16323 : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและการผลิตกล้าพันธ์ุสมุนไพรปลอดโรค
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/12/2563 11:13:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ เกษตรกร หน่วยงานเอกชน และประชาชนผู้สนใจในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อื่นๆ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 80,000 บาท 2564 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เทิดศักดิ์  โทณลักษณ์
อาจารย์ ดร. วาริน  สุทนต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ64 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 AP 2.3.2 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้
ตัวชี้วัด 64 AP2.3.5 รายได้จากการให้บริการวิชาการ (อบรม ดูงาน ที่ปรึกษา วิทยากร ฯลฯ)
กลยุทธ์ 64 AP 2.3.5.23 ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีพรรณไม้นานาชนิดที่เจริญเติบโตได้ดีในทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสูง โดยพืชหลายชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก หนึ่งในชนิดนั้นก็คือ พืชสมุนไพร ซึ่งอยู่คู่มากับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ และมนุษย์ได้รู้จักใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ ด้วยความรู้และประสบการณ์รักษาโรคได้มีการสืบทอดและพัฒนาถึงขั้นจัดทำขึ้นเป็นตำรายาสมุนไพร ปัจจุบันความนิยมสมุนไพรและการดูแลสุขภาพแนวธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการผลิตและใช้ยาจากสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนหลายแห่ง มีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อลดการเสียดุลจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพยายามส่งออกสินค้าสมุนไพรเพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งประเทศไทยนั้นมีถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตยาสมุนไพรเป็นการค้า สำหรับใช้ในประเทศเพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งรวมของพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลาย โดยความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสมุนไพร ทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและนำมาปลูกเพื่อการค้า ความต้องการใช้วัตถุดิบสมุนไพรมีเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งการนำมาปรุงแต่งอาหาร อุตสาหกรรมยา และอื่นๆ จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยควรเร่งขยายการผลิตสมุนไพรให้พืชเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อมีการส่งเสริมการปลูกให้เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ต้นพันธุ์ที่จะนำมาปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร อีกทั้งเมื่อมีการนำต้นพันธุ์ออกจากป่ามากขึ้นทำให้ต้นที่มีเหลืออยู่ในป่ามีปริมาณที่ลดลง ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายของพืชสมุนไพร ซึ่งอาจเกิดการสูญพันธุ์ได้ ดังนั้นในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็วนั้นสามารถนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคให้แก่ผู้สนใจ ตลอดจนบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชา วส411 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรให้กับนักศึกษาอีกด้วย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นศาสตร์ที่มีการนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นนำไปใช้เพื่อการขยายพันธุ์พืชให้ได้ปริมาณมาก นำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ แม้กระทั่งนำไปใช้ในการเก็บรักษาพันธุ์พืชที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยขั้นสูงอีกมากมาย ในประเทศไทยได้ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสมุนไพร จึงทำให้มีผู้สนใจที่จะเรียนรู้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆ อาทิ การขยายพันธุ์ การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค การปรับปรุงพันธุ์ การถ่ายยีน และการผลิตสารสำคัญในระดับเซลล์ เนื่องจากมีการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้แพร่หลายมากขึ้น และผู้ที่เรียนรู้เทคนิคดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอิสระส่วนบุคคลได้ อีกทั้งสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหลายแห่ง ได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการและเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการนำไปใช้ประโยชน์ที่ถูกต้อง จึงได้เปิดสอนวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร (Medicinal Plant Tissue Culture) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้น อีกทั้งสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพรยังเล็งเห็นว่ายังมี นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ เกษตรกร พนักงานเอกชน และประชาชนอีกหลากหลายอาชีพที่มีความสามารถและสนใจใคร่เรียนรู้ศาสตร์ทางด้านนี้ โดยเฉพาะคณาจารย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการสาขานี้ให้กับนักเรียน สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพรจึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคขึ้น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในหลักการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร โดยให้ผู้ศึกษาดูงาน หรือเข้าอบรมได้เรียนรู้หลักและวิธีการในการเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร การเพาะเลี้ยงในสภาพควบคุม การเปลี่ยนถ่ายอาหาร การเพาะเลี้ยงเซลล์ การย้ายปลูก และเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ถาวรในด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร การผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค และการผลิตพืชสมุนไพรเชิงการค้า
2. เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมทราบถึงหลักและวิธีการการเพาะเซลล์และเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
3. สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมไปใช้ในการถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
4. สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
5. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าอบรมการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ครั้ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ร้อยละของผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานหรือ/และเข้ารับการอบรมได้รับความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป จากความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าศึกษาดูงานหรือ/และเข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.08 ล้านบาท 0.08
KPI 6 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ถาวรในด้านเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร การผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค และการผลิตพืชสมุนไพรเชิงการค้า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 8 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงานตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 30 20 20 คน 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 เป็นสถานที่ศึกษาดูงานเรื่องการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ครั้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์  โทณลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.วาริน  สุทนต์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (สารเคมี ได้แก่ Ammonium nitrate, Potassium nitrate, Potassium di-hydrogen phosphate, Boric acid, Manganese (II) sulphate monohydrate, Zinc sulphate, Potassium iodide, Sodium molybdate, Glycine, Copper (II) sulphate, Cobalt (II) chloride, Nicotinic acid, Magnesium sulphate, Calcium chloride, Myo-Inositol, EDTA di-Sodium salt, Pyridoxine hydrochloride, 6-Benzylaminopurine, Naphthaleneacetic acid, Thiamine hydrochloride
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 80,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถาณการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด-19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับเปลี่ยนการศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคเป็นรูปแบบออนไลน์และสื่อสาธารณะ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล