15912 : การฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/7/2563 22:23:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/08/2563  ถึง  07/08/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ(ส.ป.ก.กำแพงเพชร) จำนวน 20 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน ค่าลงทะเบียนอบรม จำนวน 20 คน คนละ 2,300 บาท 2563 46,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติพงศ์  กาญจนประโชติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.3 จำนวนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการให้บริการวิชาการ (Inc. A)
กลยุทธ์ 63-64MJU4.1.2 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ ระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.3 จำนวนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการให้บริการวิชาการ (Inc. A)
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในสภาวะปัจจุบันกระแสโลกได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคโลกใหม่แบบ Knowledge-Based และเข้าสู่ยุค Digital Economy อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) เพื่อใช้ในงานการเกษตรต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่ามีการประเมินถึงผลดีของการนำโดรนเพื่อการเกษตรมาใช้ โดยเกษตรกรจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ราว 1,100 ล้านบาท และคาดว่าปี 2564 จะลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 6,000 ล้านบาท โดยประมาณการดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานของพื้นที่เป้าหมายนาแปลงใหญ่ที่ 1,512 แปลงในปี 2560 และ 7,000 แปลงในปี 2564 ซึ่งได้รวมผลของค่าเสื่อมราคาของโดรนแล้ว โดรนดังกล่าวช่วยในเรื่องลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถช่วยในเรื่องการประหยัดเวลา แรงงาน โดยสามารถพ่นยา/ปุ๋ย และควบคุมคุณภาพการผลิตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ออกแบบโครงสร้างของลำตัวเครื่องที่มีน้ำหนักเบา ใช้วัสดุคอมโพสิตทำให้มีความแข็งแรงและมีวัสดุมีการป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมีต่าง ๆ สามารถขึ้น-ลงในแนวตั้งได้ พร้อมกับมีระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ถึง 10-20 ไร่ต่อชั่วโมง และดูหน้าจอแสดงผลแบบ Real-time จากกล้องที่ติดอยู่ได้ นับเป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์มากขึ้น คาดว่าในปี 2563 มูลค่าตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ของโลกอาจอยู่ที่ราว 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท โดยโดรนเพื่อการเกษตรคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดโดรนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ราว 32,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาล ที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลผลิต เพิ่มผลงาน โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยลง แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการมากขึ้น การขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในลักษณะของการทำงานด้านการเกษตรแบบแม่นยำ เช่น การรดน้ำ การให้ฮอร์โมน การให้ปุ๋ยทางใบ การถ่ายภาพวิเคราะห์/ตรวจโรคพืช ทำให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด ตามนโยบายด้านการเกษตรนาแปลงใหญ่ของภาครัฐในปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มุ่งเน้นการถ่ายทอดนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในการใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวไกลและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล (Thailand 4.0) เป็นความมุ่งมั่นที่มีภารกิจสำคัญในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลือ ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนากำลังคนในด้านการเกษตรให้มีทักษะปฏิบัติได้จริงตามนโยบายการพัฒนาการเกษตรกรรมประเทศไทย (Thailand 4.0)
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในด้านการเกษตรด้วยองค์ความรู้จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone)
เพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนรู้พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรให้เกษตรกรสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
เพื่อสร้างให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการระบบการทำการเกษตรและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Smart Farming ได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนผู้เข้าอบรม
KPI 1 : เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ(ส.ป.ก.กำแพงเพชร)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
ผลผลิต : ความพึงพอใจต่อการเข้าอบรม
KPI 1 : ร้อยละของจำนวนผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง
KPI 1 : ร้อยละของจำนวนผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของจำนวนผู้เข้าอบรมสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนผู้เข้าอบรม
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/08/2563 - 07/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์  กาญจนประโชติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 35 บาท x 2 ครั้ง x 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเช่าโดรนปัญญาและโดรน DJI พร้อมอุปกรณ์ จำนวนอย่างละ 1 ชุด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,100.00 บาท 16,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารผู้เข้าอบรมต่อวัน (2 มื้อ) จำนวน 20 คนๆ ละ 150 บาท x 2 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ จำนวน 1 คน
ภาคบรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรที่ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ จำนวน 1 คน
ภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท
ภาคปฏิบัติ จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,200.00 บาท 10,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมและคู่มือการฝึกอบรมโดรน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,100.00 บาท 3,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าสาธารณูปโภค
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,600.00 บาท 4,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 46000.00
ผลผลิต : ความพึงพอใจต่อการเข้าอบรม
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล