15978 : โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้-พะเยา (ระยะแรก)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.อัยวริญ แก้วชิต (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/8/2563 13:50:17
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/09/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินรายได้ สำนักงานคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปี 2563 แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ป.6 (โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้-พะเยา (ระยะแรก)) 2563 86,820.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. กอบลาภ  อารีศรีสม
น.ส. กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม
น.ส. อัยวริญ  แก้วชิต
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.5 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63-4MJU4.1.9 พัฒนาหลักเกณฑ์ในการของบประมาณบริการวิชาการให้เอื้อต่อนักวิจัยรุ่นใหม่ การ บูรณาการ และการทำงานเป็นทีม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการที่ดีมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.1 ร้อยละงบประมาณบริการวิชาการ (ทั้งงบแผ่นดินและรายได้) ที่เพิ่มขึ้น
กลยุทธ์ 63 ผก 4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นด้านการเกษตร ได้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ด้านการเกษตร มาเป็นเวลาช้านาน และได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านการเกษตรจนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง มีคณาจารย์และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรมากมาย ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ควรจะได้มีการถ่ายทอดสู่ชุมชนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองแบบยั่งยืนและพอเพียง และโดยที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการให้การศึกษา วิจัย ค้นคว้า สร้างองค์ความรู้ และบริการวิชาการทางการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปในรูปแบบต่างๆ มีศักยภาพและมีผลงานทางวิชาการด้วยดีตลอดมา การที่สถาบันการศึกษาจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะ ให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ภูมิปัญญาของท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวมให้ดียิ่งขึ้นนั้น มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องสร้างเสริมความรู้เทคโนโลยีด้านต่างๆ แก่คนไทย ให้เกิดความรู้และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยคำนึงว่าบุคคลเหล่านี้เป็นทรัพยากรอันทรงค่ายิ่งของประเทศไทย คณะผลิตกรรมการเกษตรซึ่งก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นคณะแรก กล่าวได้ว่าคณะผลิตกรรมการเกษตรได้ดำเนินกิจกรรมหลักตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาตั้งแต่เริ่มต้น ปัจจุบัน คณะผลิตกรรมการเกษตรมีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นคณะที่เปิดสอนด้านการเกษตร มีการบริหารวิชาการและผลิตผลงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้สาขาวิชาการเกษตรจำนวนมาก และมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านการเกษตร ซึ่งทางคณะผลิตกรรมการเกษตรได้เล็งเห็นแล้วว่า ควรมีการจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้ จึงได้จัดหาพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันได้ทำการสำรวจในพื้นที่บ้านแวน ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าชุมชน ซึ่งพื้นที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้ พะเยา โดยอยู่ในกำกับดูแลของคณะผลิตกรรมการเกษตร ในการนี้ทางคณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนด้านการเกษตรจึงเห็นความสำคัญในการจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้-พะเยา เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ การวิจัย บริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรอย่างครบวงจร ให้แก่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ การวิจัย บริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน การเกษตรอย่างครบวงจร
เพื่อเป็นหน่วยงานส่งเสริมการวิจัยและการบริการวิชาการให้แก่เกษตรกรและประชาชน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรร่วมกับชุมชน รวมทั้งเพื่อยกระดับด้านการเกษตรในชุมชนให้มีคุณภาพและมีความเข้มแข็ง
เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานแก่นิสิต นักศึกษา และเกษตรกรที่สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนาการบริการวิชาการ ให้มีความหลากหลายมีประสิทธิภาพ ตอบสนอง ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น สังคม และนำองค์ความรู้จากสถานีไปใช้ในการสนับสนุนการเรียนการสอน
KPI 1 : ระดับชุมชนได้รับการพัฒนาด้านองค์ความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความสำเร็จในการให้บริการวิชาการแกชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนาการบริการวิชาการ ให้มีความหลากหลายมีประสิทธิภาพ ตอบสนอง ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น สังคม และนำองค์ความรู้จากสถานีไปใช้ในการสนับสนุนการเรียนการสอน
ชื่อกิจกรรม :
การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการขอใช้พื้นที่เพื่อจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้ - พะเยา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/09/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อัยวริญ  แก้วชิต (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คน คนละ 50 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,500.00 บาท 6,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักแบบเหมาจ่าย
- อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 คนๆ ละ 1 คืน ๆละ 800 บ. เป็นเงิน 2,400 บ.
- พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1 คนๆ ละ 1 คืนๆ ละ 400 บ. เป็นเงิน 400 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ (เติมรถราชการ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ และบุคลากร
จำนวน 4 คน คนละ 2 วัน วันละ 240 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,920.00 บาท 1,920.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19220.00
ชื่อกิจกรรม :
การประชาพิจารณ์เพื่อขอใช้พื้นที่เพื่อจัดตั้งสถานีวิจัยและฝึกอบรมแม่โจ้ - พะเยา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/09/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.กอบลาภ  อารีศรีสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.กัลย์ชิสา  นามวงศ์พรหม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อัยวริญ  แก้วชิต (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 500 คน คนละ 50 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 500 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,500.00 บาท 12,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยง เจ้าหน้าที่ 20 คน x2 วัน x 240 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักแบบเหมาจ่าย
อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน x 1คืน x 800 บ.
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท 16,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะ (เติมรถราชการ) จำนวน 3 คันx1,500
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท 4,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 67600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการ เนื่องจากการดำเนินงานมีขั้นตอนแต่ละขั้นที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาจากหลายส่วนตามระบบ รวมทั้งการดำเนินการครั้งนี้มีหน่อยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็วได้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานให้มีช่วงเวลาสำหรับการแก้ไขปัญหาหรือการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล