16687 : โครงการไผ่เพื่อน้อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/3/2564 11:18:11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2564 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.1 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
กลยุทธ์ 64 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 1. การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่เชี่ยวชาญทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
เป้าประสงค์ MJU64 : 1.3 พัฒนานักศึกษาให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด 1.3.4 จำนวนกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 9. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและมหาวิทยาลัย
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) (อ้างอิงจาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html ) พระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” (อ้างอิงจาก : http://202.29.80.110/ความเป็นมาของโครงการ/) ที่มาของโครงการไผ่เพื่อน้อง สืบเนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2560 งานบริการวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ได้รับผิดชอบการผลิตดาวเรืองให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 จึงได้รับการสนับสนุนปัจจัยในการผลิตดาวเรือง เช่น ระบบน้ำ วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวนดาวเรืองที่ผลิตได้มีคุณภาพและได้มาตรฐานครบถ้วนตามความข้อตกลง ขณะเดียวกันได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองสายพันธุ์ดีมาจากท่าน ดร.บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ และ ดร.ฉัตรกมล มุ่งพยาบาล ให้ผลิตเพื่อใช้ประดับในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร อีกด้วย อย่างไรก็ดีหลังจากกิจกรรมผลิตดาวเรืองเสร็จสิ้น ทางงานบริการวิชาการและวิจัยเห็นว่ามีวัสดุอุปกรณ์ที่ยังพอจะใช้งานได้ จึงได้สร้างได้สร้างแปลงไผ่กิมซุง จำนวน 100 ต้น บริเวณลานผลิตดาวเรือง ภายในพื้นที่ฟาร์มของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร และได้ตั้งชื่อว่า “สวนไผ่ร้อยกอ.ม.แม่โจ้ – ชุมพร” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาเกษตรกรและผู้สนใจเกี่ยวกับไผ่ต่อไป ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ.2562 ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้นำโดยคุณวีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ ให้การสนับสนุนผลักดันไปสู่โครงการ “ไผ่เพื่อน้อง” เริ่มโครงการวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ปลูกไผ่กิมซุง จำนวน 100 ต้น และ ไผ่ซางหม่น จำนวน 100 ต้น อีกทั้งยังบริจาคเงินเพื่อวางระบบน้ำในแปลงไผ่ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์ไผ่หลากหลายชนิดจากศิษย์เก่าแม่โจ้จังหวัดต่าง ๆ เพื่อรวบรวมพันธุกรรมไผ่จากแหล่งต่าง ๆไว้ในโครงการ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนปุ๋ยจากศิษย์เก่าเสมอมา อย่างไรก็ดีปี พ.ศ. 2563 จัดกิจกรรมเสวนาและปลูกไผ่ ในวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม โดยทางชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ร่วมกับงานบริการวิชาการและวิจัย จัดกิจกรรมเสวนา “พูดคุย…ตามประสาคนรักษ์ไผ่” นำโดยคุณ วีรวัชร์ จารุรัชต์ธำรง ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 49 ประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ คุณสมบัติ มากลัด จากเครือข่ายผู้จำหน่ายพันธุ์ไผ่ (มอบชนิดพันธุ์ไผ่กว่า 200 ต้น ให้กับโครงการ) และคุณโชคดี ปรโลกานนท์ ศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 45 ผู้ก่อตั้ง โรงเรียนป่าไผ่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านไผ่ ดำเนินการเสวนา มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 78 คน อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. 2564 มีแผนงานวิจัยศึกษาการเจริญโตของไผ่ซางหม่นที่ปลูกในดินทราย และได้รับการสนับสนุนกล้าพันธุ์ผักเหลียงจาก ดร. สันติพงษ์ พรหมชาติ หนึ่งในเครือข่ายผู้ปลูกไผ่ มอบกิ่งตอนผักเหลียง จำนวนกว่า 300 ต้น เพื่อปลูกเสริมในป่าไผ่ อีกทั้งยังสามารถบูรณาการร่วมกับโครงการ “ไผ่เพื่อการศึกษาและการค้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 50,000 บาท จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช เพื่อฝึกอบรมการจัดการสวนไผ่อย่างบูรณาการ เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับไผ่ และเพื่อปลูกรวบรวมชนิดไผ่หน่อหวานทานดิบ อย่างได้ก็ดีโครงการไผ่เพื่อน้องได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคนในวงการไผ่ด้วยดีเสมอมา การทำงานของโครงการยังสอดคล้องกับพระราชดำริ ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ระดับประเทศ
เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร
เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตอบสนองต่อคนทุกช่วงวัย
เพื่อเป็นช่องทางให้ศิษย์เก่าแม่โจ้ตอบแทนสังคมผ่านกิจกรรมไผ่เพื่อน้อง
เพื่อเป็นแปลงทดลอง วิจัย ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แหล่งรวบรวมพันธุ์ไผ่เพื่อการศึกษา
KPI 1 : จำนวนไผ่กิมซุง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 กอ 100
KPI 2 : จำนวนไผ่ซางหม่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 กอ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แหล่งรวบรวมพันธุ์ไผ่เพื่อการศึกษา
ชื่อกิจกรรม :
รวมรวมพันธุ์ไผ่ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากศิษย์เก่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/03/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ดินทรายขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของไผ่
ขาดแรงงานที่มีคุณภาพ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษหญ้าและใบไผ่ด้วยวิธีการวิศวกรรมแม่โจ้ 1 เพื่อให้ในแปลงโครงการ
ใช้แรงงานชาวพม่าโดยการสนับสนุนจากศิษย์เก่า
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 โครงการไผ่เพื่อน้อง 64
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล