16431 : โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกวงศ์ขิงที่เป็นอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนทุเรียน จังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/2/2564 7:41:16
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
12/01/2564  ถึง  30/09/2564
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 2564 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ MJU64 : 4. การบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
เป้าประสงค์ MJU64 : 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และสร้างทักษะวิชาชีพ
ตัวชี้วัด 4.1.1 ร้อยละความสำเร็จของกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่เสริมสร้างทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เกษตรกรรมเป็นรากฐานของมนุษยชาติ การเกษตรกรรมมีความสำคัญดังนี้ 1) การเกษตรก่อให้เกิดปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 2) การเกษตรเป็นฐานรากทำให้เกิดอาชีพอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ อาชีพค้าขาย โรงงานอุตสาหกรรมเกษตร การคมนาคมและการขนส่ง เป็นต้น 3) สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับประเทศ 4) การเกษตรช่วยให้ประชาชนมีงานทำตลอดทั้งปี 5) การเกษตรเป็นการใช้ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ 6) การเกษตรช่วยทำให้เกิดความเพลิดเพลินและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกพืชผักสวนครัวในชุมชน เป็นต้น ในการทำการเกษตรของเกษตรกร ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรคือ ราคาปัจจัยการผลิต ซึ่งมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผลผลิตที่เกษตรกรได้รับยังมีราคาไม่แน่นอน เกษตรกรจึงต้องมีการวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องใช้วิธีการผลิตที่ลดต้นทุน ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาคุณภาพของผลผลิตด้วย ในการทำการเกษตร เกษตรส่วนใหญ่ยังมีต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องจากเกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยและต้นแม่พันธุ์จากตลาด หากเกษตรกรมีการปลูกพืชแบบผสมผสานหรือปลูกพืชแซมในพื้นที่เกษตร เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนยางพารา จะช่วยให้เพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเกษตรมากยิ่งขึ้น และใช้พื้นที่ดินทำการเกษตรอย่างคุ้มต่อการลงทุน ระบบเกษตรผสมผสานเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตร แบบยั่งยืน จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ 2) ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต ในการดำเนินระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว 3) ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช ในการดำเนินกิจกรรมการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะมีความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดของศัตรูพืชขึ้น 4) ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน 5) ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ มีพืชพรรณที่หลากหลายในพื้นที่เดียวกัน 6)ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกภาคการเกษตร ลดปัญหาการว่างงาน 7)ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่ เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับไร่นาและสวนไม้ผล ไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว 8) ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน 9) ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปัจจัยการผลิต จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งพื้นที่ปลูกไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทย เช่น อำเภอหลังสวน อำเภอละแม อำเภอสวี มีผลไม้หลายชนิดที่เป็นสินค้าหลักส่งไปจำหน่ายในตลาดทั่วประเทศ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ รวมทั้งไปถึงสวนเกษตรอื่นๆ ได้แก่ สวนกาแฟ สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน เกษตรกรมักนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง มีปัญหาโรคพืชระบาดที่สำคัญ เช่น โรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อไฟทอปเทอราที่ส่งผลให้ผลผลิตลดลง และเมื่อผลผลิตมีโรคระบาด ตลาดไม่ต้องการผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานส่งผลให้มีการจำหน่ายได้น้อย เกษตรกรอาจประสบปัญหาขาดทุนได้ เนื่องจาก เกษตรกรยังขาดความรู้ในเรื่องการปลูกพืชแบบผสมผสานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดปัญหาความเสี่ยงจากโรคระบาด จึงต้องมีการส่งเสริมการปลูกพืชแบบผสมผสานช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร และช่วยให้เกิดกิจกรรมหมุนเวียน เพิ่มรายได้ในพื้นที่สวนเกษตรกร ปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับแบบผสมผสานในสวนไม้ผล ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร การเลือกชนิดและพันธุ์พืชที่ปลูกเป็นสิ่งสำคัญมากและส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรกร สำหรับชนิดพืชที่มีความเหมาะสมในการปลูกในท้องถิ่นภาคใต้ ได้แก่ พืชวงศ์ขิงที่นิยมปลูกในภาคใต้ พืชเหล่านี้ยังพบในพื้นที่ป่าชุมชนภาคใต้ด้วย มีหลายชนิดเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดภาคใต้ เช่น ดาหลา กระทือ ขมิ้นชัน และหงส์เหิน ซึ่งพบปลูกกระจายในชุมชน รวมทั้งพบตามธรรมชาติในป่าชุมชนอีกด้วย นับเป็นพืชที่เป็นอัตลักษณ์ สามารถปลูกง่ายในท้องถิ่น มีลักษณะเด่นที่สวยงาม ต้านทานต่อโรคและแมลงต่างๆ สามารถเจริญเติบโตได้ดีมากในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของภาคใต้ สามารถใช้เป็นไม้ตัดดอกหรือไม้กระถางได้ นอกจากนี้ ดอกดาหลาจัดเป็นสมุนไพร และใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารในท้องถิ่น เช่น ข้าวยำ ซึ่งเป็นอาหารอัตลักษณ์ภาคใต้อีกด้วย ดังนั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ในการผลิตพืชดอกวงศ์ขิงที่เป็นอัตลักษณ์ของภาคใต้แบบปลูกผสมผสานในสวนไม้ผลต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน และสนับสนุนให้เกษตรกรมีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้บริโภคและเกษตรกร และเป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาบริการวิชาการสู่ชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ของพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาบริการวิชาการสู่ชุมชน
เพื่อศึกษาวิธีการปลูกและดูแลรักษาพืชวงศ์ขิงอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนไม้ผลในเขตจังหวัดชุมพร
เพื่อศึกษากรรมวิธีแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชวงศ์ขิงสำหรับเกษตรกรใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์
เพื่อจัดทำแผ่นพับให้ความรู้บริการวิชาการให้แก่เกษตรกร นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
เพื่อสนับสนุนงานเกษตรอินทรีย์และ/หรือ เกษตรสุขภาวะ (well-being) ตามนโยบายยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และบูรณาการร่วมกับงานวิจัยเชิงพื้นที่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกวงศ์ขิงที่เป็นอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนทุเรียน จังหวัดชุมพร
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : องค์ความรู้ในการปลูกและดูแลรักษาพืชวงศ์ขิงอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนไม้ผล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 คน 25
KPI 6 : แปรรูปผลิตภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 0 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกวงศ์ขิงที่เป็นอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนทุเรียน จังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
ศึกษาวิธีการปลูกและดูแลกรักษาพืชวงศ์ขิงอัตลักษณ์ภาคใต้แบบผสมผสานในสวนไม้ผลในเขตจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/02/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน (จำนวน 1 คนๆละ 200 บาท X 20 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและเก็บข้อมูล (ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บาท X 1 คน X 10 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4, หมึกพิมพ์, ปากกา, ดินสอ, แฟ้ม, ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 3,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ต้นพันธุ์/เหง้าพันธุ์ ขุยมะพร้าว มูลวัว เทปสายน้ำพุ่ง อีเอ็ม ฯลฯ เป็นเงิน 13,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 13,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น จานแก้ว ชุดวัดพีเอช สารเคมี ชุดตรวจวิเคราะห์ดิน ฯลฯ เป็นเงิน 9,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 9,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32800.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษากรรมวิธีแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชวงศ์ขิง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/02/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ซองใส่ชา กระดาษทิชชู ผงวุ้น มีด ถุงพลาสติกใส สติ๊กเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 3,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3400.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมให้ความรู้บริการวิชาการแก่เกษตรกร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 11/02/2564 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์  วิชาสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม : ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน : ผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คนๆละ 250 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร : (บรรยาย 5 ชม. X 600 บาท/ชม. จำนวน 1 คนๆละ 3,000 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท) (ปฏิบัติ 3 ชม. X 300 บาท/ชม. จำนวน 2 คนๆละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 4,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 13800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานะการณ์โควิด ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณ ไม่เป็นไปตามแผน ย.002
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เร่งการเบิกจ่ายงบประมาณให้รวดเร็วขึ้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล