16586 : โครงการการพัฒนาวิธีการกลั่นและการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรอินทรีย์ชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/12/2563 14:03:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มประชาชนในพื้นที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (ทต.สันป่าเปา และทต.หนองแหย่ง อ.สันทราย เชียงใหม่) นักศึกษา นักเรียน เยาวชน ผู้สนใจ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ วิสาหกิจชุมชุน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นักรบ  นาคประสม
อาจารย์ ดร. ภานาถ  แสงเจริญรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.20 EN64 จำนวนแหล่งเรียนรู้ / ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ยูคาลิปตัสและตะไคร้หอมเป็นพืชที่เจริญเติบโตง่ายเป็นพืชสมุนไพรพบได้ทั่วไปในชุมชน โดยที่ใบอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย สามารถนำมาสกัดเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด (aromatherapy) ที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายตามศูนย์สุขภาพต่างๆในโรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์สุขภาพกึ่งรีสอร์ท มีงานวิจัยรายงานว่าน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัสมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังใช้ลดอาการปวดศีรษะจากความเหนื่อยล้า ลดอาการหลอดลมอักเสบ หวัด ไอ ไซนัส และอาการติดเชื้อในคอให้ทุเลาลงได้ ผสมกับน้ำมันตะไคร้หอม ฉีดไล่แมลง ยุง กำจัดรังแคบนหนังศีรษะ กำจัดหมัดสุนัข ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมันบน เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ยูคาลิปตัสสายพันธุ์ที่น้ำมันมีคุณภาพดีและมีสารออกฤทธิ์ในปริมาณสูง เช่น Eucalyptus globulus และ E. elaeophora ใช้มากทางการแพทย์ E. citriodora และ E. macarthurii ใช้มากใน อุตสาหกรรมน้ำหอมและสารแต่งกลิ่น ส่วนตะไคร้หอมตะไคร้หอม (Citronella grass) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีกลิ่นเฉพาะตัว นิยมนำมาใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยที่ใบของตะไคร้หอมอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีงานวิจัยต่างๆใช้สารสกัดจากตระไคร้หอมมีฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็ง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระนอกจากนั้นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมยังมีสรรพคุณทางยาและทางการแพทย์หลายประการซึ่งจากประโยชน์อันมากมายของตะไคร้หอม ดังนั้นการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัสและตะไคร้หอมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย ลดอันตรายจากการใช้สารเคมี และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติได้นำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยการรูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของ สบู่ น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ น้ำยาซักผ้า เครื่องสำอาง ยารักษาโรค ซึ่งในปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ต้องสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยให้ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ในปัจจุบันมีหลายวิธีการในการในการสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น การกลั่นโดยไมโครเวฟร่วม โดยวิธีนี้สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยออกมาได้รวดเร็วแต่มีข้อจำกัดในภาชนะบรรจุวัตถุดิบไม่เหมาะในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยในปริมาณมาก ความทนทานต่ำ และยังต้องระมัดระวังเรื่องการรั่วไหลของคลื่นไมโครเวฟ การสกัดด้วยน้ำและไอน้ำเป็นวิธีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม โดยใช้น้ำและไอน้ำเข้าไปทำละลายกับน้ำมันหอมระเหยออกจากพืช ซึ่งกลายเป็นไอควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวมีต้นทุนเครื่องสูงและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่เหมาะกับการใช้งานแบบชั่วคราวในชุมชนหรือครัวเรือน เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้วัสดุในครัวเรือนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่ง โดยใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนประกอบด้วย กระทะ หม้อ ชาม ผ้าขนหนู มาใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับมาประยุกต์ใช้ในครัวเรือนเพื่อกลั่นน้ำมันหอมระเหย ถึงแม้จะได้ปริมาณผลผลิตแลกำลังการผลิตต่ำก็ตาม จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับข้อมูลพื้นฐานของคณะผู้วิจัยในการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมด้วยคลื่นไมโครเวฟ” การวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ด้วยน้ำและไอน้ำ” ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2559 และการวิจัยเรื่อง “การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบยูคาลิปตัสโดยวิธีไมโครเวฟร่วม” ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2560 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มียุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ Organic University เป็นลำดับแรกโดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการในการเกษตรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นต้นแบบของการทำเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อไปในอนาคต นอกจานี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังสนับสนุนให้มีการนำแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลักดังนั้น การที่ราษฎรในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นนั้น สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่เกษตรกรทั้งหลายประการ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของการพัฒนากระบวนการกลั่นโดยการผลิตเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำต้นแบบเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบหลัก แล้วนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้นั้นมาทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร โลชั่นกันยุงและเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย ลดอันตรายจากการใช้สารเคมี และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค อีกทั้งยังพบว่าจากการสำรวจการสรุปผลความต้องการการขอรับบริการวิชาการแก่ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่ามีความต้องการในแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สบู่สมุนไพร โลชั่นกันยุง ในเขต ทต.สันป่าเปา และ ทต.หนองแหย่ง อ.สันทราย เชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ในการกลั่นและการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรอินทรีย์ในชุมชน และการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรหรือสเปรย์สมุนไพรกันยุง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร หรือสเปรย์สมุนไพรกันยุง
KPI 1 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ในการกลั่นและการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรอินทรีย์ในชุมชน และการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรหรือสเปรย์สมุนไพรกันยุง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร หรือสเปรย์สมุนไพรกันยุง
ชื่อกิจกรรม :
การจัดฝึกอบรมความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรหรือสเปรย์สมุนไพรกันยุง
1. การสำรวจความต้องการของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันหอมระเหยโดยใช้เครื่องกลั่นไอน้ำและประยุกต์ใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนทำเครื่องกลั่น
3. การถ่ายทอดความรู้การการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์
4. การทำรายงานและประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,5000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด 148 x 210 มิลลิเมตร (20 หน้า) จำนวน 50 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ตะไคร้อินทรีย์ น้ำมันตะไคร้ น้ำมันยูคาลิปตัส ฯลฯ เป็นเงิน 6,500 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถุงมือวิทยาศาสตร์ น้ำกลั่น เอทิลแอลกอฮอล์ การบูร หน้ากากอนามัย ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น บรรจุภัณฑ์ แก้ว ขวดสเปรย์ ผ้าขาวบาง ถุงพลาสติก ผ้าขนหนู ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆละ 300 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล