16730 : โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง: การผลิตกุ้งก้ามกรามบูรณาการกับสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า (สไปรูลิน่า) ปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (สันทรายโมเดล)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/8/2564 12:08:33
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  240  คน
รายละเอียด  เกษตรกร/เยาวชน/นักศึกษา ที่เข้าชมสื่อวีดีทัศน์ทางสื่อออนไลน์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 100,000 บาท 2564 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
นาย เทพพิทักษ์  บุญทา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตัวชี้วัด FT-64-4-8 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาประเทศปี พ.ศ.2560-2564 รัฐได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหาร ที่ครอบคลุมประเด็นปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเพียงพอและความหลากหลายต่อความต้องการในการบริโภค มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลและมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ไร่ในปี 2564 โดยการเร่งพัฒนาและขับเคลื่อนการผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหาร มีหลักประกันมั่นคงด้านอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเกษตรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนฐานการผลิตการเกษตรที่เข็มแข็งและยั่งยืน ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นประเทศที่สามารถผลิตอาหารเป็นครัวของโลกได้ มีผู้ต้องการบริโภคสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นอาหารสุขภาพตลอดจนสัตว์น้ำจากธรรมชาติลดลง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาชีพนับวันมีความสำคัญมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจอาหารสัตว์น้ำที่ปลอดภัยและสัตว์น้ำอินทรีย์มากขึ้น หลักการใช้วัตถุดิบสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ คือ ต้องมีองค์ประกอบที่เป็นวัตถุดิบธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 รวมทั้งต้องเป็นวัตถุดิบที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ เป็นกระบวนการผลิตสัตว์น้ำเพื่อให้ได้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ ตามหลักการ และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มาตรฐาน มกท, 2555 (IFOAM); มาตรฐาน กรมประมง, 2550) จังหวัดเชียงใหม่มีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 12,468 ราย มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมาณ 9,355 ไร่และมีพื้นที่ทำการประมงน้ำจืด ประมาณ 1,394,515 ไร่ ผลผลิตสัตว์น้ำของจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 18 ตัน/วัน (จากการเพาะเลี้ยง 11 ตัน จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 7 ตัน) ปริมาณความต้องการบริโภคสัตว์น้ำในจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 40 ตัน/วัน ส่วนที่เหลือนำเข้าจากต่างจังหวัด(ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์) ได้แก่ เชียงราย ลำปาง นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พิษณุโลก อุตรดิตถ์เป็นต้น สัตว์น้ำจืดที่นิยมบริโภคได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก กุ้งกามกราม ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาหมอไทย กบและปลาสลิด ชนิดสัตว์น้ำที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ นิล ทับทิม ดุก กุ้งก้ามกราม ปลาหมอไทย ตะเพียน สลิด กดหลวง สวาย กบฯลฯ จะเห็นได้ว่า กุ้งกามกราม ปลานิล หมอไทย ปลาดุก ตะเพียน สลิด กบ มีผู้บริโภคต้องการ (ประมงจังหวัดเชียงใหม่, 2550) ปัจจุบัน พื้นที่เลี้ยงเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ 100 ไร่ จังหวัดเชียงราย เขตอำเภอเทิง ประมาณ 2,000 ไร่ ราคาขายเฉลี่ย 350 บาทต่อกิโลกรัม และจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย มีพื้นที่ 200 ไร่ มีผลผลิตกุ้งก้ามกรามรวมวันละ 6,000 กิโลกรัม (https://www.technologychaoban.com) แต่การผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ การจัดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ และความต้องการของตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การส่งเสริมการรวมกลุ่มการผลิตทางการเกษตร การสร้างโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัย และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตภาคเกษตร (สานักงานคณะกรรมการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2558) ในส่วนภูมิภาคมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี (แม่โจ้ 100 ปี) มีนโนบายที่ผลักดันให้มีงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ รวมถึงมีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ในด้านการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อชุมชนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ความรู้เชิงประจักษ์ และชุมชนที่จะรับองค์ความรู้มีความพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน จากการทำงานร่วมกับชุมชนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พื้นที่นำร่อง ดำเนินการร่วมกับชุมชนในการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านการประมง ของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาชุมชน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปี 2559 ได้มีการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประมงที่เกษตรกรต้องการดังนี้ 1. มีฐานเรียนรู้ด้านการประมงเพื่อผลิตลูกปลา (นิล หมอไทย) 2. นำองค์ความรู้ส่งเสริมกระบวนการเพาะเลี้ยงปลานิล หมอไทยปลอดภัยและปลาสลิดอินทรีย์สู่เกษตรกร 3. ร่วมดำเนินการกับ กรมประมง เทศบาลในพื้นที่ และการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ ฯลฯ 4. สร้างนักศึกษาเพื่อเป็นวิทยากรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในการติดตามการเพาะเลี้ยงของเกษตรกร 5. ได้ผลิตภัณฑ์ เช่น ปลานิลแดดเดียว 50 กิโลกรัม/สัปดาห์ ปลาหมอไทยจี่ 30 กิโลกรัม/สัปดาห์ แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ จากการดำเนินการในพื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2559 ได้นำองค์ความรู้ด้านการประมงและส่งเสริมเกษตรกรที่ผ่านมา มาเป็นรูปแบบในพื้นที่ อำเภอสันทราย (ตำบลป่าไผ่ และตำบลหนองจ๊อม) จังหวัดเชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2562-2563 และในปีงบประมาณ 2564 จะมีการดำเนินงานเริ่มจากรับทราบข้อมูลของชุมชน/เยาวชนในโรงเรียนเชื่อมชุมชนในหมู่บ้าน สภาพปัญหา และความต้องการในการแก้ไขปัญหา ผู้นำชุมชน ผู้นำเยาวชน และกลุ่มเกษตรกรมีความต้องการองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาสัตว์น้ำที่มีในพื้นที่อยู่แล้ว และต้องการความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป ดังนี้ 1. เริ่มจากฐานเรียนรู้ด้านการประมงเพื่อผลิตสัตว์น้ำ (การอนุบาล และเลี้ยงกุ้งก้ามกราม) 2. นำองค์ความรู้ส่งเสริมกระบวนการอนุบาล และเลี้ยงกุ้งก้ามกรามปลอดภัยมุ่งสู่อินทร์สู่เกษตรกร 3. ร่วมมือดำเนินโครงการกับกรมประมง เทศบาล และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ 4. สร้างนักศึกษา/นักเรียน เป็นวิทยากรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในการติดตามการอนุบาล และเลี้ยงของเกษตรกรมากขึ้น 5. ส่งเสริมกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำจาก สาหร่ายในพื้นที่ใช้เอง 6. แปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งก้ามกรามเผา จำหน่ายในชุมชน และกาดแม่โจ้ 2477 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และตลาดอื่น ๆ 7. การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/เยาวชนในอนาคตต่อไป จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มและชุมชน/เยาวชน หากมีการดำเนินงานแบบองค์รวมที่มีส่วนประกอบของการสนับสนุนจากภาครัฐ การใช้ฐานความรู้ ฐานคุณธรรม จิตสำนึกแห่งความดี ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน ในช่วงตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ พึ่งพาตนเองได้ โดยใช้การพัฒนาอาชีพของเกษตรกรเป็นประเด็นสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาจะสามารถสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของกลุ่ม และกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
สนับสนุนงานด้านการเรียนการสอนในวิชา ชป. 311 แพลงก์ตอนวิทยา วิชา พล. 422 การเพาะเลี้ยงสาหร่าย และแพลงก์ตอน วิชา ชป. 521 เทคโนโลยี ด้านสาหร่ายและพืชน้ำ วิชา ชป. 571 เทคนิคทางชีววิทยาของการประมง และ วิชา พล.511 เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มีฐานเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพการประมงปลอดภัยมุ่งสู่ประมงอินทรีย์ (การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม) ใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชน/เยาวชน
สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ด้านการประมง และสร้างต้นแบบประมงปลอดภัยมุ่งสู่ประมงอินทรีย์ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำมีผลิตภัณฑ์ด้านการประมงจำหน่าย
ผลิตอาหารสัตว์น้ำโดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สนองแนวคิดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมรักษาระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความพอดี พอเพียงมีชีวิตที่ดี และยั่งยืนต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผลิตกุ้งก้ามกรามบูรณาการกับสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า (สไปรูลิน่า) ปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (สันทรายโมเดล)
KPI 1 : ได้ฐานเรียนรู้ ด้านการประมง เพื่อผลิตกุ้งก้ามกราม สาหร่ายเป็นอาหารสัตว์น้ำ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ฐาน 2
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ได้นวัตกรรมการผลิตอาหารธรรมชาติ โดยนำน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงปลามาเพาะเลี้ยงสาหร่าย กลับไปเป็นอาหารแก่สัตว์น้ำ เป็นการรักษาระบบสิ่งแวดล้อมสร้างพื้นที่ประมงสีเขียว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 นวัตกรรม 1
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ได้เครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 เครือข่าย 2
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
240 คน 240
KPI 10 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 11 : เกษตรกร/เยาวชน/นักศึกษามีรายได้จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งจำหน่ายในชุมชน และกาดแม่โจ้ 2477 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และตลาดอื่น ๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2000 บาท/ เดือน 2000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผลิตกุ้งก้ามกรามบูรณาการกับสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า (สไปรูลิน่า) ปลอดภัยมุ่งสู่อินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (สันทรายโมเดล)
ชื่อกิจกรรม :
1.คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่หัวไวใจสู้
2. รวบรวมองค์ความรู้ส่งเสริมกระบวนการผลิตอาหาร เลี้ยงกุ้งก้ามกราม แปรรูป การตลาด
3. จัดทำวีดีทัศน์
4. ติดตามตรวจเยี่ยม และให้คำแนะนำการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
5. ประเมินผลตามตัวชี้วัด และรายงานผลฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.จงกล  พรมยะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายเทพพิทักษ์  บุญทา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อวิดีทัศน์ จำนวน 36,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 36,600.00 บาท 36,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังน้ำขนาด 100 ลิตร, ตะกร้าพลาสติกแยกกุ้งเลี้ยง ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น กระชังบก(พลาสติก), พันธุ์กุ้งก้ามกราม, สาหร่ายสด, อาหารกุ้งก้ามกราม และเศษผลไม้เพื่อหมักเป็นอาหารกุ้ง ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 44,400.00 บาท 44,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เช่น สายไฟ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ปากกา กระดาษ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจเกิดความล่าช้าในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
ปริมาณน้ำและอุณหภูมิที่ใช้ในการเลี้ยง เนื่องจากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานผู้นำชุมชน เพื่อช่วยในการกระจายข้อมูลกระจายข่าว ทำให้การประสานงานง่ายขึ้น
มีบ่อพักน้ำและสร้างโดมความร้อนเพื่อช่วยแก้ปัญหาในด้านการเลี้ยง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล