15744 : โครงการการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธ์ุพื้นเมือง ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/4/2563 11:34:09
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
08/04/2563  ถึง  31/10/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง : แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต: ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) 2563 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 3.การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน เพื่อมุ่งสู่การยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 3.1 ผลงานวิจัยมุ่งเน้นภาคการเกษตรเพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ตัวชี้วัด 63 MJU 3.1.1 ร้อยละการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดในแผนแม่บทการวิจัยของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 3.1.1 ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการวิจัยระยะ 15 ปี ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และร่วมสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 3. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมโดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน เพื่อมุ่งสู่การยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 3.1 ผลงานวิจัยมุ่งเน้นภาคการเกษตรเพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ตัวชี้วัด 63 ผก 3.2 ร้อยละของอาจารย์และนักวิจัยประจำที่มีผลงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์และนักวิจัยประจำทั้งหมด
กลยุทธ์ 63 ผก 3.2 สนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์และนักวิจัยทำงานวิจัย
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แตงไทย (Oriental pickling melon) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo var. conomon อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae จัดเป็นพืชพื้นเมืองที่มีปลูกกระจัดกระจายอยู่เกือบทั่วประเทศไทยมาเป็นเวลานาน โดยจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของการผลิตแตงไทย ในปีการผลิต 2559 พื้นที่ปลูกทั้งหมด 20 จังหวัด ผลผลิตจำนวน 3,418,110 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 26,045,160 บาท (พวงทิพย์ บุญช่วย, 2560) นอกจากนี้แตงไทยยังมีความหลากหลายของลักษณะรูปร่างผล สีผล ลวดลายบนผล ขนาด และสีเนื้อเป็นอย่างมาก แตงไทยจัดอยู่ในกลุ่ม Cucumis melo L. เช่นเดียวกันกับแตงเมลอน (Nhi et al., 2010) มีความหวานค่อนข้างต่ำ (Tanaka et al., 2007) แต่มีข้อเด่นคือเป็นแหล่งพันธุกรรมที่มีความต้านทานโรคสูง โดยเฉพาะโรคทางดิน ได้แก่โรคเหี่ยว (Fusarium wilt) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium oxysporum f. sp. melonism ที่อยู่ในดิน จึงถูกนำไปใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์แตงเมลอน (Akashi et al., 2002) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Thomas et al., (1962) ว่าแตงกลุ่ม Cucumis melo var. conomon เป็นกลุ่มแตงที่มีระดับความต้านทานต่อโรคอยู่ในระดับสูง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแตงไทยในปัจจุบันคือ ได้ถูกลดความนิยมในการนำไปบริโภคลงในกลุ่มคนรุ่นใหม่เนื่องจากมีการนำเข้าแตงเมลอนจากประเทศ ทั้งในรูปผลผลิตสดและเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรในประเทศนำไปปลูก โดยปัจจุบันพบว่าแตงเมลอนมีปลูกอยู่แถบทั่วประเทศของไทยเช่นเดียวกันกับแตงไทย และที่สำคัญได้รับการยอมรับจากตลาดผู้ผลิตและผู้บริโภคค่อนข้างสูง ดังนั้นหากไม่มีการรวบรวมรักษาและศึกษาพันธุกรรมของแตงไทยซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นนี้ไว้ ในอนาคตแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองดังเดิมอาจมีโอกาสหายไปจากประเทศไทยได้ค่อนข้างสูง เพราะตลาดแตงไทยในปัจจุบันพบว่าส่วนมากเป็นแตงไทยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์และคัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่และอาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแตงไทยกับแตงเมลอน ซึ่งหากมีการละเลยปล่อยทิ้งไว้เช่นนี้อาจส่งผลทำให้ลักษณะของแตงไทยดั้งเดิมอาจสูญหายไปได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาลักษณะปรากฏของพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลทางพันธุกรรมและจะทำให้ทราบว่าปัจจุบันลักษณะแตงไทยพันธุ์ดังเดิมยังคงมีอยู่หรือได้ถูกทำการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นพันธุ์การค้าหมดแล้ว ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก็จะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรทางชีวภาพไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้ามีการรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะทั้งทางกายภาพและทางพันธุกรรมไว้ก็จะเป็นแนวทางในการช่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่นของประเทศไทยไว้ให้รุ่นลูกหลานไว้ศึกษาต่อไปได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
- เพื่อศึกษาลักษณะปรากฏของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน
- เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทราบจำนวนสายพันธุ์แตงไทยพันธุ์พื้นเมืองที่มีปลูกอยู่ในแถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและทราบลักษณะปรากฏของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์
KPI 1 : ได้ข้อมูลลักษณะปรากฏของพันธุ์และลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ชนิด 20
KPI 2 : ร้อยละของงานวิจัยที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของวิจัย
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : จำนวนตัวอย่างแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ชนิด 20
KPI 4 : ร้อยละของงบประมาณที่ใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทราบจำนวนสายพันธุ์แตงไทยพันธุ์พื้นเมืองที่มีปลูกอยู่ในแถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและทราบลักษณะปรากฏของแตงไทยพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์
ชื่อกิจกรรม :
1. รวบรวมพันธุ์แตงไทยพื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ เชียงรายทุกอำเภอ)
2. ปลูกเพื่อศึกษาลักษณะปรากฏและลักษณะทางกายภาพของแตงไทยพันธุ์พื้นเมือง
3. รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/04/2563 - 31/10/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- วัสดุเกษตร เช่น วัสดุเพาะกล้า ถาดเพาะกล้า ขุยมะพร้าว ตอกเสียบแปลง มูลวัว ไม้ไผ่ ปุ๋ยอินทรีย์ ดินดำ แกลบดิบ เปลือกถั่ว ไตรโคเดอร์มา
ถาดเพาะ พลาสติกคลุมแปลง ฯลฯ เป็นเงิน 95,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น เช่น กระดาษA4 ปากกา แฟ้มห่วง เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล