16472 : ฐานเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโพนิคส์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/11/2563 14:13:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งานบริการวิชาการ 2564 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ  ตันโช
นาย ไพบูลย์  โพธิ์ทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ที่มา ปัจจุบันกระแสการบริโภคผักปลอดสารพิษและผักอินทรีย์ กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ภาคการผลิตในดินปกติไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นได้ อาจเนื่องมาจากการที่พื้นที่บางแห่งมีสภาพของดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช หรือมีพื้นที่จำกัดเนื่องจากอยู่ในบริเวณที่เป็นชุมชนเมือง การปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิคส์หรือการปลูกพืชไร้ดิน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ โดยพืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหารต่างๆ ที่ละลายลงในน้ำเพื่อทดแทนธาตุอาหารจากดิน สามารถควบคุมปริมาณธาตุอาหารและสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมกับพืชได้ ทำให้ได้ผลผลิตสม่ำเสมอ และสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมีการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่มากับดินได้อีกด้วย และการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ มีข้อได้เปรียบกว่าการปลูกพืชในดินทั่วไป คือ สามารถควบคุมการผลิตได้ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลา และได้ผลผลิตที่สะอาด ปลอดภัย รสชาติดี และได้ราคาต่อหน่วยสูงกว่าผักทั่วไปหลายเท่า ทำรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรมากกว่าการปลูกผักในระบบดั้งเดิม ซึ่งเกษตรกรบางรายที่ปลูกผักสลัด พริกหวาน มะเขือเทศ และแตงเมลอนโดยระบบการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ มีรายได้มากกว่าล้านบาท/ปี แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ เกษตรกร หน่วยงาน หรือผู้ที่สนใจยังขาดความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการผลิต และต้องลงทุนสูง จึงทำให้ระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิคส์ไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิตผักปลอดสารพิษและผักอินทรีย์ออกสู่ตลาดอย่างครบวงจร การปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิคส์และปลูกผักไฮโดรโพนิคส์อินทรีย์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรและผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะในสังคมเมืองใหญ่ในปัจจุบัน สภาพปัญหา / ความต้องการ ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ มีความสนใจปลูกพืชในระบบไม่ใช้ดิน แต่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการผลิต และต้องลงทุนสูง จึงทำให้การปลูกพืชในระบบไม่ใช้ดินไม่แพร่หลาย ซึ่งปัญหานี้ทางฐานเรียนรู้ฯ ได้ทำการวิจัยและคิดค้นธาตุอาหารพืช รวมถึงระบบการปลูกพืชในระบบไม่ใช้ดิน(ไฮโดรโพนิคส์) ที่ใช้ต้นทุนต่ำ การจัดการไม่ยุ่งยาก และมุ่งเน้นให้บุคคลทั่วไปที่ถึงแม้ว่าไม่มีความรู้พื้นฐานการปลูกผักไฮโดรโพนิคส์ ก็สามารถปลูกผักไว้รับประทานภายในบ้านได้ ซึ่งนอกจากโรงเรือนปลูกผักไฮโดรโพนิคส์ขนาดใหญ่แล้ว ทางฐานเรียนรู้ฯ ยังได้ออกแบบและจัดเตรียมชุดปลูกผักไฮโดรโพนิคส์หลังบ้านที่ดัดแปลงใช้วัสดุทั่วไปที่มีราคาถูกมาจัดทำระบบปลูก ทำให้การปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิคส์ไม่เป็นเรื่องยาก และใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า เจ้าหน้าที่ เกษตรกร หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 วัน ก็สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้กลับไปปฏิบัติที่บ้าน หรือหน่วยงานของตนได้ ความเร่งด่วน สภาวการณ์เพิ่มขึ้นของประชากรโลก การขยายเขตพื้นที่เมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะขาดแคลนขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูกที่ปลอดภัยจากสารพิษเป็นสำคัญ แนวทางการดำเนินงาน ระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิคส์) มีการให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่ปลูก โดยมุ้งเน้นการใช้ สารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์เข้ามาใช้ทดแทนสารละลายธาตุอาหารพืชเคมีให้กับพืช โดยสามารถควบคุมในด้านปริมาณและคุณภาพของผลผลิต สามารถผลิตผักปลอดสารพิษได้แม้ในพื้นที่ที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์หรือมีพื้นที่จำกัด โดยมีการพัฒนาระบบการปลูกพืชไม่ใช้ดินที่มีต้นทุนต่ำ การจัดการไม่ยุ่งยาก ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้และนำไปเป็นเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับการประยุกต์ใช้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยระบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิคส์) ที่ใช้ต้นทุนต่ำ และระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย ให้กับ นักศึกษา เกษตรกร หน่วยงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาวิจัย ของ นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรยุคใหม่เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้การปลูกพืชผักไฮโดรโพนิคส์ที่เหมาะสำหรับการปลูกพืช เพื่อบริการวิชาการแก่ผู้สนใจ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 20 30 30 ร้อยละ 90
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 5 : จำนวนแหล่งเรียนรู้การปลูกพืชโดนระบบไม่ใช้ดินที่ใช้ต้นทุนต่ำและพัฒนาองค์ความรู้การปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 6 : ร้อยละของผู้เข้ามาศึกษาดูงาน ภายในฐาน แล้วมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิคส์เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : จำนวนผู้รับบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 150 150 คน 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้การปลูกพืชผักไฮโดรโพนิคส์ที่เหมาะสำหรับการปลูกพืช เพื่อบริการวิชาการแก่ผู้สนใจ
ชื่อกิจกรรม :
สร้างสื่อประกอบการให้บริการวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2563 - 15/01/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ  ตันโช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับองค์ความรู้ ขนาด เอ 4 (2 หน้า) จำนวน 2,000 แผ่นๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4000.00
ชื่อกิจกรรม :
สร้างแปลงปลูกพืช ภายในโรงเรือนต้นแบบเพื่อเป็นจุดสาธิต ศึกษาดูงาน บริการวิชาการแก่ผู้เข้าเยี่ยมชม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ  ตันโช (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น สแลนสีดำ, ถุงมือยาง, พลาสติกโรงเรือน,ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ ,สารละลายธาตุอาหารพืชอินทรีย์ ABC ,เมล็ดพันธุ์ และฟองน้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 56,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ, แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ,หมึกถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 31,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 96,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 96,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 96000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ทำให้เป็นอุปสรรคในการเปิดรับคณะที่ต้องการเข้ามาศึกษาดูงาน ณ จุดบริการวิชาการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
โครงการได้เปิดบริการวิชาการและช่องทางการศึกษาเรียนรู้ ให้คำแนะนำผ่านระบบโทรศัพท์ และช่องทางบนเพล็ตเฟสบุ๊ค
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล