16438 : โครงการ ไผ่เพื่อการศึกษาและการค้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/3/2564 9:24:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) (อ้างอิงจาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html ) พระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” (อ้างอิงจาก : http://202.29.80.110/ความเป็นมาของโครงการ/) โครงการไผ่เพื่อการศึกษาและการค้ามหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร สอดคล้องกับพระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้ร่วมมือกับชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคใต้ จัดโครงการไผ่เพื่อน้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมชนิดพันธุ์ไผ่เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา วิจัยและการขยายพันธุ์ ซึ่งสอดคล้องกับพระราโชวาทในการอนุรักษ์พันธุ์พืช อย่างไรก็ดี ไผ่เป็นพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์มานาน มีการใช้ประโยชน์จากไผ่ในหลายรูปแบบทั่วโลกมีไผ่ประมาณ 75 สกุล 1,250 ชนิด ขณะที่กรมป่าไม้ระบุว่าไผ่ที่พบในประเทศไทยมีมากถึง 60 ชนิด ที่รู้จักกันดีเช่น ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ซางหม่น ซางนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ตากวาง และ ไผ่ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำไผ่ชนิดพันธุ์ต่างประเทศที่สามารถเติบโตในภูมิอากาศของประเทศไทยได้มาปลูกเป็นไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ยักษ์ปักกิ่ง ไผ่กิมซุง ไผ่เก้าดาว ไผ่หลอด เป็นต้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดให้การขับเคลื่อนเรื่องไผ่เป็นพืชในยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ได้มีการปลูกเพื่อรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตามการรวบรวมพันธุ์ไผ่ชนิดหน่อหวานรับประทานดิบ ไม่มีรสขม เพราะไม่มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) เหมาะกับ กลุ่มคนรักสุขภาพ หน่อไผ่หวานทานดิบยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูทั้งอาหารคาว – หวาน ประเทศไทยมีชนิดหน่อไผ่หวานทานดิบได้อยู่ราว 6 ชนิด เช่น ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ไผ่รวกหวาน ไผ่หวานเพชรล้านนา ไผ่หวานเพชรภูเรือ ไผ่หวานยักษ์ยอดทอง ไผ่รวกหวานเพชรเด่นชัย ข้อมูลของไผ่หวานเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก ยกตัวอย่าง เช่น ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง มีต้นกำเนิดจากจังหวัดแพร่กำลังเป็นที่นิยม ราคาในท้องตลาดทั่วไปจำหน่ายหน่อไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งในราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท ด้านการจัดการแปลงใช้พื้นที่น้อย เพราะสามารถปลูกระยะชิดได้ทำให้การจัดการง่าย ระยะที่นิยมปลูกคือ 3x3 หรือ 3x4 หรือ 4x4 ที่สำคัญสามารถตอนกิ่งขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยปรกติหลังจากปลูก 18-24 เดือน (ต้นกล้าจากเหง้า) สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่งได้ราคากิ่งตอนของไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งเบอร์ 9 ราคา 400-500 บาท (ราคากิ่งพันธุ์จากเหง้า 1,000 บาท) อย่างไรก็ดีหากขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปลูกกล้าที่เพาะเมล็ดสามารถมีอายุได้ราว 60 ขึ้นไป อีกทั้ง ยังสามารถคัดสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีและขยายพันธุ์จากเหง้าเพื่อการค้าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการรวบรวมสายพันธุ์ไผ่ไว้ในโครงการสามารถต่อยอดงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และเป็นแหล่งวิจัยได้อีกในหลายประเด็น เช่น ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ไผ่หวานออกหน่อนอกฤดู ศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่หวานทานหน่อดิบในพื้นที่ดินทราย ศึกษาคุณค่าทางอาหารของหน่อไผ่หวานแต่ละชนิด การแปรรูปหน่อไผ่หวานทานดิบ การคัดสายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช
2.เพื่อฝึกอบรมการจัดการสวนไผ่อย่างบูรณาการ
3.เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับไผ่
4.เพื่อปลูกรวบรวมชนิดไผ่หน่อหวานทานดิบ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ไผ่เพื่อการศึกษาและการค้า
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมคลิปวีดีโอ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : รายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1000 บาท 1000
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : กิจกรรมปลูกรวบรวมพันธุ์ไผ่หน่อหวานทานดิบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชนิด 2
KPI 9 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ไผ่เพื่อการศึกษาและการค้า
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมจัดทำสื่อวีดีทัศน์องค์ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อวีดีโอทัศน์ เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 9,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9600.00
ชื่อกิจกรรม :
ปลูกรวบรวมชนิดไผ่หน่อหวานทานดิบ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาปรับพื้นที่และปลูกไผ่ จำนวน 1.5 ไร่ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมากำจัดวัชพืชและให้ปุ๋ย จำนวน 2 ครั้ง ๆละ 1,000 เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาขึ้นกองปุ๋ยหมัก จำนวน 11 กองๆละ 200 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท 0.00 บาท 2,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร ได้แก่
- ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 100 กระสอบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่ากล้าไผ่บงหวานเพาะเมล็ด จำนวน 100 ต้นๆละ 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่ากล้าไผ่รวกหวานภูกระดึง จำนวน 44 ต้นๆละ 300 บาท เป็นเงิน 13,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 33,200.00 บาท 0.00 บาท 33,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากประเทศไทย และทุกภูมิประเทศทั่วโลกได้ประสบกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 (COVID-19) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา อีกทั้งยังทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจบ้านเมืองประสบปัญหาขั้นวิกฤต มีการปรับตัวในการดำเนินชีวิต การเดินทาง การร่วมกลุ่ม และอื่นๆ เพราะมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลักหมื่นคนต่อวัน มีผู้เสียชีวิตรายวันมากกว่า 100 คน ต่อวัน ประกอบเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลายพันธุ์ ซึ่งทำให้ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 – เดือนสิงหาคม 2564 ไม่สามารถดำเนินการจัดฝึกอบรมตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้ได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ได้ทำการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานใหม่ โดยได้ขอยกเลิกการจัดฝึกอบรมและเปลี่ยนเป็นการจัดทำสื่อวีดีทัศน์องค์ความรู้ เพื่อนำองค์ความรู้ในฐานเรียนรู้ไปเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ที่ ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์คณะและมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล