15703 : โครงการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมเพื่อทำผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/4/2563 10:33:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มประชาชนในพื้นที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ / กลุ่มนักศึกษา นักเรียน และ เยาวชนผู้สนใจ / กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร วิสาหกิจชุมชุน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2563 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นักรบ  นาคประสม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย และคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ยุงเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ มันชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด เช่น แหล่งน้ำในครัวเรือน จึงต้องมีการควบคุมทั้งแหล่งกำเนิด และทำลายยุง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้มีการระบาดของภัยจากยุงลายในภาคเหนือ คือ ไข้เลือดออก และไวรัสซิกา โดยที่สถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 – 18 ตุลาคม 2559 พบว่ามีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับที่สอง (ตารางที่1) นอกจากนี้สยามรัฐออนไลน์ยังรายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 – 2 กันยายน 2559 มีจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมากลุ่มอายุ 15-24 ปี และกลุ่มอายุ 55-64 ปี ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อ.แม่แตง อ.ดอยสะเก็ด อ.แม่วาง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย ส่วนไวรัสซิกาในช่วงปี 2558 มีการรายงาน ว่าโรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโลก หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ สำหรับสถานการณ์ไวรัสซิกาของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 นายแพทย์ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวัง การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสถานการณ์ไวรัสซิกาของจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ติดเชื้อจากเดิม 7 คน และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 2 รายในวันที่ 1 กันยายน59 ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งผู้ป่วยรายใหม่ เป็นนักศึกษา ม.แม่โจ้ เพศหญิง อายุ 18 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 28 สิงหาคม 59 เข้ารับการตรวจด้วยอาการ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ เมื่อ 30 สิงหาคม 59 กระทั่งพบผลการติดเชื้อไวรัสซิกา และอีกรายเป็นเพศหญิง อายุ 74 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 31 สิงหาคม 9 เข้ารับการตรวจวันเดียวกัน ด้วยอาการออกผื่น ตาแดง และขณะนี้ทั้งสองรายรายมีอาการหายเป็นปกติแล้ว (สยามรัฐ, 2559) โรคที่มียุงเป็นพาหะดังกล่าวนอกจากจะทําให้เกิดการเจ็บป่วยและตาย ยังก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมากในทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และการหยุดทํางาน โดยทั่วไปการรักษามักจะรักษาตามอาการเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนในการฉีดป้องกัน ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุดในการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ การป้องกันไม่ให้ยุงกัดที่นิยมใช้กัน คือ การใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ไล่ยุง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารสังเคราะห์และเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันจึงมีการศึกษาและใช้สารจากธรรมชาติในการป้องกันยุงกัดมากขึ้น ได้แก่ สาร สกัดจากสมุนไพรที่มีกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหย (essential หรือ volatile oils) สารป้องกันยุงที่ได้จากธรรมชาติมีข้อดีกว่าสารเคมีสังเคราะห์ที่ไม่สะสมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ สารจากธรรมชาติจึงปลอดภัยต่อผู้ใช้ นอกจากนี้มักมีความจำเพาะกับชนิดของยุงด้วย จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับข้อมูลพื้นฐานของคณะผู้วิจัยในการวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ด้วยน้ำและไอน้ำ” ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2559 ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของการพัฒนากระบวนการกลั่นโดยการผลิตเครื่องกลั่นด้วยไอน้ำต้นแบบเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรต่างๆ ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบหลัก แล้วนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้นั้นมาทำผลิตภัณฑ์สเปรย์ไล่ยุง และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย ลดอันตรายจากการใช้สารเคมี และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม และการทำผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : จำนวนผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการกลั่นน้ำมันหอมระเหยและการทำผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมเพื่อทำผลิตภัณฑ์น้ำหอมไล่ยุง
- สำรวจความต้องการชุมชนรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- การให้ความรู้เกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันหอมระเหยโดยใช้เครื่องกลั่นไอน้ำและประยุกต์ใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนทำเครื่องกลั่น
- การทำรายงานและประเมินผลโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักรบ  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 50 เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท 0.00 บาท 14,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
ภาคปฏิบัติ จำนวน 2 คน ๆละ 300 บาท 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร แฟ้ม ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ตะไคร้หอม ฯลฯ เป็นเงิน 6,500 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เซรามิกระเหยน้ำหอม เอทิลแอลกอฮอล์ การบูร น้ำกลั่น ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
- วัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ภาชนะสแตนเลสใบละ กระทะสแตนเลสสองหู ผ้าขาวบาง เตาแก๊สพร้อมถัง น้ำแก๊ส LPG 15 กิโลกรัม ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท 0.00 บาท 31,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล