16722 : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/1/2564 9:27:46
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านนาคูหา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เกศินี  วีรศิลป์
อาจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
อาจารย์ ดร. นิติกาญจน์  นาคประสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64-3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 64-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 64-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาประเทศแบบสร้างพื้นฐานคือ “ความพอมี พอกิน พอใช้” ต่อมาพระองค์ได้มีพระราชดำรัสอีกครั้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช 2517 ณ ศาลาดุสิตดาลัย เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงเน้นคำว่า “พอมี พอกิน พอใช้” หมายถึง ความพอมีที่เหมาะสมในช่วงชีวิตไม่โลภหรือความต้องการที่จะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนมากเกินไปจนเป็นความเดือดร้อนแก่ตนเอง พอกินที่จะพอประมาณไม่เบียดเบียนผู้ใดหรือเบียดเบียนตนเองจนเกิดความทุกข์เข็ญ พอใช้คือการใช้อย่างพอดี มีสติในการใช้ ใช้ชีวิตเฉกเช่น นกน้อยทำรังแต่พอตัว จะนำมาซึ่งความสุขแก่ตนในอนาคต สอดคล้องกับ กมลวรรณ ศรีเจริญจิตร์ (2557) ที่ได้กล่าวว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักแนวคิดในการพัฒนาตนเองโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการดำเนินชีวิตของตนเอง จากคำกล่าวข้างต้น พบว่าหลักแนวคิดนี้เป็นเสมือนกระแสการพัฒนาตนเอง ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศให้ความสนใจและตอบรับกันอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังพบว่าได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยมีการวางแผนเพื่อพัฒนาประเทศที่เน้นกระบวนการทำงานให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ฉบับที่10 (พ.ศ.2550-2554) และฉบับที่ 11 (พ.ศ2555-2559) และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ภูมิภาค และประเทศ ในการร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เสมอภาค เป็นธรรม และภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศต่อผลกระทบต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงทรัพยากรและได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมมีความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตามหลักคิดของโลกศตวรรษที่21 ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในด้านบวกและด้านลบอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศไทยเป็นหนึ่งสมาชิกในประชาคมโลกที่ไม่สามารถหลีกหนีการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ ท่ามกลางภาวะคุกคามของสังคมโลกยุคการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคมแบบเกษตรพึ่งตนเองของประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบเกษตรพึ่งพาอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพิกเฉยภูมิปัญญาดั่งเดิม และการบริโภคทรัพยากรของชาติในรูปแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา นำมาซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงซึ่งทรัพยากร และความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และจากการตอกย้ำของเหตุการณ์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปีพ.ศ. 2540 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้เกิดการตื่นตัวทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ในการปรับตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่รอการพิสูจน์ในลำดับต่อไป รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่สามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศ จึงได้จัดสร้างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นฐานในการพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นความสมดุลย์ของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เกิดความเชื่อมโยง มีความรู้เท่าทัน และมีการบริหารที่เป็นธรรม อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนมุมมองของการผลิตแบบพึ่งพาตนเองโดยเน้นให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการผลิตที่เน้นทรัพยากรพื้นฐาน และภูมิปัญญาดั่งเดิมที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชนเป็นหลักของการสร้างสรรค์ผลงานการผลิต ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองจากการนำของนอกพื้นที่มาผลิตทำให้เกิดการลงทุนที่สิ้นเปลือง มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีในชุมชน และสนับสนุน อัตลักษณ์ของวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนแบบเดิมไว้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้ วิสาหกิจชุมชนจึงได้ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งแนวทางที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนได้ จากการอธิบายของสุเมธ ตันติเวชกุล (2536:15) ที่ได้ให้การอธิบายเกี่ยวกับการนำหลักวิสาหกิจชุมชนมาพัฒนาชุมชนว่า ประชาชนนั่นแหละคือผู้มีความรู้ เขาทำงานมาหลายชั่วอายุคนแล้ว โดยเขาทำกันอย่างดี มีความเฉลียวฉลาด และรู้ว่าตรงไหนควรทำกสิกรรมและที่ไหนควรเก็บรักษาไว้ สอดคล้องกับ กรมส่งเสริมการเกษตร (2549) ได้อธิบายว่า วิสาหกิจชุมชนคือกิจการของชุมชนที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการอื่นๆที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล หรือไม่นิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาการจัดการทุนของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งพาตนเอง ซึ่งทุนของชุมชนนั้นจะหมายถึงทรัพยากร ผลผลิตทางการเกษตร ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นเป็นหลักในการผลิต วิสาหกิจชุมชนมีความสำคัญต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของการประกอบการวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เน้นเพื่อกำไรสูงสุด แต่จะเน้นที่การลดค่าใช้จ่าย การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ ให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน ยังประโยชน์ให้ชุมชนผู้เป็นเจ้าของวิสาหกิจนั้นเป็นหลัก โดยนำความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่อย่างมีดลุยภาพ ทั้งนี้การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของคนในชุมชนนากจากจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ยากและสลับซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความยากจนที่มีความยากจนที่มีความเป็นองค์รวมเกี่ยวพันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ซึ่งต้องอาศัยชุมชนที่เข้มแข็งเป็นเสาหลักในการร่วมมือร่วมใจดำเนินการให้หลุดพ้นจากความยากจนตลอดไปแล้วยังช่วยให้ชุมชนสามารถพัฒนาอนาคตของชุมชนได้อีกด้วย (เสรี พงศ์วิชิต และคณะ, 2544) วิสาหกิจชุมชนเป็นอีกหนึ่งระบบเศรษฐกิจทางเลือกสำหรับชุมชนที่ต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกื้อกูลกัน ก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันเพื่อการพัฒนาโดยเน้นชุมชนให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในที่สุด วิสาหกิจชุมชนเป็นการบริหารจัดการที่เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน แล้วนำมาพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมีอำนาจต่อรองกับระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันทางการค้าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการบริหารจัดการ การสร้างรายได้ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน จะเป็นหนึ่งปัจจัยหลักในการผลักดันให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็ง และการที่ชุมชนจะเข้มแข็งได้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงในการใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่าชาญฉลาด โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติที่มีความหลากหลายให้เกิดประโยชน์ที่กว้างขวางให้ได้มากที่สุด วิสาหกิจชุมชนหมู่ 5 บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีจำนวนวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการจัดทะเบียบก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนรวมกันทั้งสิ้น 7 กลุ่ม ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวเกรียบเตาบ้านนาคูหา วิสาหกิจชุมชนชมรมผู้สูงอายุบ้านนาคูหา วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีเกษตรบ้านนาคูหา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มห้อมนาคูหา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มถั่วลิสงลายเสือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาละแมเตา และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟออร์แกนิค 100ปีนาคูหา จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า การรวมกลุ่มกันของวิสาหกิจชุมชาบ้านนาคูหา เป็นการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีแนวคิดในการบริหารจัดการโดยนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีรอบชุมชนมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และที่สำคัญมีการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนเป็นหลัก ผลการดำเนินงานหลายปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นที่น่าพึงพอใจคือมีการพัฒนาที่ดีขึ้นเป็นลำดับแต่ด้วยยังคงมีประเด็นที่เป็นปัญหาเช่น ความไม่เข้าใจในบทบาทของตนเองในการรวมกลุ่ม ความไม่เข้าใจในระเบียบ การวางแผนการเงินที่ไม่เป็นระบบ ไม่เข้าใจกระบวนการภายใน ไม่เข้าในกระบวนการประยุกต์และพัฒนาผลผลิตให้มีความหลากหลาย ความไม่เข้าใจในการหาลูกค้า และระบบการจัดการกลุ่ม ก็ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาได้อย่างมีนัยสำคัญซึ่งไม่อาจจะเพิกเฉยได้ จากที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น จะพบว่าการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนที่มีลักษณะแบบมีส่วนร่วมยังคงเป็นประเด็นที่มีความสับสน โดยเฉพาะการศึกษาในประเด็น กระบวนการบริหารงาน ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ อีกทั้งยังขาดการศึกษาในประเด็นการรับรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุทำให้ขาดองค์ความรู้ที่จะนำไปเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีประสิทธิภาพซึ่งก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของความจำเป็นในการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนากระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนให้มีความชัดเจนและสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดต่อวิสาหกิจชุมชนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
2 เพื่อการถ่ายทอดกระบวนการการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาทันต่อสถานการณ์ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
3 เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ในการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหามีแผนในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ทันสถานการณ์ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) อย่างมีประสิทธิภาพ
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ร้อยละของความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนแผนการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 8 : การถ่ายทอดกระบวนการการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาทันต่อสถานการณ์ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 9 : คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหามีศักยภาพในการบริหารจัดการกลุ่มตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหามีแผนในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ทันสถานการณ์ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) อย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมหลักสูตร "การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 กระดาษบรู๊ฟสีน้ำตาล เป็นเงิน 1,500 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 16300.00
ชื่อกิจกรรม :
การจัดอบรมถ่ายทอดกระบวนการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูหาทันต่อสถานการณ์ฐานวิถีชีวิตใหม่ (NEW NORMAL)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 4 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ A4 กระดาษบรู๊ฟสีน้ำตาล เป็นเงิน 1,440 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,740.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,740.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29740.00
ชื่อกิจกรรม :
ประสานงานและเตรียมความพร้อมในการดำเนินกิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิง (รถยนต์ส่วนตัว) ระยะทาง (ไป-กลับ) รวม 150 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 3 คน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,160 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,960.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,960.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3960.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานกาณ์โควิดทำให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ทำให้การอบรมเลื่อนไปหลายครั้งไม่ตรงตามกำหนดที่ได้ตั้งไว้แต่แรก
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานโดยตรงกับผู้ใหญ่บ้านและขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมอบรมและปฏิบัติตามมาตรฐานการเฝ้าระวัง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล