15741 : โครงการศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้ (ุ63-3.2.3)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.รุ้งทอง เขื่อนขัน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/4/2563 2:03:41
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เยาวชน เกษตรกร หมอยาพื้นบ้าน และชาวบ้านในชุมชนบ้านโปง บ้านแม่โจ้ และผู้สนใจทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานพื้นฐาน
แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชกาาร
กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์
แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม
งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุนบริการวิชาการ
งบเงินอุดหนุน
เงินอุดหนุนทั่วไป
เงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2563 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์  ธาราฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการสนองงานโครงการในพระราชดำริ
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ด้านวิจัยและนวัตกรรม
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.3 จำนวนเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยที่เกิดจากการให้บริการวิชาการ (Inc. A)
กลยุทธ์ 63-64MJU4.1.2 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base)
กลยุทธ์ 63-64MJU4.1.3 พัฒนาชุดโครงการบูรณาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ 63-64MJU4.1.4 บูรณาการงานบริการวิชาการสู่การเรียนการสอน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3(62-64)-FAED มุ่งเน้นผลงานการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 3.1(62-64)-FAED ผลงานบริการวิชาการเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ
ตัวชี้วัด 3FAED63-1 จำนวนโครงการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FAED-3.1.1(62-64) ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการเชิงรุก กับหน่วยงานภายในและภายนอก ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.2(62-64) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการกับชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-3.1.3(62-64) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.4(62-64) สร้างโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ Area Base ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ FAED-3.1.6(62-64) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
ตัวชี้วัด 3FAED63-2 ร้อยละความพึงพอใจของชุมชนต่อการให้บริการวิชาการของคณะ
กลยุทธ์ FAED-3.1.1(62-64) ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการเชิงรุก กับหน่วยงานภายในและภายนอก ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.2(62-64) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการกับชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-3.1.3(62-64) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.4(62-64) สร้างโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ Area Base ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ FAED-3.1.6(62-64) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
ตัวชี้วัด 3FAED63-3 ร้อยละของผลงานบริการวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์ต่อโครงการบริการวิชาการทั้งหมด
กลยุทธ์ FAED-3.1.1(62-64) ส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการเชิงรุก กับหน่วยงานภายในและภายนอก ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.2(62-64) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการกับชุมชนภายนอก
กลยุทธ์ FAED-3.1.3(62-64) ส่งเสริมการถ่ายทอดวิชาการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การฝึกอบรม สัมมนา หลักสูตรระยะสั้นทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่น
กลยุทธ์ FAED-3.1.4(62-64) สร้างโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ Area Base ที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ FAED-3.1.6(62-64) ส่งเสริม และสนับสนุนการบูรณาการงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้แต่เดิม เป็นสวนสมุนไพร ในโครงการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีขอบเขตพื้นที่เดิมซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ และมีบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงที่สามารถนำมาพัฒนาให้เอื้อประโยชน์กับสวนสมุนไพร เช่น พื้นที่จัดทำโรงเรือนเพื่ออนุบาลพันธุ์พืช พื้นที่สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ในการออกแบบวางผังของพื้นที่สวนสมุนไพร มีแนวคิดหลักของการจัดแบ่งขอบเขต คือ การแบ่งตามส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วน A เป็นส่วนที่แทนอวัยวะส่วนศีรษะของมนุษย์ ส่วน B เป็นส่วนร่างกายส่วนอกและอวัยะภายใน ส่วน C เป็นส่วนที่ยื่นยาวออกไป คือแขนขา ส่วน D เป็นส่วนร่างกายท่อนล่างอันประกอบไปด้วยระบบย่อยอาหารและระบบสืบพันธุ์ และส่วน E เป็นส่วนลานปริศนา ซึ่งจะมีแนวคิดการจัดวางสมุนไพรที่น่าสนใจ ในการวางผังพืชพรรณแต่ละส่วนของพื้นที่ จะยึดตามการแบ่งส่วนอวัยวะ กล่าวคือ พืชสมุนไพรชนิดใด ช่วยในการรักษาโรคกลุ่มใด ก็จะนำมาจัดปลูกในส่วนนั้น ๆ เช่น กล้วย มีสรรพคุณที่ช่วยรักษาแผลในกระเพาะและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ก็จะนำต้นกล้วยมาจัดปลูกในพื้นที่ส่วน D ส่วนพืชชนิดใดมีสรรพคุณมากกว่า 1 อย่าง ก็อาจถูกนำไปปลูกในหลาย ๆ พื้นที่ และแสดงสรรพคุณที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้น ๆ โดยในการเลือกพืชสมุนไพรจะเน้นที่ความหลากหลายของพรรณพืช โดยเฉพาะพืชพื้นบ้านที่มีการใช้เป็นผักพื้นบ้านและอาหารที่มีคุณค่าทางยา เพื่อเน้นให้ผู้เข้าชมและเรียนรู้ ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนักเรียน เยาวชนที่มาใช้พื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปง ได้เห็นความสำคัญและรู้จักคุณค่าของพืชผักสมุนไพร สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการสร้างอุปนิสัยที่ดีและรู้จักสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องพึ่งยารักษาโรคเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันสวนสมุนไพรดังกล่าว ได้รับการฟื้นฟูและปรับปรุงภูมิทัศน์ในบางส่วน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม ทรัพยากร การบริหารจัดการ และกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าไปศึกษาเรียนรู้ จึงได้พัฒนาขึ้นเป็น “ศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้” เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งเรียนรู้และการวิจัยทางด้านสมุนไพร สรรพคุณและภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา อันเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสำรวจ เก็บรวบรวมพันธุกรรม และภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้าน และพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับการบริการวิชาการแก่ชุมชนใกล้เคียง และผู้รับบริการในเขตภาคเหนือตอนบน
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านในระยะต่อไปของโครงการ และผู้รับบริการนอกโครงการ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการดำเนินโครงการศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 2 : จำนวนผลงานที่นำไปบูรณาการกับการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา 2
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลงานที่นำไปบูรณาการกับงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 6 : จำนวนชนิดสมุนไพรที่รวบรวมและอนุรักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ชนิด 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการดำเนินโครงการศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการพัฒนาศูนย์รวบรวมอนุรักษ์เรียนรู้ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรพื้นบ้านแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/04/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์  ธาราฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดเก็บ รวบรวมปลูกเลี้ยงและดูแลพืชสมุนไพรท้องถิ่น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-ไม่มี-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล