15734 : โครงการการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยหอมทองในจังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์ปณิดา กันถาด (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/10/2563 15:41:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(เบิกจ่ายจากงบยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/05/2563  ถึง  30/11/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกรและผู้สนใจเยี่ยมชมแปลงสาธิต
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) 2563 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ปณิดา  กันถาด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 4.1.1 จำนวนโครงการที่ตอบสนองความต้องการของสังคม
กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมงานบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กล้วยหอมทองมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันและส่งออกต่างประเทศ โดยสายพันธุ์ที่นำมาใช้แต่เดิมมีการคัดพันธุ์ตั้งแต่ปี 2530 การผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีในภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อการส่งออกเริ่มมีการทำในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2526 หรือ มากกว่า 20 ปีที่ผ่านมา โดยที่มีการส่งออกเป็นกลุ่มแรก คือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เป็นกลุ่มเกษตรกรกลุ่มแรกซึ่งกล้วยหอมทองที่ปลูกในเประเทศไทย และตามด้วยสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จากข้อมูลปัจจุบันการจัดทำเอกสารข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี พ.ศ.2555 ผลผลิตได้ 233,200 ตัน ประมาณผลผลิต 2,710 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 5,587 บาทต่อตัน แต่ราคาที่เกษตรกรขายได้เพียง 5,065 บาทต่อตัน ซึ่งเกษตรกรขาดทุน และเมื่อแบ่งออกตามการค้าพบว่า บริโภคในประเทศ 231,031 ตัน ส่งออก 2,169 ตัน ราคาส่งออก 26,404 บาท คู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ส่วนคู่แข่งที่สำคัญ ฟิลิปปินส์เอกวาดอร์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,2555) จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้ว การส่งออกมีราคาต่อตันสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยราคาผลผลิต ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการซื้อขายโดยตรงกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตกับผู้บริโภคในต่างประเทศ ทั้งยังมีการทำสัญญาล่วงหน้าในราคาที่สูงคือ 15 บาทต่อกิโลกรัม พ.ศ.2559 และ 18 บาทต่อกิโลกรัม ในปี พ.ศ.2559 (การสัมภาษณ์, 2561) กล้วยหอมทองที่ปลูกเพื่อเป็นการค้าในประเทศไทยในช่วงแรกมีการส่งเสริมจากหน่วยงานของกลุ่มมีใช้หน่อที่มีอยู่ในท้องถิ่นและมีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดชุมพรนำมาปลูกที่จังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ซึ่งสายพันธุ์ต่างๆ ได้มีการพัฒนามาจากหลายพื้นที่นำไปปลูกทั่วทั้งประเทศไทย มีชื่อเรียกสายพันธุ์ที่ถูกจำแนกด้วยสถานที่ปลูก เช่น พันธุ์บ้านลาด พันธุ์ละแม อันเนื่องมาจากความหลากหลายของของสายพันธุ์กล้วยหอมทองที่มีอยู่ทำให้เกษตรกรมีความสงสัยในสายพันธุ์ที่นำมาปลูกว่ามาจากสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ ทั้งยังกังขาในเรื่องปริมาณผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ทางภาคใต้ของไทยด้วยเหตุผลนี้ กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จังหวัดชุมพร จึงมีความต้องการศึกษาถึงการที่ลักษณะภายนอกและลักษณะพันธุลักษณ์ของกล้วยหอมทอง ซึ่งอาจนำไปสู่การจำแนกและคัดสายพันธุ์กล้วยหอมทองของทั้งสองสายพันธุ์ในประเทศจึงมีความสำคัญต่อไป ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกันซึ่งนำมาปลูกแยกในจังหวัดชุมพรเป็นต้นมา โดยสายพันธุ์ปัจจุบันยังใช้สายพันธุ์ดั้งเดิมนั้นเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเริ่มเห็นลักษณะในความแตกต่างของกล้วยหอมทองที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม มาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 15 ปี โครงการการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยหอมทองในจังหวัดชุมพร ได้เริ่มการทดสอบการรวบรวมสายพันธุ์กล้วยในขั้นแรกเบื้องต้นพบว่ากล้วยหอมทองที่เคยเป็นสายพันธุ์เดียวกันเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วได้มีการแปลผันของสายพันธุ์เนื่องจากการกลายพันธุ์การแปรปรวนทำให้เขตภาคใต้ มีลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันไปยกตัวอย่างอย่างเช่นจำนวนหมีจำนวนผลต่อหวีซึ่งการทดลองเพราะความแปรปรวนทางพันธุกรรมค่อนข้างสูงจึงมีความเป็นไปได้มีความแปลปวนทางพันธุกรรมนี้จะส่งต่อที่ยังไม่ได้มีการสำรวจหรือภายในแปลงนั้นยังมีการเก็บตัวอย่างน้อยเกินไปจึงควรจะมีการรวบรวมและทำการทดสอบมาแล้วจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นพี่น่าจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่มีแปลงปลูกมากกว่า 15 ปีซึ่งเป็นการทดสอบทฤษฎีความผันแปรทางพันธุกรรม เนื่องจากว่ากล้วยหอมทองพี่ปูมีอัตลักษณ์และลักษณะทางประกันที่ค่อนข้างแคบไม่มีการผสมไม่มียีนส์อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องนอกจากกินของตัวเองผ่านแปลไปตามสภาวะพื้นที่และสิ่งแวดล้อมหนึ่งแล้วเวลายาวนานทั้งนี้การฝังแปดทางพันธุกรรมโดยเฉพาะการเกิดการกลายพันธุ์ทั้งในลักษณะจำนวนโครโมโซมและการขาดหายของโครโมโซมบางส่วนก็อาจมีผลต่อลักษณะทางกายภาพได้ทั้งนี้ ดาร์วินเสนอกลไกการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้นจากข้อสังเกตซึ่งเป็นสภาพธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตบนโลก คือ 1. การเพิ่มจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มในการผลิตรุ่นลูกจำนวนมาก ทำให้มีจำนวนประชากรมากเกินไป (Over population) 2. การแข่งขัน (Competition) มีการแข่งขันระหว่างสมาชิกในประชากรเพื่อความอยู่รอดการแข่งขันนี้ เป็นการแก่งแย่งทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะการแก่งแย่งสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่ เป็นต้น 3. ความแปรผันของลักษณะ (Variation) สมาชิกของประชากรจะมีความแตกต่างกันในรูปร่าง ลักษณะ อื่น ๆ โดยความแตกต่างนี้สามารถส่งทอดไปยังรุ่นลูก จากข้อสังเกตข้างต้น เมื่อทรัพยากรมีจำกัดประชากรที่มีจำนวนมากจะมี การแก่งแย่งกัน เฉพาะสมาชิกที่เหมาะสมในสภาวะแวดล้อมขณะนั้นเท่านั้นที่จะเหลือรอดชีวิตอยู่ได้(Survival to produce) และสามารถสืบพันธุ์ผลิตลูกหลานใน รุ่นต่อ ๆ ไปได้ จึงจะมีโอกาสในการส่งทอดลักษณะไปยังรุ่นลูก ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะในประชากรเกิดขึ้นช้า ๆ จนวิวัฒนาการเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ สรุปตามแนวคิดของดาร์วิน ก็คือสิ่งมีชีวิตหลากหลายสปีชีส์บนโลก มาจากการสืบทอดลักษณะที่เปลี่ยนไปของสปีชีส์ดึกดำบรรพ์ โดยกลไกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การคัดเลือกตามธรรมชาติและต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ทฤษฎีการคัดเลือกทางธรรมชาติ (Natural Selection) 1. สิ่งมีชีวิตในรุ่นลูกมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป เรียกว่า สิ่งมีชีวิตมีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variation) และลักษณะความแปรผันเหล่านี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ 2. สิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการผลิตลูกออกมาได้มากกว่าจำนวนลูกที่สามารถอยู่รอดจนถึงระยะตัวเต็มวัย (overproduction) 3. ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ แร่ธาตุ และแสงสว่างมีอยู่อย่างจำกัด ไม่เพียงพอที่จะให้ลูกของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นใหม่ทุกตัวสามารถใช้ได้ทั้งหมด ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาจึงต้องมีการแก่งแย่งแข่งขัน (competition) กัน 4. การแข่งขัน (competition) ที่เกิดขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะบางอย่างเหมาะสมเท่านั้นถึงจะมีชีวิตอยู่รอดได้ดี และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อๆ ไปได้ งานวิจัยดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการรวบรวมและการอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วยหอมทองภาคใต้ของไทยอันจะนำไปสู่การพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีและเหมาะสมต่อการผลิตกล้วยหอมทองต่อไปนี้ โดยลักษณะการทำโครงการจะแบ่งเป็น 2 กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กันคือ 1. กิจกรรมการเก็บรวบรวมสายพันธุ์และการสร้างแปลงเพื่อการทดสอบสักษณะทางกายภาพที่มีความแตกต่างของของกล้วยหอมทอง โดยมุ่งเน้นการรวบรววมสายพันธุ์กล้วยหอมทองในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร จากที่กลุ่มเกษตรกรได้ชี้เป้าหมายแปลงที่ใช้หน่อเดิมมาเป็นเวลามากกว่า 15 ปี และ กำหนดต้นที่มีลักษณะที่แตกต่างโดยเจ้าของแปลงนั้น โดยใช้ตัวอย่าง 5-10 ต้นต่อแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่งจะใช้ตัวอย่างแปลงเกษตรกร 15 แปลง ประมาณการว่าอาจได้ต้นพันธุ์ประมาณ 150 ต้น หลังจากกนั้นนำมาทำการปลูกในแปลงรวบรวมสายพันธุ์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพที่มีความแตกต่างกัน 2. กิจกรรมการทดสอบความแตกต่างของลักษณะทางพันธุกรรมกล้วยหอมทอง เนื่องจากกล้วยหอมทอง Musa acuminata (AAA Group) 'Gros Michel' เป็นพืชที่ปลูกมานานในจังหวัดเพชรบุรีเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยกล้วยหอมทองมักมีลักษณะกายภาพที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบว่าลักษณะที่แตกต่างกันเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งวิธีการจำแนกพันธุ์กล้วยมักจะจำแนกได้โดยใช้ลักษณะภายนอกร่วมกับการนับจำนวนโครโมโซมของกล้วย (เบญจมาศ, 2548) ในปัจจุบันมีการนำเครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกล้วยโดยเฉพาะเทคนิค RAPD (random amplified polymorphic DNA) (สุชาดาและคณะ, 2559 ; Mukunthakumar et al., 2013) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสของดีเอ็นเอเป้าหมาย ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ไพรเมอร์จะเข้าจับกับดีเอ็นเอเป้าหมายเป็นแบบไม่จำเพาะเจาะจง และมีปัญหาในการทำซ้ำ (สุรินทร์, 2552) จึงมีการดัดแปลงเทคนิค RAPD เช่น การเพิ่มอุณหภูมิในขั้นตอน annealing ให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถทำซ้ำได้มากขึ้น เรียกว่า เทคนิค HAT-RAPD (high annealing temperature random amplified polymorphic DNA) ซึ่งสามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยเช่นกัน (ฐิติพรและคณะ, 2556 ; กัลยาณีและคณะ, 2557) และ Xiong et al (2011) ได้พัฒนาเทคนิค ID-RAPD (intron derived RAPD) โดยออกแบบไพรเมอร์ให้มีความยาวประมาณ 15-18 นิวคลีโอไทด์ จากบริเวณจดจำในการตัดอินทรอน (branch point consensus) เพื่อให้แถบดีเอ็นเอมีความจำเพาะและสามารถทำซ้ำได้มากขึ้น ซึ่งเทคนิค ID-RAPD สามารถนำมาใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยได้ ในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้เทคนิค ID-RAPD มาศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยหอมที่ปลูกในจังหวัดชุมพร เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมและคัดสายพันธุ์กล้วยหอมทองในจังหวัดชุมพร
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยหอมทองในจังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การเก็บรวบรวมสายพันธุ์และสร้างแปลงเพื่อทดสอบทางกายภาพที่มีความแตกต่างของกล้วยหอมทอง
KPI 1 : รวบรวมตัวอย่างสายพันธุ์กล้วยหอมทอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
150 ต้น 150
ผลผลิต : การทดสอบความแตกต่างของลักษณะทางพันธุกรรมกล้วยหอมทอง
KPI 1 : ตัวอย่างสายพันธุ์ต้นกล้วยที่ใช้ในการวิเคราห์พันธุกรรม(DNA)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ตัวอย่าง 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การเก็บรวบรวมสายพันธุ์และสร้างแปลงเพื่อทดสอบทางกายภาพที่มีความแตกต่างของกล้วยหอมทอง
ชื่อกิจกรรม :
การเก็บรวบรวมสายพันธุ์และสร้างแปลงเพื่อทดสอบทางกายภาพที่มีความแตกต่างของกล้วยหอมทอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2563 - 30/11/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ปณิดา  กันถาด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาปลูกหน่อกล้วยหอมทอง จำนวน 1 งานๆ ละ 4,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาเตรียมพื้นที่ 1 ไร่ โดยทำการไถพรวน 2 รอบ คราดและทำการยกร่องแปลง จำนวน 1 งานๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ท่อน้ำ PVC, ข้อต่อ PVC และหัวสปริงเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยคอกมูลวัว, ปุ่ยคอกอินทรีย์, ปุ๋ยเคมี, จอบ,เสียม, ไม้คำยัน และถุงห่อผล ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าหน่อพันธุ์กล้วยหอมทอง จำนวน 300 หน่อๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 38,000.00 บาท 0.00 บาท 38,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 47000.00
ผลผลิต : การทดสอบความแตกต่างของลักษณะทางพันธุกรรมกล้วยหอมทอง
ชื่อกิจกรรม :
การทดสอบความแตกต่างของลักษณะทางพันธุกรรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2563 - 30/11/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ปณิดา  กันถาด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.จันทร์เพ็ญ  สะระ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น บัพเฟอร์,เจล,ไพเมอร์ และสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เป็นเงิน 53,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 53,000.00 บาท 0.00 บาท 53,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 53000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าทำให้การศึกษาทางกายภาพไม่สมบูรณ์
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับระยะเวลา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล