16584 : โครงการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/12/2563 13:40:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์และเครือข่ายเกษตรกร กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผักผลไม้อินทรีย์ ผู้สนใจ นักศึกษา ฯลฯ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา  นาคประสม
อาจารย์ ดร. จิตราพร  งามพีระพงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.20 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.20 EN64 จำนวนแหล่งเรียนรู้ / ฐานเรียนรู้ (KAP & KP)
กลยุทธ์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์เมล็ดพันธุ์ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศได้เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือ สนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมได้พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลและมีโอกาสในการขยายตลาด เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าพืชสมุนไพร เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร นอกจากคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจในการยอมรับและบริโภคสินค้า องค์ประกอบสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ได้แก่ วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ ในการแปรรูป ผู้ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการเงินทุนที่ใช้ในการประกอบการ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้คงที่ก่อนถึงมือผู้บริโภค เนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้มียุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ Organic University เป็นลำดับแรกโดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการในการเกษตรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เป็นต้นแบบของการทำเกษตรอินทรีย์ที่ดีต่อไปในอนาคต นอกจานี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังสนับสนุนให้มีการนำแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลักดังนั้น การที่ราษฎรในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นนั้น สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่เกษตรกรทั้งหลายประการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และเป็นแหล่งฝึกอบรมให้กับกลุ่มผู้สนใจ กลุ่มชุมชน และกลุ่มเกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและสามารถบริหารจัดการการแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปผลผลิตเกษตร เพื่อยกระดับสินค้าชุมชนให้สามารถเข้าสู่ตลาด และการแข่งขันได้ อีกยังเป็นโครงการฯ ต่อเนื่องของปี 2560-2563 โครงการแปรรูปผักผลไม้อินทรีย์และสมุนไพร ซึ่งผลการดำเนินการเป็นที่น่าพอใจมาก เนื่องจากมีกลุ่มเกษตรกรและนักศึกษาให้ความสนใจเกี่ยวกับการแปรรูปน้ำผลไม้อินทรีย์พร้อมดื่ม รวมถึงมีความต้องการทราบกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้อินทรีย์และพืชผักสมุนไพรอื่นๆ ที่สามารถทำได้ง่ายในระดับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนอีกด้วย อีกทั้งยังพบว่าจากการสำรวจการสรุปผลความต้องการการขอรับบริการวิชาการแก่ชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่ามีความต้องการในแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าชุมชน (การแปรรูปเห็ด พืชอินทรีย์ ข้าวกล้องอินทรีย์) เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและเป็นสินค้าของกลุ่มเทศบาลแม่โจ้และเทศบาลตำบลป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะทางวิชาการ วิชาชีพ และช่องทางการตลาดของสินค้าชุมชน
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
เพื่อสนับสนุนให้มีการนำแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทโดยสามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาชีพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะทางวิชาการ วิชาชีพ และช่องทางการตลาดของสินค้าชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
การจัดฝึกอบรมความรู้ด้านการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ในท้องถิ่น
1. การสำรวจพืชอินทรีย์ที่มีอยู่ในชุมชน
2. การให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. การถ่ายทอดเทคนิคกระบวนการผลิต การแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. การทำรายงานและประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,5000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด 148 x 210 มิลลิเมตร (20 หน้า) จำนวน 50 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆละ 300 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ผักและผลไม้อินทรีย์ สมุนไพรอินทรีย์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา เทปกาว ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถุงมือวิทยาศาสตร์ เพคติน กรดซิตริก แคลเซียมคลอไรด์ โซเดียวคลอไรด์ น้ำกลั่น หน้ากากอนามัย ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น บรรจุภัณฑ์ แก้ว ผ้าขาวบาง ถุงพลาสติก ผ้าขนหนู ฯลฯ เป็นเงิน 6,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 31,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล