16650 : โครงการการศึกษาข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ พันธุกรรม และองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของรวงผึ้งเพื่อประโยชน์ทางการอนุรักษ์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ดร.ณิชมน ธรรมรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/12/2563 16:05:15
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  พื้นที่ปลูกต้นรวงผึ้งในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 1 พื้นที่
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2564 475,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปารวี  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
รองศาสตราจารย์ ดร. อรุณี คงดี  อัลเดรด
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 3.การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 4.1.1 พัฒนาองค์ความรู้ / ฐานเรียนรู้ที่มีศักยภาพของมหาวิทยาลัย และผลักดันสู่การยอมรับ (ดูงาน ฝึกอบรม เชิญเป็นวิทยากร นำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ) ในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 3.การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นรวงผึ้ง มีชื่อสามัญว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) มีความสำคัญคือเป็นต้นไม้ประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 จะบานในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ออกดอกนาน 7-10 วัน เมื่อดอกสีเหลืองบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูงดงามอร่ามตา ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบเฉพาะที่ดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ บริเวณป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ออกดอกและติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 4-9 ซม. โคนใบสอบเบี้ยว ปลายใบแหลม เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น ชัดเจน ดอกสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อแน่นตามซอกใบ กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉกคล้ายรูปดาว ขนาดผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.5 ซม. ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาด 0.5-1 ซม. มีกลีบรองดอกติดอยู่ เนื่องจากต้นรวงผึ้งมีความสำคัญคือเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 10 ทำให้เป็นพืชที่มีความต้องการของตลาดในแง่การนำมาปลูกเป็นไม้มงคล อย่างไรก็ตามข้อมูลเชิงวิชาการของต้นรวงผึ้งยังมีการศึกษาอยู่น้อยมากไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการสำรวจ รวบรวมพันธุ์ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการสำรวจ รวบรวมพันธุ์ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้งในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์สายพันธุ์ ตลอดจนการปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้มีลักษณะที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จะเป็นการยกระดับต้นรวงผึ้งให้ทรงคุณค่าและให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายต่อไป และเป็นแหล่งพันธุกรรมในงานวิจัยด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อื่นต่อไป นอกเหนือจากการศึกษาความหลากหลายและการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของรวงผึ้ง ทางคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการศึกษาทางสรีรวิทยาและเคมีวิทยาของรวงผึ้งนั้น มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน จึงมีความสนใจที่จะศึกษาสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของดอกและใบจากต้นรวงผึ้ง ซึ่งเป็นส่วนของพืชที่ผู้ปลูกรวงผึ้งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ในการศึกษาสารประกอบที่อยู่ในเซลล์ของดอกและใบรวงผึ้งจะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ อนึ่งในปัจจุบัน สังคมการบริโภคของคนไทยนิยมอาหารที่เร่งด่วนซึ่งอุดมไปด้วยน้ำตาลและไขมัน ประกอบกับคนมีความเครียดกับการเรียน การทำงานมากขึ้นและสภาวะแวดล้อมในสังคมมีสภาพที่แย่ลงทุกวัน จึงทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมากในร่างกาย ดังนั้นการหันมาหาดูแลสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมของคนยุคใหม่ สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่น่าสนใจตัวหนึ่งเนื่องจากมีประโยชน์หลายต่อร่างกาย ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ ส่งผลทำให้อาหารสุขภาพมีความต้องการมากขึ้น ขณะที่ชนิดและปริมาณของอาหารสุขภาพนี้ยังไม่หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค การศึกษาเรื่องสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและสารต้านอนุมูลอิสระของรวงผึ้งนั้นยังไม่มีบันทึกไว้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะนำเอาพรรณไม้หอมรวงผึ้งไปใช้ประโยชน์ เช่นการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ทางยา หรือเวชสำอาง คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่ศึกษาสมบัติความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดจากรวงผึ้งควบคู่ไปกับการศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของรวงผึ้ง เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อทำการสำรวจ รวบรวมพันธุ์ และทำการศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
เพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูล (database) แบบลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่จำเพาะเจาะจงต่อต้นรวมผึ้งในประเทศไทยด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา และยังจะสร้าง SCAR markers ของต้นรวงผึ้งอย่างน้อย 1 ชนิด เพื่อใช้ในการระบุสายพันธุ์อย่างเจาะจง
เพื่อเพิ่มช่องทางในการนารวงผึ้งไปใช้ประโยชน์ คณะผู้วิจัยจะศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาและเคมีวิทยาของรวงผึ้ง โดยการวิเคราะห์สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของดอกรวงผึ้งที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทาละลายชนิดต่างๆ และจะทาการวัดปริมาณสารเมทาบอไลท์ที่สนใจนามาใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ และการออกฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดที่ได้จากดอกและใบรวงผึ้ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาต่อยอดให้รวงผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการศึกษาข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ พันธุกรรม และองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของรวงผึ้งเพื่อประโยชน์ทางการอนุรักษ์
KPI 1 : ฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้งในประเทศไทย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 2 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 3 : ข้อมูลสารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีของต้นรวงผึ้งที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 4 : บทความทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 5 : องค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของต้นรวงผึ้งจากตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมจากพื้นที่ภาคเหนือ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการศึกษาข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ พันธุกรรม และองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของรวงผึ้งเพื่อประโยชน์ทางการอนุรักษ์
ชื่อกิจกรรม :
การสำรวจ รวบรวม ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งที่พบบางพื้นที่ในภาคเหนือของประเทศไทย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2564 - 31/08/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอดิศักดิ์  การพึ่งตน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างสำรวจและเก็บตัวอย่าง ในวงเงิน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 21,440 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,440.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,440.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 121440.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของต้นรวงผึ้งที่พบในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2564 - 31/08/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารวี  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.รัฐพร  จันทร์เดช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมา ในวงเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 116,430 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 61,430.00 บาท 55,000.00 บาท 0.00 บาท 116,430.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 121430.00
ชื่อกิจกรรม :
การวิเคราะห์สารสำคัญ องค์ประกอบทางเคมีและความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดจากรวงผึ้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2564 - 31/08/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ชมัยพร  นิธิกาจณ์พานิช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพปภา  พิสิษฐ์กุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (๒ คน x 200 บาท/วัน x ๖๐ วัน) จำนวนเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 97,440 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 47,440.00 บาท 0.00 บาท 97,440.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 121440.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของรวงผึ้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2564 - 31/08/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มยุรา  ศรีกัลยานุกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.นงคราญ  พงศ์ตระกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานวาด  ศิลปวัฒนา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (2 คน x 200 บาท/วัน x 75 วัน) จำนวน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ ในวงเงิน 80,690 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 15,000.00 บาท 15,690.00 บาท 80,690.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 110690.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล