16222 : กิจกรรมพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวง (Cofact Thailand สัญจรภาคเหนือ) ภายใต้โครงการ "พัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมดิจิทัล"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2564
ดร.วัฒนาพงษ์ ใหม่เฟย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/10/2563 8:24:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/10/2563  ถึง  20/10/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  กลุ่มพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวง และเครือข่ายด้านการสื่อสารทั่วประเทศ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณโครงการ 0 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณภัทร  เรืองนภากุล
ดร. วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. สมเกียรติ  ชัยพิบูลย์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 64 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 64 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 64 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2564] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64Info-6 การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ / อัตลักษณ์ / ภารกิจเฉพาะของส่วนงาน
เป้าประสงค์ 64Info-6.1 พัฒนาคณะสู่ความเป็นผู้นำด้านการสื่อสารดิจิทัล และสร้างรายได้จากความเชี่ยวชาญจากองค์ความรู้ที่มี
ตัวชี้วัด 64Info-6.2 บทบาทการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารดิจิทัลและการขับเคลื่อนพลเมืองดิจิทัลในระดับประเทศ
กลยุทธ์ 64Info-6.1.2 สร้างบทบาทการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารดิจิทัลและการขับเคลื่อนพลเมืองดิจิทัลในระดับประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากปัญหาการแก้ปัญหาข่าวลวงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้เกิดการร่วมตัวกันของหน่วยงาน องค์กร นักวิชาชีพ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการและประชาสังคม ที่ให้ความสนใจปัญหาข่าวลวงที่เกิดขึ้นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) โดย สสส. ได้เป็นมีการประสานกับภาคีต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ อีกทั้งมีเวทีระดมสมองนักคิดยุคดิจิทัลเพื่อสุขภาวะพลเมือง (Digital Thinkers’ Forum) เป็นพื้นที่กลางที่ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางด้านนโยบายสาธารณะในการรับมือกับผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อหาต้นแบบ ด้านมือดออนไลน์อย่างมีสุขภาวะ โดยมีหลายหน่วยงานเป็นองค์กรร่วมจัดเวทีหารือในประเด็นสำคัญๆทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น จึงนำไปสู่การรวมตัวกันเป็นเครือข่าย และ คณะทำงานเพื่อวางแนวทางการทำงานร่วมตลอดระยะในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมถึงได้มีการศึกษาวิจัยทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศทั้งในมิติของทฤษฎี ข้อค้นพบเชิงประจักษ์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติการทำงานของข่าวลวงในสังคมไทยผ่านกรณีศึกษา พร้อมทั้งสังเคราะห์ข้อเสนอที่ตอบสนองต่อลักษณะปัญหาในบริบทไทยด้วยซึ่งจะเป็นฐานองค์ความรู้ใจการรณรงค์สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยภาคี ๘ องค์กร อาทิ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกทั้งได้รับเกียรติจากคุณออเดรย์ ถัง (Audrey Tang) รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวัน (Digital Minister) มาเป็นวิทยากร องค์ความรู้การจัดการปัญหาข่าวลวงในไต้หวัน โดยใช้ทั้งเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของภาคประชานับเป็นการจุดประกายที่ทำให้ทุกฝ่ายในประเทศไทยอยากเห็นพื้นที่กลางที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการค้นหาความจริงในโลกดิจิทัลเหมือนกับไต้หวันโมเดล โครงการ “พัฒนากลไกการแก้ปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมยุคดิจิทัล” จึงได้เกิดขึ้น โดยรวมเครือข่ายด้านการสื่อสารทั่วประเทศดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดย ในช่วงปีแรกได้วางระบบเทคโนโลยี โคแฟค (Cofact) ทั้งในระบบเว็บ ( Web application ) โดยประยุกต์มาจาก Open Source ของไต้หวันและปรับระบบ Chatbot ในโปรแกรมไลน์แชท (Line Application) หรือการพูดคุยอัตโนมัติโดยปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้จากระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถดึงฐานข้อมูลข่าวมาช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบข่าวลวงในเวลาอันรวดเร็ว และ สะดวกกว่าการต้องไปค้นหาเอง ซึ่งทีมงานได้วางระบบโครงสร้างไว้เพื่อรองรับการทำงานที่ทุกฝ่าย สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันในการร่วมกันค้นหาความจริงโดยวางโครงสร้างเบื้องต้นไว้ให้ภาคีเครือข่ายทดลองนำไปใช้ เพื่อปรับระบบให้ง่ายกับการใช้งานและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้แนวคิดของโคแฟคที่ออกแบบไว้ เป็นการผสานการผลักดันการใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง (Civic Tech) กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) โดยมีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครในการกรองข่าว และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนโต้แย้งข้อเท็จจริงและความเห็นได้ ทั้งนี้ได้เชิญคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเครือข่ายด้านความร่วมมือ (In kind) จัด กิจกรรมพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวง (Cofact Thailand สัญจรภาคเหนือ) ภายใต้โครงการ "พัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมดิจิทัล ขึ้น เพื่อพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะด้านการตรวจสอบข่าวลวงและข่าวบิดเบือน
เพื่อให้พัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เครือข่ายผู้ตรวจสอบข่าวลวงในสถาบันการศึกษาเขตพื้นที่ภาคเหนือ
KPI 1 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เครือข่ายผู้ตรวจสอบข่าวลวงในสถาบันการศึกษาเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวง (Cofact Thailand สัญจรภาคเหนือ)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/10/2563 - 20/10/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  เรืองนภากุล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.วัฒนาพงษ์  ใหม่เฟย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ใช้งบประมาณโครงการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล