16734 : โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของเยาวชน เรื่อง การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรประมงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นรากฐานการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมง ณ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/9/2564 13:47:50
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสันทรายวิทยาคม และ โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม ที่เข้าชมสื่อวีดีทัศน์ทางสื่อออนไลน์ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่องปีถัดไปได้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 50,000 บาท 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จอมสุดา  ดวงวงษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทพรัตน์  อึ้งเศรษฐพันธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
เป้าประสงค์ FT-64-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT-64-4-8 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สัตว์น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมนุษย์ได้นำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน แต่ในสภาพปัจจุบันสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้ลดลงทั้งชนิดและปริมาณ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนที่มีชีวิต เกี่ยวโยงอยู่ในทรัพยากรทุกอย่าง บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศ ในขณะเดียวกัน บริบทการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ สังคมผู้สูงอายุ กระแสสุขภาพและการนิยมธรรมชาติ จะทำให้เป็นโอกาสของการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการ และใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าสูงขึ้น การประเมินสถานภาพทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น พบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เคยเป็นจุดแข็งของประเทศมาแต่เดิม ได้รับผลกระทบจากแบบแผนการพัฒนาที่มุ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัด การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจและการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีมลพิษสูง จากผลของการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคและกระแสวัตถุนิยม ได้เพิ่มปริมาณมลพิษและของเสีย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน ทำให้สถานการณ์ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อโนดาษ์ (2015 ) การดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงจะประสบความสำเร็จได้ถ้าชาวประมงได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการประมง และการปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง จะส่งผลให้เกิดการรักษาทรัพยากรเพื่อให้สามารถถูกใช้ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น FAO (2002) ได้เสนอว่าการจัดการประมงนั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องกับความผันแปรของสภาพสิ่งแวดล้อม และการ เปลี่ยนแปลงระยะยาวที่อาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลภาวะต่างๆ นอกจากนั้นการจัดการประมงนั้น ควรจะเน้นการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและวิถีชีวิตของชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงนั้น และพยายามที่จะใช้ประโยชน์ของผลผลิตส่วนเกินของทรัพยากรให้ดีที่สุดและให้เชื่อมโยงกับกระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเหมาะสมต่อทางการเมือง สังคม และการพัฒนาต่อสิ่งแวดล้อม สุชาติ (2537) กล่าวว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบุคคลอย่างมาก การศึกษาทัศนคติจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะทราบทัศนคติของบุคคลต่าง ๆ แล้ว ความรู้ที่ได้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้เป็นไปในทางที่ต้องการได้อีกด้วย วิสุทธิ์ (2539) ได้เสนอแนวทางการรักษาทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพโดยการปลุกจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญ ผ่านสื่อมวลชนและการให้การศึกษาผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การจัดอบรม ให้ความรู้แก่ผู้นำท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยชี้แจงประโยชน์ของพืชและสัตว์ เน้นให้เห็นคุณค่าและส่งเสริมการรักษาพันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ และสุชาติ (2537) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของบุคคลให้เป็นไปในทางที่ต้องการ สามารถทำได้โดยกระบวนการต่างๆ เช่น การสื่อสาร การโฆษณา การศึกษาและการฝึกอบรม สอดคล้องกับ เชิดศักดิ์ (2527) กล่าวว่า ทัศนคติขึ้นอยู่กับกระบวนการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบวิธีสังคม และ จิระวัฒน์ (2536) กล่าวว่าทัศนคติของบุคคลจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ จากการศึกษา อบรมสั่งสอน และสิ่งแวดล้อม เทพรัตน์ และคณะ (2547) พบว่า ชาวบ้านที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ดังนั้นการดำเนินการฝึกอบรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง จึงเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นสื่อหรือช่องทางที่จะนำข่าวสารจากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสารและหากนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ก็เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นจากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การตกอยู่ในสภาวะโลกร้อน การเผาผลาญพลังงานจากธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้ทุกๆหน่วยงานเริ่มมีการรณรงค์และเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นซึ่งวิธีที่ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์คือ การเผยแพร่ความรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันพัฒนายิ่งขึ้นเท่าไหร่ ตัวข้อมูลที่ใช้ในการเผยแพร่ด้านการอนุรักษ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ไม่ได้มีเพียงตัวหนังสือที่เรียงๆกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง ภาพสัตว์ ภาพสถานที่จริง คลิปวีดีโอที่จัดทำขึ้นเพื่อหาวิธีในการแก้ไขปัญหาด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เราจึงเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้นและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ในปัจจุบัน เราสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อดูคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ฯได้อย่างง่ายดาย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างทัศนคติและปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงให้แก่เยาวชนและนำความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรประมงอย่างถูกต้องและยั่งยืน
เพื่อให้เยาวชนเข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ในเรื่องอนุรักษ์ทรัพยากรประมงเผยแพร่ให้ประชาชนในระดับอื่น ๆ รับรู้โดยทั่วกัน
จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เนื่องจากผู้เข้าอบรมเป้าหมายเป็นเยาวชนในระดับการศึกษามัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5-6 จึงสามารถประชาสัมพันธ์ถึงหลักสูตรของคณะเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาสำหรับเยาวชนผู้สนใจในสาขาประมง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักเรียน เยาวชน และผู้ที่สนใจ มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรประมงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นรากฐานการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมง
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น ๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าชมวีดีทัศน์องค์ความรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักเรียน เยาวชน และผู้ที่สนใจ มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรประมงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นรากฐานการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์ทางสื่อออนไลน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 31/12/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมสุดา  ดวงวงษา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทพรัตน์  อึ้งเศรษฐพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆ ละ 200 บาท 15 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าจ้างเหมาจัดทำวีดีทัศน์สื่อองค์ความรู้ จำนวน 3 เรื่อง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 44,000.00 บาท 44,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล