16064 : โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการย่อยการจัดตั้งคลินิกรักษาสัตว์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ภัครัศ ยุทธวราชัย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/10/2563 13:17:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2563  ถึง  30/09/2564
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 15/2563 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้สนับสนุนงบประมาณจากงบยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 2563 5,919,450.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัญญัติ  มนเทียรอาสน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล  ทองมา
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองแผนงาน
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2564 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 64 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 64 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 64 MJU 4.10 ความสำเร็จของการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 64 MJU 4.1.4 พัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยให้ได้คุณภาพ ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง เป็นไปตามมาตรฐาน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรี-สวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีพระปณิธานต่อพสกนิกรชาวไทยและสรรพชีวิตในข้อทรงห่วงใยปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นปัญหาสำคัญของโลกโดยองค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญ และเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทยด้วย รวมถึง พระวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโลกหนึ่งเดียว (One Health) โดยมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ที่รวมเอาแนวทางการปฏิบัติ สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำสู่การมีสุขภาพที่ดี มีเป้าหมาย คือ “ไม่มีคนเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า” ดังนั้น เพื่อสนองพระปณิธานและพระวิสัยทัศน์ดังกล่าว รวมถึง เพื่อน้อมเกล้าน้อมจารึกพระเกียรติคุณในโอกาสทรงพระเจริญพระชันษา 60 ปีในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 รัฐบาลไทยโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงเห็นสมควรดำเนินการโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยรัฐบาลไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 214/2559 ลงวันที่ 9 กันยายน 2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยพระองค์ทรงรับเป็นประธานกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงรับเป็นรองประธานกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ และจึงได้มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด ซึ่งการจัดระบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงานกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศ โดยมีการตั้งเป้าดำเนินการทุกกลุ่มจังหวัดต้องมีอย่างน้อยหนึ่งแห่ง เพื่อใช้เป็นต้นแบบศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดที่มีมาตรฐาน ซึ่งในขณะนี้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ นำร่อง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี นครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร และอยู่ระหว่างการจัดตั้งศูนย์พักพิงสัตว์จังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระกรุณาธิคุณจากศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในการเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการทำงานโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดตั้งศูนย์พักพิงสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นรูปธรรม ตามคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ 2/2561 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2561 เรื่อง เพิ่มเติมองค์ประกอบในคณะอนุกรรมการ ด้านการจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ โดยมีคำสั่งฯ แต่งตั้งให้ตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 2 หน่วยงาน คือ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ลำดับที่ 8) และคณบดีคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ลำดับที่ 9) เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ประกอบกับ จากการศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านปศุสัตว์ พบว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหาความขาดแคลนสัตวแพทย์ โดยเฉพาะสัตวแพทย์ ด้านปศุสัตว์ นักศึกษาสัตวแพทย์ก็เลือกศึกษาด้านปศุสัตว์ เพียง 10% - 20% และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ และจากหลากหลายผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ ยังแสดงให้เห็นว่า สัตวแพทย์ในหน่วยงานราชการมีการขาดแคลนสูงมาก นอกจากนี้ หลายผลการศึกษาต่างวิเคราะห์ข้อมูลสัตวแพทย์ปศุสัตว์ในส่วนของบริษัทเอกชน พบว่า ยังมีความต้องการสูง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลของรายงานหลายฉบับที่ได้สรุปว่า สัตวแพทย์ที่ทํางานเกี่ยวกับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารนั้นมีการขาดแคลนทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องเร่งรัดผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ให้เพิ่มมากขึ้น (อย่างเร่งด่วน) โดยเฉพาะในภาคปศุสัตว์ ภาคการเกษตร และเพื่อบริการสังคมโดยรวม มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษาที่ก่อกำเนิดมาจากนโยบายการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาค โดยก่อกำเนิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ซึ่งถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาถึง 85 ปี (ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563) ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เป็นส่วนสำคัญในการสืบสานภูมิปัญญาด้านการเกษตร รวมถึง การพัฒนาศาสตร์ด้านการเกษตรของประเทศ เพื่อเป็นที่พึ่งของชุมชน และเกษตรกรไทย จนทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในความเชี่ยวชาญสาขาเกษตรกรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์ให้กับนักศึกษาและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็น “นักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาเกษตรหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านพืช และสัตว์ รวมถึง สาขาวิชาที่นอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมด้วย โดยมีการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก นับจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งแต่ พ.ศ.2477 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตให้กลับไปช่วยเหลือชุมชน ช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของประเทศ จากการที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความชัดเจนในการผลิตบัณฑิต และเพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการเปิดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมสาขาที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ- เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จึงมีพระปณิธานให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสัตว์ เพื่อจัดการเรียนการสอน งานวิจัย และการบริการวิชาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โดยเฉพาะด้านปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสาขาอาชีพขาดแคลนของประเทศไทย ภายใต้ความเป็นอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จะเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสอดรับกับเป็นการผลิตสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเข้ามาทำงานดูแลรักษาช่วยเหลือสัตว์ปศุสัตว์ สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยงให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป รวมถึง เป็นบัณฑิตสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอล สังคมออนไลน์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในสายวิชาชีพของตนเอง และเป็นที่ปรึกษาให้แก่เกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อยต่าง ๆ รวมถึง การมีส่วนในการช่วยเหลือสังคม การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัด และที่สำคัญ คือ การมีส่วนเข้ามาทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า และทำงานช่วยเหลือดูแลรักษาสัตว์ของศูนย์พักพิงสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการฯ ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป อีกทั้ง สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้อนุญาตให้มีการกำหนดแนวเขตพื้นที่ดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมใช้ก่อสร้างกลุ่มอาคารเรียนและปฏิบัติการคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 20 ไร่ และอีก 15 ไร่ เพื่อเตรียมใช้ก่อสร้างชุดอาคารโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เรียบร้อยแล้ว จากจุดเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร ใกล้ชิดกับเกษตรกร และมุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติรับใช้ชุมชนมานานกว่า 85 ปี ประกอบกับสถานการณ์ความขาดแคลนของสัตวแพทย์ในประเทศไทยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงต้องการมีส่วนในการผลิตกำลังคนด้านสัตวแพทย์ ที่เป็นนักปฏิบัติ โดยเฉพาะสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ สัตว์ใหญ่ รวมทั้ง การดูแลสัตว์ป่า สัตว์น้ำ และสัตว์เลี้ยงของประชาชน โดยพระองค์ทรงมีคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ 2/2561 สั่ง ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2561 เรื่อง เพิ่มเติมองค์ประกอบในคณะอนุกรรมการด้านการจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ โดยแต่งตั้งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ลำดับที่ 8) และ คณบดี คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ลำดับที่ 9) เข้าเป็นคณะอนุกรรมการด้านการจัดการระบบศูนย์พักพิงสัตว์ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 2 ร่วมขับเคลื่อนสนองพระปณิธานฯ ในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขึ้น นอกจากนี้ สภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีมติอนุญาตให้จังหวัดเชียงใหม่ใช้พื้นที่ประมาณ 35 ไร่ ในบริเวณฟาร์มมหาวิทยาลัย อำเภอพร้าว ในการก่อสร้างศูนย์พักพิงสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ และอนุมัติพื้นที่ติดถนนทางหลวงแผ่นดินของสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอพร้าว อีกจำนวน 10 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลสัตว์ของศูนย์พักพิงสัตว์เชียงใหม่ โดยมีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมให้บริการดูแลด้านสุขภาพสัตว์ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่อย่างใกล้ชิดทั้งในรูปแบบโรงพยาบาลสัตว์และหน่วยบริการเคลื่อนที่ พร้อมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตปศุสัตว์ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งการดูแลสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงของประชาชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนการจัดตั้งคลินิกรักษาสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์
2. เพื่อให้บริการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ให้บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คลินิกรักษาสัตว์
KPI 1 : จำนวนคลินิกรักษาสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แห่ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คลินิกรักษาสัตว์
ชื่อกิจกรรม :
การก่อสร้างอาคารคลินิกรักษาสัตว์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/10/2563 - 30/09/2564
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายไพศาล  สงวน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายพฤธา  ประดิษฐทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงศ์  รื่นวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.พชรพร  ตาดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ค่าครุภัณฑ์ที่เป็นเครื่องทางสัตวแพทย์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 870,180.00 บาท 652,635.00 บาท 652,635.00 บาท 2,175,450.00 บาท
รายจ่ายลงทุน » ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
ค่าออกแบบอาคาร และค่าก่อสร้าง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1,044,000.00 บาท 900,000.00 บาท 900,000.00 บาท 900,000.00 บาท 3,744,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5919450.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การบูรณาการเรียนการสอนนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะบริหารธุรกิจ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์
ช่วงเวลา : 01/05/2564 - 30/09/2564
ตัวชี้วัด
สมศ 2 คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล