16725 : โครงการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชอควาโปนิกส์ในระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/12/2563 11:31:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการ บริษัทและบุคคลทั่วไปที่สนใจการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืช อควาโปนิกส์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 50,000 บาท 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-64-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-64-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-64-4-1 ระดับความสำเร็จของการบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่นๆ ของคณะ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.1 ส่งเสริมการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่นๆ
กลยุทธ์ FT-64-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
เป้าประสงค์ FT-64-4.2 เป็นคณะที่สนองโครงการในพระราชดำริ
ตัวชี้วัด FT-64-4-8 ระดับความสำเร็จในการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ
กลยุทธ์ FT-64-4.2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนใหญ่จะมีการเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นสูงเพื่อที่ให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น แต่ก็มักจะประสบกับปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ำ หากการจัดการไม่ดีพอ จึงได้มีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยได้มีการนำแนวคิดที่จัดการให้ของเสียที่เกิดจากสัตว์น้ำ มาปรับใช้ภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการใช้เทคโนโลยีไบโอฟลอค ซึ่งไบโอฟลอคเหล่านี้ก็คือสารประกอบโปรตีน เมื่อสัตว์นํ้ากินฟลอคเข้าไปก็เท่ากับว่าสัตว์น้ำได้กินอาหารที่มีโปรตีนนั่นเอง และจุลินทรีย์ในไบโอฟลอคก็จะเป็นตัวที่คอยควบคุมคุณภาพนํ้าภายในบ่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อย ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพดีตามไปด้วย (Azim and Little, 2008 ; Roselien et al., 2012; Rodrigo et al., 2013; Avnimelech, 2015) เทคนิคหรือนวัตกรรมการจัดการการเลี้ยงนี้สามารถช่วยให้ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาวและเป็นระบบการเพาะเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามระบบการเลี้ยงแบบนี้น้ำที่ใช้ในบ่อเลี้ยงยังคงต้องมีการถ่ายเทออกจากระบบและมีการเติมน้ำใหม่เข้าสู่บ่อเลี้ยงบ้างเพื่อควบคุมให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีคุณภาพเหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง โดยน้ำที่ออกจากระบบการเลี้ยงซึ่งจะมีสารอินทรีย์อยู่มาก จะมีการนำไปใช้ประโยชน์และเป็นการทำให้น้ำทิ้งดังกล่าวปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบอควาโปนิก (Aquaponics) ซึ่งเป็นการผสมผสานระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) เข้าไว้ด้วยกัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การใช้พืชในการบำบัดสารอินทรีย์โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสีย โดยอาศัยหลักที่ว่าน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำอุดมไปด้วยธาตุอาหาร ได้แก่ สารประกอบไนโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนียหรือไนเตรท เป็นสารอาหารหลักสำหรับพืช พืชจะดูดซึมสารเหล่านี้ไปใช้ในการเจริญเติบโต และทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอที่จะถูกนำกลับมาใช้ในบ่อเลี้ยงได้ ดังนั้นการเผยแพร่แนวทางการเลี้ยงปลาด้วยนวัตกรรมไบโอฟลอคร่วมกับการบำบัดน้ำด้วยการนำไปใช้ปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) จึงเป็นรูปแบบใหม่สำหรับการเลี้ยงปลาที่ให้ผลผลิตสูงและปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจในการเลี้ยงปลาในระบบที่ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและได้ผลผลิตพืชร่วมด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ ในด้านเกษตรอินทรีย์ ที่เน้นการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ และการใช้ต้นทุนต่ำในการผลิต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเผยแพร่ความรู้ระบบการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชอควาโปนิกส์
เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาที่คำนึงถึงคุณภาพผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชอควาโปนิกส์ในระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
KPI 1 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น ๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 8 : ชุมชนได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาที่คำนึงถึงคุณภาพผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาเชิงซ้อนร่วมกับการปลูกพืชอควาโปนิกส์ในระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อกิจกรรม :
1.ประชาสัมพันธ์
2.ติดต่อประสานงานและ จัดทำเอกสารและคู่มือ
3. จัดฝึกอบรม
4.สรุปผลการจัดทำโครงการ
5.จัดทำรายงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท 0.00 บาท 3,850.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับวิทยากร เจ้าหน้าที่ และผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท 0.00 บาท 5,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคบรรยาย จำนวน 1 วัน ๆ ละ 4 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 3 ชม. ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น อาหารปลา รำ ปลาป่น กระชัง พลาสติกโรงเรือน ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่างานบ้านงานครัว เช่น กะละมัง มีด กล่องพลาสติก ถาดพลาสติก ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร ปากกา แฟ้ม ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,450.00 บาท 0.00 บาท 4,450.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล