16596 : โครงการประชุมวิชาการเครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 (Thai Forest Ecological Research Network Conference;T-FERN#10)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/1/2564 15:48:52
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/12/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร จากทุกสถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2564 140,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. แหลมไทย  อาษานอก
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ (depletion of resources) การเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทั้งด้านโครงสร้างและหน้าที่ (degradation of ecosystem structure and function) ตลอดจนการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (loss of biodiversity) เป็นหัวข้อที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสำคัญมากในการที่จะดูแลรักษาระบบนิเวศต่าง ๆ ทั่วโลกให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เนื่องจากของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติภายในระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ โดยอาจต้องใช้เวลาเป็นสิบหรือร้อยปี จึงจะสามารถพิสูจน์ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้น การขยายเครือข่ายวิจัย (research network) และให้ความสำคัญการวิเคราะห์ข้อมูลในระยะยาว (long-term data) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ขององค์ประกอบทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในระบบนิเวศ (interaction between biotic and abiotic component of ecosystems) เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาชีพลักษณ์ (phenomena) ที่ต้องใช้ระยะเวลาศึกษาที่ค่อนข้างยาวนาน การรวมตัวกันของกลุ่มนักวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ในหลายหน่วยงาน ทั้งจากนักวิจัยที่มีพื้นที่แปลงถาวร หรือมีงานวิจัยที่ต่อเนื่องในพื้นที่อนุรักษ์ของประเทศ และรวมถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ที่พร้อมเข้ามาทำงานวิจัยด้านนิเวศวิทยาป่าไม้เพื่อตอบสนององค์ความรู้ของศาสตร์ด้านนี้ สำหรับการนำไปใช้จัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนต่อไป มีความคิดเห็นร่วมกันในการที่จะสร้างเครือข่ายภายใต้ชื่อว่า เครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย (Thai Forest Ecological Research Network, T-FERN) เพื่อเร่งศึกษาวิจัยให้เกิดความเข้าใจถึงกระบวนการทางระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของตัวระบบเอง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า (episodic or infrequent intervals) จากพื้นที่แปลงตัวอย่างถาวร เช่น การตอบสนองของระบบนิเวศป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกร้อน หรือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลสืบเนื่องจากภัยทางธรรมชาติ เป็นต้น รวมถึงนำความรู้ด้านนิเวศวิทยาเพื่อการประยุกต์ใช้ โดยเพื่อการฟื้นฟูป่า การจัดการสิ่งแวดล้อม และ การจัดการถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า ดังนั้น การมีเครือข่ายวิจัยดังกล่าวจะช่วยเพิ่มโอกาสติดตามความเปลี่ยนแปลงระหว่างระบบนิเวศทั้งในส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค และเชื่อมโยงไปสู่ระดับนานาชาติ ในการดำเนินงานในระยะแรกนั้น คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เสนอตัวเพื่อรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายสำหรับการดำเนินงานวิจัย และประสานกับหน่วยงานวิจัยอื่น ๆ โดยได้จัดการประชุมวิชาการนิเวศวิทยาป่าไม้ ขึ้นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม พ.ศ. 2555 เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการที่ได้จากงานวิจัยด้านนิเวศวิทยาป่าไม้จากหลากหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นการเร่งระดมความคิดต่อการสร้างเครือข่ายนิเวศงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ให้เป็นรูปธรรมและมีการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายสำหรับการศึกษาวิจัย ตลอดจนสร้างมาตรการการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงเครือข่ายภายในประเทศเข้ากับระดับนานาชาติต่อไป จากเหตุผลความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงร่วมกับศูนย์เครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการเครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 (Thai Forest Ecological Research Network Conference; T-FERN#10) ขึ้น เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นักวิจัยได้ตระหนักและ มีการปรับตัวเพื่อรองรับการวิจัยที่ต้องการความถูกต้องและแม่นยำสูงจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัยยุคปัจจุบัน รวมถึงเกิดการพัฒนาและสร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการให้เข้มแข็งระหว่างนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางขึ้น
2 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในเครือข่ายงาน ในการสร้างสรรค์งานวิจัยร่วมกัน
3 เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความ หรือข้อเสนอแนะต่อประเด็นข่าวร้อนด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อสังคม
4 เพื่อจัดประชุมสัมมนาวิชาการนิเวศวิทยาป่าไม้ ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากงานวิจัยระหว่างสมาชิกเครือข่าย และเป็นการขยายฐานของสมาชิกที่เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการประชุมวิชาการเครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 (Thai Forest Ecological Research Network Conference; T-FERN#10)
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
120 คน 120
KPI 2 : ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการประชุมวิชาการเครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 (Thai Forest Ecological Research Network Conference; T-FERN#10)
ชื่อกิจกรรม :
การประชุมวิชาการเครือข่ายนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 (Thai Forest Ecological Research Network Conference;T-FERN#10)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.แหลมไทย  อาษานอก (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อลาภ  คำโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา  พงษ์การัณยภาส (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา  มังกิตะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ประเจต  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์วรวุฒิ  งามพิบูลเวท (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนากร  ลัทธิ์ถีระสุวรรณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์สุมัย  หมายหมั้น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
2. ค่าอาหารเย็น จำนวน 120 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 120 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำเล่มสรุปการประชุมฯฉบับสมบูรณ์ จำนวน 120 เล่ม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 72,000 บาท
5. ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
132,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 132,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 140000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล