16733 : ฐานเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex) เป็นอาหารปลอดภัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/8/2564 11:30:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักศึกษาและบุคคลผู้สนใจทั่วไป ที่เข้าชมสื่อวีดีทัศน์ทางสื่อออนไลน์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 80,000 บาท 2564 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
อาจารย์ ดร. โดม  อดุลย์สุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
เป้าประสงค์ FT-64-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT-64-4-8 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาประเทศปี พ.ศ.2560-2564 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหาร ที่ครอบคลุมประเด็นปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพียงพอและความหลากหลายต่อความต้องการในการบริโภค มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลและมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ไร่ในปี 2564 โดยการเร่งพัฒนาและขับเคลื่อนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันมั่นคงด้านอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเกษตรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนฐานการผลิตการเกษตรที่เข็มแข็งและยั่งยืน ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นประเทศที่สามารถผลิตอาหารเป็นครัวของโลกได้ มีผู้ต้องการบริโภคสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกับทุกเพพศทุกวัย ปัจจุบันสัตว์น้ำที่จับจากธรรมชาติลดลง เนื่องมีสาเหตุหลายประการ เช่น มลภวะของแหล่งน้ำ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และด้วยในปัจจุบันประชาชนนิยมผู้บริโภคเนื้อสัตว์น้ำที่ปลอดภัยและสัตว์น้ำอินทรีย์มากขึ้น โดยเฉพาะกุ้งก้ามกรามเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ กุ้งน้ำจืด (freshwater prawns) เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญด้านอาหารและด้านเศรษฐกิจของวิถีชีวิตคนไทยมีระยะเวลามายาวนาน จึงจัดเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่ความสำคัญ ซึ่งมีความหลากหลายตลอดจนมีการแพร่กระจายในทุกทั่วภูมิภาคของประเทศไทยกุ้งน้ำจืดจัดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนประเภทหนึ่งที่ประชาชนคนไทยสามารถเก็บผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติและนำไปประกอบอาหารเพื่อบริโภคกันอย่างแพร่หลายและหลากหลายรูปแบบ และนำไปแปรรูป โดยเฉพาะกุ้งน้ำจืดขนาดเล็กมีการนำไปแปรรูปเป็นกุ้งแห้งและกะปิ อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปที่บริโภคกุ้งน้ำจืดรู้จักแต่เพียงกุ้งแม่น้ำหรือกุ้งนางหรือกุ้งก้ามกราม และกุ้งฝอยเท่านั้น ส่วนกุ้งน้ำจืดขนาดเล็กอื่นมีประชาชนรู้จักกันน้อยมาก ตามรายงานการศึกษากุ้งน้ำจืดสกุล Macrobrachium ที่พบในประเทศไทยมีจำนวน 25 ชนิด (Cai et. al., 2004) และในระยะเวลาต่อมา (Cai และ Vidthayanon, 2016) รายงานว่าพบกุ้งน้ำจืดสกุล Macrobrachuim เพิ่มอีก 1 ชนิดคือ Macrobrachuim spelaeus แม้มีรายงานการการศึกษาข้อมูลชนิดกุ้งน้ำจืดออกมาเป็นระยะ แต่ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวยังอยู่ในวงแวดกลุ่มที่จำกัดและการศึกษาการนำไปใช้ประโยชน์ยังมีน้อย ในอดีตที่ผ่านพบว่ากุ้งน้ำจืดขนาดเล็กที่ประชาชนทั่วไปเรียกรวมว่ากุ้งฝอยนั้น มีการแพร่ขยายพันธุ์ในแห่งน้ำธรรมชาติจำนวนมาก แต่ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนลดน้อยลงเหมือนกับสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเนื่องจากสภาพแวดล้อมตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมโทรมลงจนไม่เหมาะสมกับการแพร่ขยายพันธุ์ กุ้งก้ามกรามมีชื่อสามัญว่า Giant Freshwater Prawn เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (ประจวบ, 2557) กุ้งก้ามกรามมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย มีการจัดแบ่งออกตามภาค ดังนี้ คือ ภาคตะวันตก เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (เวียง,2543) โดยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ (ชลอและพรเลิศ, ๒๕๕๗) อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง ก้ามกรามจัดว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย จากสถิติการประมงปริมาณผลผลิต กุ้งก้ามกรามจากการเพาะเลี้ยงและจับจากธรรมชาติ มีจำนวน 23,100 ตัน คิดเป็น มูลค่า 3626.8 ล้านบาท (กรมประมง, 2559) กุ้งก้ามกรามนิยมบริโภคกันมากทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากสามารถไปนำประกอบอาหารได้หลายชนิด เนื้อมีรสชาติอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการสูง การศึกษาของอำนวย (2542) รายงานองค์ประกอบของเนื้อกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ปริมาณโปรตีน 18.20 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.96 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 0.2 เปอร์เซ็นต์ความชื้น 77.85 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 3.18 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 89 แคลลอรี่ต่อเนื้อกุ้ง 100 กรัม การศึกษาของชาตรีและคณะ (2558) พบว่ามีองค์ประกอบโปรตีน 21.20 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 0.91 - 1.19 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่เลี้ยง การเลี้ยงในบ่อดินมีการขุดบ่อคล้ายกับบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด และพบว่านิยมเลี้ยงกันมาก การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดินแม้นเป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่ยังข้อจำกัดในบางประการ เช่นการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง และในบางฤดูกาลปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้กุ้งเจริญเติบโตช้า และไม่เจริญเติบโต จากปัญหาดังกล่าวอาจนำไปพัฒนาการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ โดยวิธีการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono- Sex) เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ากุ้งก้ามกราม ตลอดจนโดยใช้แนวทางการจัดการ Smart Farming ซึ่งเป็นการพัฒนาให้เกษตรกรชุมชนสันทรายโมเดล มีความพร้อมและความรู้มีความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มูลค่าสูงกว่าสัตวน้ำจืดชนิดอื่น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
จัดตั้งฐานเรียนรู้ด้านการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและชุมชนสันทรายหรือชุมชนอื่น ๆ
เพื่อศึกษาและอนุรักษ์กุ้งน้ำจืดบางชนิดที่พบในแม่น้ำที่รับน้ำจากพื้นที่ราบสูง
เพื่อเป็นแหล่งอาหารกับชุมชุมท้องถิ่น
เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาลัยกับเครือข่ายเกษตรกร องค์ท้องถิ่น และภาคเอกชน
เพื่อจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคนิคการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ
เพื่อนำองค์ความรู้จากการเรียนการสอนไปบูรณาการกับบริการวิชาการ กิจกรรมนกศึกษาและพันธกิจอื่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บุคคลผู้สนใจทั่วไปและนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex)
KPI 1 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 คน 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : จำนวนฐานเรียนรู้ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อผลิตกุ้งก้ามกราม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 4 : จำนวนเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.08 ล้านบาท 0.08
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บุคคลผู้สนใจทั่วไปและนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex)
ชื่อกิจกรรม :
1 ฝึกอบรมการจัดการการจัดการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบแยกเพศ (Mono-Sex)
2 ฐานเรียนรู้
3 ลงสำรวจเก็บตัวอย่างกุ้งน้ำจืด
4 จัดทำสื่อวีดีทัศน์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี  วิระสิทธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.โดม  อดุลย์สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อวีดิทัศน์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นเงิน 11,350 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,350.00 บาท 11,350.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถตู้ จำนวน 4 วัน ๆ ละ 1,800 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 4 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 960 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 960.00 บาท 960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พัก จำนวน 3 คืน ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 28 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,600.00 บาท 5,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 6,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,800.00 บาท 6,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น กุ้งก้ามกราม อาหารกุ้งโต อาหารลูกุ้ง น้ำผงทะเลธรรมชาติ สายแอร์ปั๊ม หัวทราย สวิงตักฯลฯ เป็นเงิน 22,100 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,100.00 บาท 22,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ ทรายหยาบ หิน เหล็ก พลาสติก ท่อซีนเมนต์ ท่อพีวีซี ผ้าใบพีวีซี ตาข่ายพรางแสงสีดำ ฯลฯ เป็นเงิน 13,790 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,790.00 บาท 13,790.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ชุดน้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ คลอรีน ฟอร์มาลีน ด่างทับทิม ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มพลาสติก ฯลฯ เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้า เต้ารับ กล่องพลาสติก ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล