16432 : โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจเมืองใต้โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.ชรินทร ศรีวิฑูรย์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/12/2563 9:49:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณภายใต้โครงการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ชรินทร  ศรีวิฑูรย์
อาจารย์ ดร. จักรกฤช  ณ นคร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 64 MJU 1.2 มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Organic farm & fruit)
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.2 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ 64 MJU 1.2.2 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University Strategy)
ตัวชี้วัด 64 MJU 1.4 ความสำเร็จของการพัฒนา Product Champion (ตลอด Supply Chain)
กลยุทธ์ 64 MJU 1.2.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต้นแบบที่มีความเป็นเลิศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.7 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.1.13 การสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

"ความเจริญของประเทศ ต้องอาศัยความเจริญของภาคเกษตรเป็นสำคัญ" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงถึงความสำคัญของภาคเกษตรที่มีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เกษตรกรรมเป็นอาชีพพื้นฐานของคนในสังคมไทยทุกยุคทุกสมัย ซึ่งแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ การเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่าง ๆ รวมทั้งการค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการของตลาด ส่วนการค้นคว้าวิจัยหลังการผลิตคือ การดูเรื่องความสอดคล้องของตลาด เรื่องคุณภาพของผลผลิต หรือทำอย่างไรจึงจะให้เกษตรกรได้มีความรู้เบื้องต้นในด้านการบัญชี ที่พอจะทำธุรกิจแบบพึ่งตนเองได้ สำหรับในเรื่องนี้ทรงเห็นว่า การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยได้เป็นอย่างดี ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้น ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในระยะยาว พระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะให้เกษตรกรได้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสภาพชีวิตที่มีความสุข แต่สิ่งที่พระองค์พระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและหาเลี้ยงชีพได้ ใช้ชีวิตได้อย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มีใจความว่า “ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดความมั่นคงพอควรแล้วจึงค่อยเสริมสร้างความสามัคคีให้สูงขึ้นตามลำดับต่อไป การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาด ล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์” (พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517) และเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาในระยะยาว จึงต้องตระหนักถึงกระบวนการพัฒนา เนื่องจากกระบวนการพัฒนาเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง การพัฒนาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับลำดับ/ขั้นตอน และความเชื่อมโยง เพราะฉะนั้นวงจรการพัฒนาจึงประกอบด้วยขั้นสร้างการรับรู้ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นประเมินค่าหรือประเมินผล ขั้นทารทลอง และขั้นยอมรับ เช่นเดียวกับการพัฒนาประเทศซึ่งจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอน ต้องสร้างความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เสียก่อน เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยเสริมความเจริญและฐานทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืน และจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดีสังคมไม่มีปัญหาการพัฒนาก็จะยั่งยืน ปัจจุบันมีการกล่าวถึง “เกษตรปลอดภัย” กันมากมาย อาจเป็นเพราะประชากรโลกมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีประเทศที่ประชากรมีรายได้ปานกลางมาก เลยเกิดการรักตัวกลัวตายมาก จึงมองไปที่อาหารปลอดภัย (Food Safety) การขยายตัวของภาคการผลิตเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสาคัญกับกระบวนการผลิตว่าจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงต้องลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ผลผลิตที่ผู้บริโภคเลือกซื้อจะต้องได้คุณภาพและมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีความใส่ใจในสุขภาพประเด็นสารพิษตกค้างในอาหาร ระบบการผลิตที่เรียกว่า “เกษตรปลอดภัย” ความหมายของ “เกษตรปลอดภัย” คือระบบการเกษตรที่จะให้ผลิตผลที่ปลอดภัยจากสารพิษ หรือปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารและโลหะที่จะมีผลต่อผู้บริโภค นอกจากนั้นระบบการผลิตนั้นจะต้องปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม และเกษตรกรผู้ผลิตด้วย ได้แก่ “เกษตรธรรมชาติ” ที่เคยเฟื่องฟูในอดีต คือการเกษตรที่ใช้ปัจจัยที่มีอยู่ในธรรมชาติ เลี้ยงและดูแลผลิตผลในไร่นา โดยไม่มีสารสังเคราะห์ใด ๆ มาใช้เลย ปัจจุบันจะเหลือมากน้อยเพียงใดยากที่จะประเมินได้ “เกษตรอินทรีย์” คือระบบเกษตรทางเลือกระบบหนึ่งที่มองถึงอาหารหรือผลิตผลที่ปลอดภัย และในขบวนการผลิตจะต้องมีผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ข้อกำหนดที่สำคัญของเกษตรอินทรีย์ คือห้ามใช้สารเคมีและสารสังเคราะห์ทุกชนิดในการผลิต และพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จะต้องปลอดจากการปนเปื้อนของดิน น้ำ และอากาศ จากรายละเอียดดังกล่าวหลายคนยังอาจสับสน ในเรื่องของการห้ามใช้สารเคมี และสารสังเคราะห์ ยกเว้นสารอินทรีย์เท่านั้น ต้องปลอดจากการปนเปื้อนทางดิน น้ำ อากาศ คือในดินที่มีการใช้สารเคมีมานานจนในดินมีการสะสมมาก การปรับเปลี่ยนเป็นระบบเกษตรอินทรีย์จึงมีระยะการเปลี่ยนแปลง (Transition period) ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสารตกค้าง และชนิดพืช อาจเป็น 1 ปี หรือยาวถึง 5 ปีก็ได้ การปนเปื้อนทางน้ำ หมายถึง น้ำที่ใช้ในการผลิตพืชจะต้องปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมีทุกชนิด เช่นน้ำที่หลากจากนาที่มีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีผ่านแปลงเกษตรอินทรีย์ ก็จะทำให้นาเกษตรอินทรีย์ไม่ผ่านการรับรอง การปนเปื้อนทางอากาศ แปลงเกษตรอินทรีย์ที่ทำอยู่ติดถนนไอเสียจากรถยนต์ที่มีโลหะหนัก ก็อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนทางอากาศในระบบการผลิต พื้นที่เกษตรอินทรีย์นั้นก็ไม่ผ่านการรับรอง จากรายละเอียดดังกล่าว กล่าวได้ว่าการทำการเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก จะต้องมีการกำหนดโซน (Zoning) ที่ชัดเจนและทำเป็นกลุ่มจึงจะสำเร็จและยั่งยืน การที่นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ผลิต กระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้ค้า จะต้องคำนึงถึงการกำหนด “เกษตรอินทรีย์” ขึ้นเป็นวาระแห่งชาตินั้นจะมีความเป็นไปได้หรือเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติหรือไม่ ปัจจุบันกระแสการดำเนินการตามผู้นำกำลังระบาดในยุทธศาสตร์ประเทศ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด ใครไม่มีแผนเกษตรอินทรีย์ จะมีปัญหาด้านการจัดการปนเปื้อน เกษตรอินทรีย์แม้จะดีแต่ข้อเท็จจริงการผลิตทั้งประเทศหรือผลิตเป็นส่วนใหญ่เพื่อนำรายได้เข้าประเทศเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ยังไม่สายที่จะปรับยุทธศาสตร์การผลิตพืชหรือการเกษตรปลอดภัย เป็นเกษตรดีที่เหมาะสม ระบบเกษตรปลอดภัย อีกระบบหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พัฒนาและส่งเสริมให้เป็นระบบมาตรฐานของชาติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ และการยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง ระบบนี้คือ “ระบบเกษตรดีที่เหมาะสม” ระบบนี้สามารถผลิตได้ทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง ส้มจี๊ด หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ส้มมะปี๊ด เป็นพรรณไม้ในกลุ่มเดียวกับมะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน แต่ส้มจี๊ดมีทรงต้นสวยงาม จึงมักนิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้กระถางประดับ อีกทั้งยังให้ผลดกตลอดปี ผลแก่มีรสเปรี้ยวจัดใช้รับประทานแทนมะนาวได้ ลักษณะทั่วไปของส้มจี๊ด คือ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1.5-3 เมตร แตกแขนงเป็นพุ่มแน่น ใบรูปไข่กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ผิวใบเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 เซนติเมตร ผิวบางสีเขียว กลิ่นหอม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม เนื้อมีรสเปรี้ยวจัด มีเมล็ด 1-3 เมล็ด ถึงแม้ส้มจี๊ดจะมีผลขนาดเล็ก แต่ว่าผลส้มจี๊ดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทั้งผล ตั้งแต่เปลือก น้ำคั้น จนถึงกากส้มล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของส้มจี๊ดนั้น พบว่า ในส่วนของเปลือกและกากส้มจี๊ดอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร โดยมีปริมาณใยอาหารรวมร้อยละ 84.25 ซึ่งแบ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำร้อยละ 48.49 และใยอาหารที่ละลายน้ำร้อยละ 35.76 ใยอาหารเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สารอาหารแต่ก็มีบทบาทสำคัญในร่างกาย โดยใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เพิ่มปริมาณอุจจาระ เป็นกากอาหารช่วยให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ และช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนตัวเพื่อขับกากอาหารและสารพิษที่ร่างกายไม่ต้องการ จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ส่วนใยอาหารที่ละลายน้ำนั้น สามารถรวมตัวกับน้ำในปริมาณมากและเพิ่มความหนืดให้กับอาหาร เมื่ออยู่ในกระเพาะอาหารจึงช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน เมื่อเคลื่อนตัวไปอยู่ในลำไส้เล็ก ใยอาหารซึ่งมีความหนืดจึงช่วยเคลือบผนังลำไส้ให้หนาขึ้น ทำให้การดูดซึมอาหารที่มีประจุช้าลง เช่น การดูดซึมน้ำตาล ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงแบบเฉียบพลัน และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและขจัดพิษโลหะบางชนิดได้ นอกจากในส่วนของเปลือกและกากแล้ว น้ำส้มจี๊ดซึ่งมีรสเปรี้ยวยังมีปริมาณวิตามินซีสูงถึงร้อยละ 32.16 ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณวิตามินซีในมะนาว พบว่า น้ำส้มจี๊ดมีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าน้ำมะนาวประมาณร้อยละ 10 และยังมีกรดอินทรีย์หลายชนิดเป็นองค์ประกอบอยู่ นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ส้มจี๊ดยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย โดยน้ำคั้นส้มจี๊ดผสมเกลือเล็กน้อย สามารถใช้จิบแก้ไอ ขับเสมหะได้ ส่วนผลแก่นำไปดองเกลือและทำให้แห้งเก็บไว้อมแก้เจ็บคอ เปลือกผลดิบยังสามารถใช้เป็นยาขับลมได้อีกด้วย สำหรับการใช้ประโยชน์ในทางอาหารนั้น นอกจากการใช้น้ำคั้นแทนน้ำมะนาวในการปรุงอาหารแล้ว ส้มจี๊ดยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลายชนิด ได้แก่ ส้มจี๊ดกวน โดยใช้ส่วนของเปลือกและกากส้มนำมาเคล้าเกลือ หรือต้มกับน้ำเกลือแล้วล้างเอาเกลือออกเพื่อลดความขมของเปลือก จากนั้นนำไปปั่นหรือสับให้ละเอียด กวนด้วยไฟอ่อนๆ ผสมกับน้ำตาล และน้ำคั้นส้มจี๊ดเพื่อปรุงรส กวนจนเหนียว ร่อน ไม่ติดกระทะ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ส้มจี๊ดกวนรสอร่อย เปรี้ยวๆ หวานๆ หอมๆ ไว้รับประทานเล่น หรืออาจจะกวนไม่ให้เหนียวมาก เก็บไว้เป็นแยมทาขนมปังก็อร่อยไม่แพ้มาร์มาเลดส้มที่ขายในท้องตลาดเลยทีเดียว ผลิตภัณฑ์ตัวต่อมา ได้แก่ ส้มจี๊ดเชื่อมอบแห้งปรุงรส โดยนำส้มจี๊ดผ่าครึ่งลูก คั้นเอาน้ำออก นำส่วนเปลือกและกากที่ได้ต้มกับน้ำเกลือเพื่อลดความขม ล้างเกลือออก แล้วนำมาเชื่อมในน้ำเชื่อม หรืออาจจะหั่นเป็นเส้นแล้วนำมาเชื่อมก็ได้ จากนั้นนำขึ้นมาพักให้สะเด็ดน้ำเชื่อมแล้วอบด้วยตู้อบลมร้อนเพื่อให้ผิวนอกแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำตาล เกลือ และพริกป่น ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ส้มจี๊ดเชื่อมอบแห้งปรุงรส หรือที่เรียกกันว่า ส้มจี๊ดหยีนั่นเอง ในส่วนของน้ำส้มจี๊ด นอกจากจะใช้ในการปรุงอาหารแทนมะนาวแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น น้ำส้มจี๊ดผสมน้ำเชื่อมหรือน้ำผึ้งเติมน้ำแข็งให้เย็นจัด ใช้ดื่มแก้กระหายยามอากาศร้อน หรืออาจจะผสมโซดาเล็กน้อยก็เปรี้ยวซ่าดื่มชื่นใจคลายร้อนได้เช่นกัน หรือหากไม่ต้องการแปรรูป เปลือกส้มจี๊ดของผลห่าม สามารถนำมารับประทานแกล้มกับน้ำพริก ซึ่งจะได้ทั้งรสชาติความอร่อย กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่ผิวส้ม ได้รับใยอาหารช่วยลดอาการท้องผูก และยังช่วยไม่ให้ท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจาก มีสรรพคุณเป็นยาขับลม นอกจากการแปรรูปที่กล่าวมาข้างต้น โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจเมืองใต้โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวทางการดำเนินการเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ให้กับส้มจี๊ด โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไอศครีมส้มจี๊ด สามารถนำไปขายให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกันได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ทำการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน แต่ในปัจจุบันทั้งราคายางพาราและปาล์มน้ำมันมีราคาต่ำ การส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรเชิงคู่โดยการปลูกพืชอื่นเป็นพืชเสริม และมีการแปรรูปผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตมีปริมาณมาก ก็สามารถช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรได้ และสืบเนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอละแมมีเกษตรกรที่ทำการปลูกส้มจี๊ดเป็นพื้นเศรษฐกิจอย่างหนึ่งในที่ผ่าน มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. เป็นมาตรฐานที่จัดทาขึ้นโดยคณะอนุกรรมการมาตรฐาน ของ มกท. ตามแนวทางมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) โดยการรับรองของสมัชชาสมาชิก มกท. มาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงอีกหลายครั้ง ปัจจุบัน มกท. มีมาตรฐานครอบคลุมในเรื่องการผลิตพืชอินทรีย์ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ การเก็บผลิตผลจากธรรมชาติ การผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ รายการอาหารอินทรีย์ การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งทาให้ มกท. สามารถให้บริการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตในระดับฟาร์ม การนำผลิตผลจากฟาร์มมาแปรรูปในโรงงาน และจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ที่มีการปลูกส้มจี๊ดในพื้นที่ที่ผ่านมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์สากล (IFOAM) ที่ดี สามารถผลักดันเกษตรกรในพื้นที่และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต้นแบบที่มีความเป็นเลิศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้เป็นเกษตรกรผู้ผลิตตามระบบมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์สากล (IFOAM) ได้ในอนาคต ดังนั้นโครงการฯ จึงจัดให้มีการฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากส้มจี๊ดคือการทำไอศครีมส้มจี๊ดให้กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้สามารถใช้ผลไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ชนิดอื่นได้ตามฤดูกาล เช่น มัลเบอร์รี่หรือเสาวรส เป็นต้น และเพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปมีองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (Organic farm & fruit) มีความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต้นแบบที่มีความเป็นเลิศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาให้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ และเพื่อการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชอินทรีย์ ไปใช้เป็นแนวทางในการทำการเกษตรที่สามารถพึ่งตนเองและหาเลี้ยงชีพได้โดยใช้ชีวิตได้อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง”
เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนจากการให้บริการวิชาการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ต้นแบบโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ไอศครีมผลไม้
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50000 บาท 50000
KPI 2 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผลิตภัณฑ์ไอศครีมผลไม้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชนิด 1
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมเมื่ออบรมแล้วจะเป็นผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 6 : - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจอินทรีย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : - ร้อยละของความเป็นไปได้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนจากการรับบริการวิชาการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลิตภัณฑ์ไอศครีมผลไม้
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไอศครีมผลไม้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2564 - 31/03/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ชรินทร  ศรีวิฑูรย์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.จักรกฤช  ณ นคร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 5,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คนๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,600.00 บาท 0.00 บาท 13,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 คน 3 ช.ม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท ปฏิบัติ จำนวน 3 คนๆ ละ 2 วันๆ ละ 4 ช.ม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 คนๆ ละ 1 วันๆ ละ 3 ช.ม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท ปฏิบัติ จำนวน 1 คนๆ ละ 2 วันๆ ละ 4 ช.ม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆ ละ 6 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท


ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท 0.00 บาท 15,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร กระดาษพรุ๊ป ปากกาเมจิก กระดาษ A4 ปากกา แฟ้มเอกสาร กรรไกร คลิปบอร์ด ฯลฯ เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 2,300 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ผลไม้อินทรีย์ตามฤดูกาล ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น น้ำตาล เกลือ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ เป็นเงิน 5,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,800.00 บาท 0.00 บาท 20,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับวัตถุดิบที่ใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ผู้จัดทำโครงการได้เลือกวางแผนไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เลือกใช้วัตถุดิบที่ใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาได้ตามฤดูกาลทดแทน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล