15684 : ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี คเณชาบริรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/3/2563 13:02:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืน นิสิต นักศึกษา นักวิจัย และ บุคลากรภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2569 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ระวี  คเณชาบริรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เรืองชัย  จูวัฒนสำราญ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.7 ส่งเสริม สนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม และปฏิบัติจริง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control of Insect Pests) เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยอาศัยหลักการใช้สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าศัตรูธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ควบคุมประชากรของศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ (ศมาพร, 2556) และนับว่าเป็นวิธีการบริหารจัดการแมลงศัตรูพืชทางเลือกอย่างหนึ่งที่ ช่วยลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงในการผลิตพืช โดยที่มีรายงานอ้างอิงว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้ทดแทนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ในหลายกรณี อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีในระยะยาว ทั้งในทางตรงด้านการผลิต และทางอ้อม เช่น ต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพของประชากร และด้านปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม (Pimentel et al., 2005) อีกทั้งเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการควบคุมศัตรูพืช (Pest control) ซึ่งโดยทั่วไปและเป็นส่วนใหญ่ มีการนำมาใช้เป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ไรศัตรูพืช สัตว์ศัตรูพืช และ วัชพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางการเกษตร และ สาธารณสุข และในปัจจุบัน ควรจะมีการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์หลักของการควบคุมศัตรูพืชในบริบทของ “ระบบการบริหารศัตรูพืชแบบบูรณภาพ” (Integrated pest management หรือ IPM system) ดังนั้นการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงเป็นกลไกหนึ่งสำหรับการขับเคลื่อนการเกษตรยั่งยืน (sustainable agriculture) การเกษตรอินทรีย์ (organic farming) และ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์และสมุนไพรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนโยบายของรัฐบาลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้มีแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กล่าวคือการ ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดย ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร ธรรมชาติ รวมถึงการทำเกษตรกรรมตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสนับสนุนบทบาทเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่จำเป็นในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้สารเคมีการเกษตรอย่าง เหมาะสมตามหลักวิชาการ เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการได้รับการสนับสนุนโครงการ พัฒนา “ศูนย์เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Control Technology Learning Center – MJU- BCTLC)” ภายใต้โครงการอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 -2561 ซึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ ณ บริเวณพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการดำเนินกิจกรรมด้านการบริการวิชาการ เช่นการฝึกอบรม การเปิดให้ศึกษาดูงาน และให้บริการเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ รวมทั้งการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างเป็นรูปธรรม โดยศูนย์ฯ ได้ตั้งพันธกิจหลักของศูนย์ฯ ได้แก่ (1) การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีสู่ตลาดแรงงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช ครอบคลุมทั้ง แมลงศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช (2) การสร้างองค์ความรู้ และผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทั้งด้านองค์ ความรู้และเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ในปัจจุบันในด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี และ (3) การสร้างเครือข่ายด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน และในส่วนผลการดำเนินงานที่แล้วเสร็จเช่น การจัดทำฐานข้อมูลด้านการควบคุมโดยชีววิธี โดยมีเป้าหมายการสร้างเครือข่ายภาครัฐ เกษตรกร และเอกชน จำนวนรวม 300 - 600 ราย/ปี การจัดฝึกอบรมและร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี อย่างน้อยปีงบประมาณละ 2 ครั้ง การบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาเรียนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 4 หลักสูตรในคณะผลิตกรรมการเกษตร และการผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น การเพาะเลี้ยงมวนตัวห้ำ ด้วงเต่าตัวห้ำ การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การใช้เทคโนโลยีด้านการควบคุมโดยชีววิธีในการผลิตพืชอินทรีย์ทุกชนิด และการให้บริการเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติแก่เกษตรกรและผู้สนใจหลากหลายชนิด ในการณ์นี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการฯ ด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะนำประโยชน์สู่สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ในอันที่จะเกิดการขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่สัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และมีความยั่งยืน โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 ได้มีการให้บริการทางวิชาการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วอย่างต่อเนื่องกว่า 1,250 ราย และ ในปีงบประมาณ 2564 นี้มีเป้าหมายหลัก คือ การเป็นที่พึ่งทางวิชาการด้านการควบคุมโดยชีววิธีแก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมหลักที่คาดว่าจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้แก่ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมโดยชีววิธีควบคู่ไปกับการรักษาศักยภาพการใช้บริการวิชาการด้านการเปิดให้เข้าศึกษาดูงานในพื้นที่สาธิตที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ในพื้นที่โดยประมาณ 6.5 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยสาธิตการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ หน่วยสาธิตการใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูพืช หน่วยสาธิตการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธี และหน่วยฝึกทักษะในการติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ และ/หรือการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้ศูนย์ฯ เป็นปัจจัยหลัก อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบุคลากรและ/หรือบัณฑิตด้านการควบคุมโดยชีววิธี จะมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนซึ่งเน้นการปฏิบัติจริงและการวิจัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการขับเคลื่อนสู่การเป็นผู้นำด้านการเกษตรที่ยั่งยืน และสองคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและรัฐบาลต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการด้านวิชาการ แก่กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญา และบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานบริการวิชาการอื่นๆ และเกษตรและประชาชนทั่วไป
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจน แนวทางการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เพื่อการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ในระบบการเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมโดยชีววิถีซึ่งประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ หน่วยฝึกอบรม และแปลงสาธิต
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
KPI 7 : มีการบูรณาการกิจกรรมด้านการเรียนการสอน และงานวิจัยกับกิจกรรมของศูนย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 วิชา 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมโดยชีววิถีซึ่งประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ หน่วยฝึกอบรม และแปลงสาธิต
ชื่อกิจกรรม :
ผลผลิต: ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ หน่วยฝึกอบรม และแปลงสาธิต
กิจกรรม:
- พัฒนาและรักษาศักยภาพการให้บริการด้านวิชาการด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (ความพร้อมสำหรับการเข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ ฯ ตลอดปีงบประมาณ) พัฒนาและดูแลแปลงสาธิต และองค์ประกอบภาพรวมของศูนย์
- พัฒนาและดูแลหน่วยเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ ซึ่งสามารถรักษาชนิดและปริมาณการผลิตที่เพียงพอสำหรับให้บริการแก่ผู้เข้ารับบริการ
- พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี สำหรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
- เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านการ ให้บริการวิชาการ บูรณาการกับการเรียนการสอน และการวิจัย แก่กลุ่มเป้าหมาย ผ่านการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และการจัดการเรียนการสอน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/04/2563 - 27/04/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี  คเณชาบริรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น ต้นกล้าพืชสำหรับแปลงสาธิต จอบ เสียม กระถางพลาสติก พลาสติกคลุมแปลงสาธิต สารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ เป็นเงิน 50,000 บาท และ วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ จานเลี้ยงเชื้อ สำลี และสารเคมีจำเป็นสำหรับการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติ เป็นเงิน 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เกิดความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ปรับรูปแบบกิจกรรมและตัวชี้วัดของกิจกรรมตามความเหมาะสมของงบประมาณและระยะเวลาของการดำเนินงาน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย002-ลงนามแล้ว
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอน รายวิชาเรียนรู้อิสระ ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
ช่วงเวลา : 01/07/2563 - 30/09/2563
ตัวชี้วัด
7.2 การพัฒนามหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยเรียนรู้
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
การนำหัวเชื้อชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติ จากงานวิจัย มาผลิตเพิ่มปริมาณสำหรับกิจกรรมการบริการวิชาการ
ช่วงเวลา : 01/04/2563 - 30/09/2563
ตัวชี้วัด
สมศ 6 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล