-บุญทา-ย.002-64.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล