16692 : ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปวีณา ลิมป์กาญจนวัฒน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/12/2563 16:49:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ชาวบ้านรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง มิ่งขวัญ  แดงสุวรรณ
นาย สรเดช  จันทร์เที่ยง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า บริเวณลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ โดยราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณตำบลป่าไผ่และบริเวณใกล้เคียง ทำให้ป่าไม้อันเป็นต้นน้ำห้วยแม่โจ้ มีสภาพค่อนข้างดี เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณลุ่มน้ำอื่นที่ใกล้เคียงในช่วงก่อน พ.ศ. 2520 อย่างไรก็ดีแม้ว่าราษฎรจะได้ช่วยพยายามรักษาป่าไม้อยู่แล้วก็ตาม การลักลอบตัดไม้ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้นยังมีอยู่เสมอทำให้สภาพป่าเสื่อมโทรมลงทุกที ๆ และลำน้ำห้วยแม่โจ้ ซึ่งเคยมีน้ำไหลตลอดฤดูกาลเริ่มหยุดไหลในฤดูแล้ง ความเอาใจใส่ดูแลป่าไม้บริเวณลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ ของราษฎร ได้ทราบถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และในการเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521จึงได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยฯ หาลู่ทางเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำห้วยแม่โจ้ และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่ราษฎรในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการสนองพระราชประสงค์ โดยขั้นแรกมหาวิทยาลัยฯ ได้ประสานงานกับสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ สำรวจสภาพพื้นที่ทั่วไปและน้ำ ทราบว่าการพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอื่นต้องใช้ทรัพยากรสูงโดยเฉพาะการสร้างอ่างหรือฝายไม่คุ้มกับการลงทุน และโดยที่มหาวิทยาลัยฯ มีงบประมาณจำกัด จึงได้ขอความสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดกิจกรรมที่พอจะทำได้มาเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้โดยที่หมู่บ้านโปงมีอาณาเขตบางส่วนเป็นป่า และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งราษฎรอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก การพัฒนาทรัพยากรต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำควรจะดำเนินไปพร้อมๆ กันกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของราษฎรด้วย มหาวิทยาลัยฯจึงได้ขอความอนุเคราะห์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวางแนวทางอย่างสอดคล้องกับความนึกคิดความต้องการ และความร่วมมือร่วมใจของราษฎรอย่างแท้จริง โดยการสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดเชียงใหม่ และการประสานงานของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมชลประทานพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นบริเวณต้นน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรของราษฎร และได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้ อธิการบดีมหาวิยาลัยแม่โจ้ จัดทำแปลงปลูกไม้ใช้สอยสำหรับหมู่บ้านโปงและหมู่บ้านใกล้เคียง ตลอดจนส่งเสริมบริการด้านการเพาะปลูก พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพและแปรรูปผลผลิตเกษตร ให้มีการเก็บรักษาและจำหน่ายต่อไป และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร โครงการพระราชดำริบ้านโปง ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ บริเวณบ่อน้ำแท่นพระยาหลวงโดยมีพระราชกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคณาจารย์ นักศึกษา ช่วยกันดูแลรักษาและให้ปลูกไม้โตเร็วเพิ่มเติมเพราะเป็นต้นน้ำลำธาร เช่น ให้ปลูกแคไทย เพาโรเนีย และไม้โตเร็วพื้นเมือง นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำอาชีพให้แก่ราษฎร และให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ดีที่สุด ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2534 รศ.ดร.อานนท์ เที่ยงตรง อธิการบดีและอาจารย์ 4 ท่าน ได้ออกสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีราษฎรบุกรุกแผ้วถาง และลักลอบตัดไม้มากยิ่งขึ้น พื้นที่ป่าสันทรายบางแห่งราษฎรจับจองเป็นที่ทำกินนอกจากนี้หน่วยราชการและเอกชนได้ดำเนินการขอเช่ามากขึ้น มหาวิทยาลัยฯ เกรงว่าจะไม่เหลือป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารอีกต่อไปจึงได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์ ศึกษาและพัฒนาป่าบ้านโปงขึ้น เนื้อที่ 3686 ไร่ และเนื้อที่ 907 ไร่ โดยได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ (เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและศึกษาวิจัย ส่งเสริมอาชีพ พัฒนาให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ) และได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพให้ราษฎรในบริเวณพื้นที่ป่าและใกล้เคียงนอกจากการพัฒนาพื้นที่ ตอนบนและตอนใต้ของลุ่มน้ำห้วยแม่โจ้ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และเสด็จพระราชดำเนินไปอ่างเก็บน้ำทอดพระเนตรสภาพน้ำและสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าสันทรายพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโปงฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำริ และพระกระแสรับสั่งให้มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับกรมชลประทาน และกรมป่าไม้ เพื่อรับสนองแนวพระราชดำริ โดยสรุปคือให้กรมชลประทานสนับสนุนทางด้านอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ ปรับระดับแรงดันของน้ำตามเหมาะสม เพื่อกระจายน้ำให้ต้นไม้บริเวณไหล่เขาอย่างทั่วถึงทำให้ป่าไม้ชุ่มชื้น จึงจะช่วยให้ป่าต้นน้ำลำธารสภาพดีขึ้น การสร้างฝายกั้นต้นน้ำลำธารตามร่องน้ำสายต่างๆ เพื่อให้ป่ามีความชุ่มชื้น และดำเนินการทำโครงการทฤษฎีใหม่ โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน จัดพื้นที่ตอนท้ายอ่างห้วยโจ้ เพื่อให้ราษฎรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้เพาะปลูก เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ให้มีการปลูกหญ้าแฝกบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ไม่ให้หน้าดินถูกกัดเซาะหรือถูกน้ำชะล้างเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ การอนุรักษ์พื้นที่ป่าและทรัพยากรภายใต้โครงการพัฒนาบ้านโปงฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเป็นต้นแบบที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่บูรณาการองค์ความรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ควรถ่ายทอดแก่เยาวชน ตามแนวทางศาสตร์พระราชาสานต่องานที่พ่อทำ (โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดความเป็นมาของโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เพื่อเพื่อถ่ายทอดพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ในวันที่ 2 มีนาคม 2519, 19 กุมภาพันธ์ 2523 ,25 กุมภาพันธ์ 2527 และ 23 กุมภาพันธ์ 2530
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในพื้นที่โครงการพัฒนาบ้านโป่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3686 ไร่
เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ต้นแบบกลุ่มชาวบ้านตัวอย่างที่มีองค์ความรู้ของป่า ประโยชน์ของกิจกรรมในป่า ฝาย แนวกันไฟ การดับไฟป่าและจิตสำนึกที่รักในชาติ สถาบันเพิ่มขึ้น และมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น เพิ่มความเข้มแข็งในชุมชน
KPI 1 : ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในต้นกำเนิดของโครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในประโยชน์จากการอนุรักษ์ป่า ประโยชน์ของฝาย แนวกันไฟ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้ารับอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกรักในป่าและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ป่า (ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : การดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรป่า 3,686 ไร่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 8 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 10 : ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 11 : ร้อยละของผู้เข้าอบรมมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ต้นแบบกลุ่มชาวบ้านตัวอย่างที่มีองค์ความรู้ของป่า ประโยชน์ของกิจกรรมในป่า ฝาย แนวกันไฟ การดับไฟป่าและจิตสำนึกที่รักในชาติ สถาบันเพิ่มขึ้น และมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น เพิ่มความเข้มแข็งในชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงวิชาการถึงประโยชน์ของป่า ฝาย แนวกันไฟ และการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ป่าและการพัฒนาป่าให้ดียิ่งขึ้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางมิ่งขวัญ  แดงสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสรเดช  จันทร์เที่ยง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 x 1 มื้อ x 2 ครั้ง
เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 ครั้ง
เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผู้นำทาง ปราชญ์ชาวบ้านเข้าชมพื้นที่ป่า จำนวน 5 คน x 400 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร บรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 2 ครั้ง
เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงานเช่น กระดาษ A4 ปากกา ดินสอ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์สีแบบเลเซอร์, อิงค์เจ็ท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัวเช่น ไม้กวาด, น้ำยาล้างจาน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่ตรงตามเป้าหมาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ดำเนินการประชาสัมพันธ์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล