16691 : พรรณไม้หลากสีสัน แห่ง ทุ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.ปวีณา ลิมป์กาญจนวัฒน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/1/2564 11:38:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1600  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ 2564 350,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้คือการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางการเกษตรและกำลังมุ่งสู่การเป็น Green University รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้-ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน โครงการพัฒนาฐานเรียนรู้ไม้ผลและไม้ดอกเพื่อบริการการเรียนการสอน บริการวิชาการในระบบเกษตรปลอดภัยเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากในปัจจุบันความต้องการด้านอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง (Food Safety) จากการผลิตที่ผ่านมาผู้ผลิตส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช วัชพืชในปริมาณมาก บางครั้งเกินความจำเป็น ทำให้ส่งผลกระทบในหลายๆด้าน โดยเฉพาะกับผู้บริโภคโดยตรง การขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำให้เกิดการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสารตกค้างในผลผลิต ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้ใช้นโยบายด้านความปลอดภัยด้านอาหารเป็นข้อตกลงทางการค้าอยู่เสมอ เช่นเดียวกับประเทศไทยก็ให้ความสำคัญทางด้านนี้มีการส่งเสริมให้เกษตรกร มีการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี มาผลิตแบบเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง (Organic) ตามนโยบายของรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาซึ่งฟาร์มมหาวิทยาลัย มีความตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี และเนื่องจากฟาร์มเป็นพื้นที่ที่ผลิตพืชชนิดต่างๆ โดยเฉพาะมะม่วง ลำไยและไม้ดอกไม้ประดับตลอดทั้งปี โดยในแต่ละปีมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมไม่น้อยกว่าปีละ 8,000 คน ดังนั้น หากมีโครงการพัฒนาฐานเรียนรู้ไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับเพื่อบริการการเรียนการสอน บริการวิชาการในระบบเกษตรปลอดภัยจะทำให้เกษตรกรหรือผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมฟาร์มมหาวิทยาลัย จะได้รับความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตมะม่วง ลำไย และไม้ดอกไม้ประดับในระบบปลอดภัยให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
เพื่อพัฒนาเป็นฟาร์มต้นแบบในการผลิตไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับให้ได้มาตราฐานในการผลิต รวมถึงเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
เพื่อพัฒนาฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรเชิงเกษตร สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่มหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตมะม่วง/ ฐานเรียนรู้การผลิตลำไย / ฐานเรียนรู้การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนแหล่งเรียนรู้/ฐานเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับเพื่อรองรับการศึกษาดูงาน(ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1600 คน 1600
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.35 ล้านบาท 0.35
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตมะม่วง/ ฐานเรียนรู้การผลิตลำไย / ฐานเรียนรู้การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ
ชื่อกิจกรรม :
ฐานเรียนรู้การผลิตมะม่วง
1. เตรียมแปลงสาธิต
- ทำความสะอาดรอบพื้นที่ปลูก
- ติดตั้งระบบน้ำ
- ดูแลรักษา
- เก็บเกี่ยวผลผลิต
2. กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับบริการ
- การเตรียมต้นพันธุ์ที่ดี
- เทคนิคการเลือกต้นพันธุ์
- เทคนิคการเตรียมหลุมปลูก
- เทคนิตการดูแลรักษาเพื่อให้ผล
ผลิตมีคุณภาพ
- เทคนิคการเพิ่มผลผลิต
- เทคนิคการเพิ่มคุณภาพผล
มะม่วง
- เทคนิคการเก็บเกี่ยวให้มีคุณภาพ
ที่ตลาดต้องการ

ฐานเรียนรู้การผลิตลำไย
- การเตรียมพื้นที่เพื่อผลิตลำไยในระบบปลอดภัย
- การเตรียมพันธุ์ลำไยในระบบปลอดภัย
- การปลูกลำไยในระบบปลอดภัย
- การดูแลรักษาลำไยในระบบปลอดภัย
- การเก็บเกี่ยวและคัดบรรจุลำไยในระบบปลอดภัย

ฐานเรียนรู้การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ
-ซ่อมแซมโรงเรือนในแปลงสาธิต
-ทำความสะอาดโรงเรือนในแปลงสาธิต
-เตรียมวัสดุอุปกรณ์
-เตรียมแปลงสาธิต
-ติดตั้งระบบน้ำ
-ดูแลรักษาไม้ดอกไม้ประดับ
-การขยายพันธุ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2563 - 29/01/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.สุรชัย  ศาลิรัศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายกฤษณโชติ  ประชาโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าจ้างเหมาดูแลแปลงสาธิตแปลงไม้ดอก จำนวน 3 ไร่ เป็นเงิน 16,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาผสมดินใส่ถุงจำนวน 20,000 ถุงๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
-ค่าจ้างเหมาจัดทำโครงสร้างแปลงไม้ดอกจำนวน 1 งาน เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 51,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 51,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุก่อสร้าง เช่น ตะปู ลวดดำ สีน้ำมัน น้ำมันสน เป็นเงิน 23,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 23,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 23,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น- ค่าสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่างๆ - ค่าปุ๋ยอินทรีย์- ค่าปุ๋ยเคมีหญ้าเทียม 2 ซม. กว้าง 2 เมตร
-ไม้ยูคา เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 6 เมตร-ไม้ยูคา เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 6 เมตร- ปุ๋ยอินทรีย์ 20 กระสอบ
-ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 10 กระสอบ-ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 จำนวน 5 กระสอบ- สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 5 ขวด
-ถุงดำขนาด 4*8 จำนวน 60 กก.-ดินดำ 5 คันรถ 6 ล้อ-แกลบดิบ 5 คันรถ 6ล้อ-ค่าพลาสติกคลุมกำเนิดพืช 10 ม้วน
-ค่าเมล็ดพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาว-ค่าไม้ดอกกระถางแขวน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 275,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 275,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 350000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดงบประมาณสนับสนุนการจัดทำโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอรับการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
เปิดบ้านฟาร์มแก้ไขล่าสุด
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล