15682 : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเชลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธ์ุสมุนไพรปลอดโรค
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/4/2563 11:04:30
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ เกษตรกร หน่วยงานเอกชน และประชาชนผู้สนใจในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อื่นๆ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 50,000 บาท 2563 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. เทิดศักดิ์  โทณลักษณ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.7 ส่งเสริม สนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม และปฏิบัติจริง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีพรรณไม้นานาชนิดที่เจริญเติบโตได้ดีในทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสูง โดยพืชหลายชนิดมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก หนึ่งในชนิดนั้นก็คือ พืชสมุนไพร ซึ่งอยู่คู่มากับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ และมนุษย์ได้รู้จักใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ ด้วยความรู้และประสบการณ์รักษาโรคได้มีการสืบทอดและพัฒนาถึงขั้นจัดทำขึ้นเป็นตำรายาสมุนไพร ปัจจุบันความนิยมสมุนไพรและการดูแลสุขภาพแนวธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการผลิตและใช้ยาจากสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนหลายแห่ง มีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อลดการเสียดุลจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพยายามส่งออกสินค้าสมุนไพรเพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งประเทศไทยนั้นมีถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตยาสมุนไพรเป็นการค้า สำหรับใช้ในประเทศเพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งรวมของพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลาย โดยความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสมุนไพร ทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและนำมาปลูกเพื่อการค้า ความต้องการใช้วัตถุดิบสมุนไพรมีเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งการนำมาปรุงแต่งอาหาร อุตสาหกรรมยา และอื่นๆ จึงเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยควรเร่งขยายการผลิตสมุนไพรให้พืชเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อมีการส่งเสริมการปลูกให้เพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ต้นพันธุ์ที่จะนำมาปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร อีกทั้งเมื่อมีการนำต้นพันธุ์ออกจากป่ามากขึ้นทำให้ต้นที่มีเหลืออยู่ในป่ามีปริมาณที่ลดลง ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายของพืชสมุนไพร ซึ่งอาจเกิดการสูญพันธุ์ได้ ดังนั้นในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็วนั้นสามารถนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงควรมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคให้แก่ผู้สนใจ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นศาสตร์ที่มีการนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นนำไปใช้เพื่อการขยายพันธุ์พืชให้ได้ปริมาณมาก นำไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ แม้กระทั่งนำไปใช้ในการเก็บรักษาพันธุ์พืชที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยขั้นสูงอีกมากมาย ในประเทศไทยได้ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสมุนไพร จึงทำให้มีผู้สนใจที่จะเรียนรู้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆ อาทิ การขยายพันธุ์ การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค การปรับปรุงพันธุ์ การถ่ายยีนส์ และการผลิตสารสำคัญในระดับเซลล์ เนื่องจากมีการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้แพร่หลายมากขึ้น และผู้ที่เรียนรู้เทคนิคดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพอิสระส่วนบุคคลได้ อีกทั้งสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหลายแห่ง ได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนการสอนวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการและเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการนำไปใช้ประโยชน์ที่ถูกต้อง จึงได้เปิดสอนวิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร (Medicinal Plant Tissue Culture) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้น อีกทั้งสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพรยังเล็งเห็นว่ายังมี นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ เกษตรกร พนักงานเอกชน และประชาชนอีกหลากหลายอาชีพที่มีความสามารถและสนใจใคร่เรียนรู้ศาสตร์ทางด้านนี้ โดยเฉพาะคณาจารย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการสาขานี้ให้กับนักเรียน สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพรจึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคขึ้น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในหลักการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร โดยให้ผู้ศึกษาดูงาน หรือเข้าอบรมได้เรียนรู้หลักและวิธีการในการเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร การเพาะเลี้ยงในสภาพควบคุม การเปลี่ยนถ่ายอาหาร การเพาะเลี้ยงเซลล์ การย้ายปลูก และเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ถาวรในด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร การผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค และการผลิตพืชสมุนไพรเชิงการค้า
2. เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมทราบถึงหลักและวิธีการการเพาะเซลล์และเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
3. สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมไปใช้ในการถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
4. สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าศึกษาดูงานและรับการอบรมไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
KPI 1 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงานตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 20 คน 90
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าอบรมการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ครั้ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 4 : ร้อยละของผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานหรือ/และเข้ารับการอบรมได้รับความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป จากความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าศึกษาดูงานหรือ/และเข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 6 : จำนวนศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ห้อง 1
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศูนย์เรียนรู้การเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร และการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 เป็นสถานที่ศึกษาดูงานเรื่องการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรค
กิจกรรมที่ 2 อบรมการผลิตกล้าพันธุ์สมุนไพรปลอดโรคโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ครั้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/04/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์  โทณลักษณ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ ได้แก่ สารเคมี Ammonium nitrate, Potassium nitrate, Potassium di-hydrogen phosphate, Boric acid, Manganese (II) sulphate monohydrate, Zinc sulphate, Potassium iodide, Sodium molybdate, Glycine, Copper (II) sulphate, Cobalt (II) chloride, Nicotinic acid, Magnesium sulphate, Calcium chloride, Myo-Inositol, EDTA di-Sodium salt, Pyridoxine hydrochloride, 6-Benzylaminopurine, Naphthaleneacetic acid, Thiamine hydrochloride จำนวน 40,000 บาท
วัสดุเกษตร ได้แก่ วัสดุสำหรับอนุบาลต้นกล้า พีทมอส แกลบเผา กระบะเพาะกล้า ถาดเพาะกล้า ถุงดำ ดินผสมปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล