15706 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.รดาพร ทองมา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/4/2563 8:17:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/05/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการและกลุ่มชุมชน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน วิทยาลัยนานาชาติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน 2563 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย  ยมเกิด
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยนานาชาติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.5 สร้างและพัฒนาชุมชนเป้าหมายด้านบริการวิชาการ และแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism – CBT) เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวการที่จะให้ชุมชนดำเนินการท่องเที่ยวตามหลักการดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการ จัดการการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องรณรงค์กับคนในสังคมให้เห็นความแตกต่างของการท่องเที่ยว โดยชุมชนกับการท่องเที่ยวทั่วไป กระตุ้นให้คนในสังคมเห็นความสำคัญและเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นกำลังใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต่อ เนื่องในการทำงานอนุรักษ์ทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่มีแนวทางการดำเนินการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยเริ่มมีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) เป็นต้นมา ทั้งนี้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนนั้นพึ่งพาอยู่ โดยรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบตามทรัพยากรในการท่องเที่ยว (รําไพพรรณ, 2544ค: 119) กล่าวคือ รูปแบบที่ 1 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(eco tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตร(agrotourism) และการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาหรือศิลาสัญจร(litho travel) และรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม(cultural based tourism) ประกอบด้วย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(historical tourism) การท่องเที่ยวงานประเพณีวัฒนธรรม(cultural tourism) และการท่องเที่ยวดูวิถีชีวิตในชนบท(rural tourism or 6 village tourism) จังหวัดเชียงใหม่มีการท่องเที่ยงเชิงเกษตรที่ยั่งยืนมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยเกษตรอินทรีย์ (organic farming) ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ รักษาระดับผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างดี ตามหลักการเกษตรยั่งยืน โดยเป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงหลักการใน 4 มิติสำคัญ คือ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านนิเวศวิทยา มิติด้านความเป็นธรรม และมิติด้านการดูแลเอาใจใส่ ตามแนวทางสากลของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM : International Federation of Organic Agricultures Movement) โดยผลผลิตจากรระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทยในตลาดโลกได้หากสามารถพัฒนาการผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเฉพาะ (niche market) เมื่อพิจารณาตลาดของอาหารจากเกษตรอินทรีย์พบว่า มีการเติบโตมากถึง 15-20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี สินค้าที่ระลึกเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ โดยแต่ละแห่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและบริบทของชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น ในชุมชนแต่ละแห่งต้องมียุทธศาสตร์ในการผลิตและพัฒนาปรับปรุงสินค้าในการท่องเที่ยวควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมทั้งสินค้านั้นจะต้องมีคุณค่าและประสิทธิภาพควบคู่กันไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นการเติบโตของยอดขายผิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงจรเล่าต่อไปเรื่อยๆ การศึกษารายละเอียดของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและนักธุรกิจ การเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ช่วยให้สามารถวางแผนการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด กำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) ได้ถูกต้องและเหมาะสมส่วนภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ประกอบการ เป็นภาพรวมทั้งหมดของกิจการที่สามารถรับรู้จากประสบการณ์ หรือมีความรู้ความประทับใจ ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆโดยการกระทำหรือพฤติกรรมต่อกิจการ การบริหาร ผลิตภัณฑ์และการประชาสัมพันธ์ จะเข้ามามีบทบาทต่อภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ประกอบการด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวอันหลากหลาย โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีองค์ประกอบการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ได้แก่ การเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว เป็นที่แหล่งที่พัก เป็นแหล่งผลิตอาหารอินทรีย์ และเป็นแหล่งการผลิตวัตดิบหรือสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งนำมาสู่การจัดทำสินค้าที่ระลึก โดยปัจจุบัน จังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าและบริการเชิงเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานในระดับสากลมีจำนวนมากที่กำลังพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการแห่งใหม่แบบครบวงจร เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้น เกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย โดยการขยายกำลังการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เพียงพอต่อการรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว การสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีเอกลักษณ์ การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์และพันธมิตร รวมทั้งการสร้างรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนทั้งนี้เกิดจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพิ่มมากขึ้น อำเภอสันทรายเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีประชากรมาก มีการคมนาคมสะดวก เนื่องจากอยู่ใกล้อำเภอเมือง นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัย โครงการบ้านจัดสรร และโรงงานอุตสาหกรรมอีกลายแห่งอยู่ในพื้นที่ ทำให้อำเภอสันทรายมีลักษณะการผสมผสานทั้งประชากรดั้งเดิมและประชากรที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ตลอดจนประชากรแฝง จากข้อมูลที่อำเภอสันทรายเป็นอำเภอขนาดใหญ่อันดับ 2 ของจังหวัดเชียงใหม่ในแง่ของจำนวนประชากร จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญทำให้มีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต” โดยมุ่งเน้นความต้องการการขอรับบริการวิชาการแก่ชุมชนในเขตพื้นที่ของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม 1 (เทศบาลตำบลแม่แฝก เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว เทศบาลตำบลหนองหาร) ให้เป็นชุมชนต้นแบบมีเอกลักษณ์และเกิดมูลค่าเพิ่มที่มีคุณค่าและสามารถเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาการผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้าง อัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”
KPI 1 : ระดับผลผลิต : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ระดับผลลัพธ์ : มีองค์ความรู้ในการพัฒนาการผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 3 : ระดับผลผลิต : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 4 : ระดับผลลัพธ์ : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ระดับผลผลิต : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50000 บาท 50000
KPI 6 : ระดับผลผลิต : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ระดับผลผลิต : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ระดับผลลัพธ์ : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้าง อัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ “Sansai Go Local : เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ สันทรายเติบโต”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร.จิระชัย  ยมเกิด (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 30 บาท 4 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 คน ๆ ละ 150 บาท 2 มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
บรรยาย จำนวน 1 คน ๆ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 6 ชม. ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ,ปากกา,แฟ้ม และอื่น ๆ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002 ดร.จิระชัย
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล