15608 : โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agripreneurship) สมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่สังคมศตวรรษที่ 21
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 4/3/2563 13:37:24
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/03/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  600  คน
รายละเอียด  นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 500 คน และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการพื้นฐานมหาวิทยาลัย 2563 1,200,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.3 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นให้ทันสมัย เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่นผู้สูงอายุ หรือคนรุ่นใหม่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.1 จำนวนกิจกรรม/โครงการที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม/โครงการ ที่ให้บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจวัฒนธรรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดลประเทศไทย 1.0 ที่เน้นภาคการเกษตร โมเดลประเทศไทย 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา ประเทศไทย 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก และปัจจุบันได้ก้าวสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยยึดตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 –2579) คือ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”นําไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ อาจกล่าวได้ว่าโมเดลประเทศไทย 4.0 เป็นความมุ่งมั่นที่จะต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Value-Based economy โดยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 มิติที่สำคัญคือ 1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม 2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3) เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสำเร็จได้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา อันเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างคน ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังเช่นอารยประเทศต่าง ๆ ที่เน้นให้คนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา 4.0 (Education 4.0) ของประเทศไทย ที่เน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียน สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลกมาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม และปัจจัยหลักที่จะทำให้การศึกษา 4.0 สามารถสร้างและพัฒนาคนให้สามารถค้นหาความรู้ต่าง ๆ มาเชื่อมโยงและประยุกต์เข้ากับงานที่ทำ สามารถต่อยอดและพัฒนาได้คือ การใช้เทคโนโลยีที่เกิดความคุ้มค่า อันได้แก่ การใช้อินเตอร์เน็ต (Internet) อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาความรู้ เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ดังนั้นการศึกษาต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายและใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้หลักสูตรการเรียนควรส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ควรสอนให้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดนอกกรอบหรือต่อยอดจากตำราเรียน และการปฏิสัมพันธ์กับสังคม (Social Interaction) เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และทำงานร่วมกันในสังคมได้ การเตรียมการศึกษาเพื่อก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีปัจจัยหลายประการที่ต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา บุคคลากรทางการศึกษา โดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มปฏิรูปการศึกษา เช่นได้กำหนดนโยบาย 2 ภาษา (Bilingual Policy) และสร้างทักษะด้านวิชาชีพเพื่อเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรม การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของการศึกษา การปรับปรุงตำราและระบบการประเมินให้สอดคล้องกับหลักสูตรและทักษะในศตวรรษที่ 21 การที่จะเป็นการศึกษา 4.0 ทุกอย่างต้องผ่านการวางแผนเพื่อสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่ดี และต้องใช้ความอดทนและต้องดำเนินงานในทุกภาคส่วนของการศึกษาไปพร้อม ๆกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการและความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบุคลากรและการสร้างนวัตกรรมในการขับเคลื่อนพัฒนาทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้และปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ที่ยึดพื้นที่และผู้เรียนเป็นศูนย์กลางพัฒนาที่เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างเข็มแข็ง การศึกษาเป็นกลไกในการพัฒนา ส่งเสริมและปลูกฝังแนวความคิดให้กับพลเมืองและเยาวชนของชาติ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของสมรรถนะ ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (Long Terms Competitiveness) ที่เป็นหัวใจและบริบทที่สำคัญของการออกแบบภายใต้การขับเคลื่อนการปฏิรูปทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาอันเชื่อมโยงกับมนุษย์และสังคมในพลวัตของการก้าวผ่านจากศตวรรษที่ 21 ไปสู่ศตวรรษที่ 21 และจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลก ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และการศึกษา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการที่ดี และการจัดการศึกษาเป็นอีกประเด็นสำคัญ นอกจากจะต้องก้าวทันความเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังจะต้องเป็นกลไกเพื่อการขับเคลื่อนภาคส่วนอื่น ๆ ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปการศึกษาและการจัดการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกภาคส่วนที่จะต้องดำเนินการ และจะสำเร็จได้ก็ต้องผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมรับกับความท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทักษะสำคัญสำหรับคนยุคศตวรรษที่ 21 และการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการ (Management) การมีทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีประสิทธิภาพที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาต่อไป การพัฒนาการศึกษา 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ฐานความรู้ (Knowledge-based Economic) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ การใช้และต่อยอดองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science, Technology, Innovation) อันมาจากผลลัพธ์ของระบบการจัดการ ทั้งการเข้าถึง ความเท่าเทียม คุณภาพ ประสิทธิภาพ ที่ตอบโจทย์การก้าววทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ (Identity) จากพลเมืองไทย สู่ความเป็นคนไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพลเมืองโลก (Global-Thai) ซึ่งคือ ความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในประชาคม เครือข่ายของประชาคม และการปลุกจิตสำนึกต่อตนเองและประชาคม การปรับเปลี่ยนจุดเน้น (Reorientation) จากการเน้นสร้างคนเพื่อป้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบโจทย์สังคมอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวสู่การเน้นของการสร้างความเติบโตเพื่อรองรับการสร้างและปลดปล่อยพันธนาการ ศักยภาพ สมรรถนะ ประสิทธิภาพ คุณภาพและความยั่งยืนของผู้คนในสังคม (Growth for People Sustainable) ที่เกิดการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของการเชื่อมั่นในการพัฒนา การเสริมสร้างภาวะผู้นำและการเสริมสร้างพลังอำนาจ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifted) จากการพยายามเอาชนะธรรมชาติ ไปสู่การอยู่รวมกับธรรมชาติ การพัฒนายั่งยืน การบูรณาการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมและสมดุลย์ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมสู่การทำงานร่วมกันลักษณะเกื้อกูล แบ่งปัน และการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่โลกที่หนึ่ง (First World Nation) อาจกล่าวได้ว่า แนวทางการจัดการศึกษาของไทยมีแนวโน้มของการมุ่งสู่การขับเคลื่อน ไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ในหลายด้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ของบุคลากรทางการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และด้านการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการมุ่งเข้าสู่อาชีพ ด้วยเหตุนี้ ในปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติและมหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร จึงได้จัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของสถานการณ์โลกปัจจุบัน และเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งเน้นเป็นสถาบันคลังสมองของชาติด้านการเกษตร โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา มีคุณลักษณะที่สำคัญและทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นพลเมืองของโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถมีแนวทางในการประกอบอาชีพอิสระของตนเองได้อย่างยั่งยืน อันเป็นการหลอมรวมสู่พลังสร้างสรรค์ การยกระดับคุณภาพและสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้มีความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (OrganicAgripreneurship) สมัยใหม่
2. เพื่อยกระดับคุณภาพและสมรรถนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้มีคุณภาพทางด้านการทำเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agripreneurship) สมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่สังคมศตวรรษที่ 21
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1.2 ล้านบาท 1.2
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 ร้อยละ 50
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
600 คน 600
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agripreneurship) สมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่สังคมศตวรรษที่ 21
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนานักศึกษาเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agripreneurship) สมัยใหม่ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 150,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 70,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอภิปรายเสวนา จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 70 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 35,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำใบประกาศนียบัตร จำนวน 500 แผ่น ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 270,000.00 บาท 0.00 บาท 270,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 48,000 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 48,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 24,000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 72,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 192,000.00 บาท 0.00 บาท 192,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 50,000 บาท
2. ค่าวัสดุการเกษตร เป็นเงิน 403,400 บาท
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 20,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 498,400.00 บาท 0.00 บาท 498,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 960400.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนานักศึกษาเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agripreneurship) สมัยใหม่ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ฉัตรสูงเนิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์  ทองสง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 28,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอภิปรายเสวนา จำนวน 100 คน ๆ 2 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำใบประกาศนียบัตร จำนวน 100 แผ่น ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 105,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 105,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 8 คน ๆ ละ 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 19,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 26,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 26,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 15,000 บาท
2. ค่าวัสดุการเกษตร เป็นเงิน 58,200 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 15,000 บาท
4. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 108,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 108,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 239600.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในประเทศไทย ทำให้มีการขยายประกาศการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแพร่ ประกอบกับประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง เปลี่ยนแปลงปฏิทินการศึกษา ประจำภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ๒) ได้กำหนดวันเข้าชั้นเรียนแบบปกติ เป็นวันจันทร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการฯแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์และบรรลุตัวชี้วัดที่วางไว้ จากเดิมต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ในกิจกรรมที่ 1 จึงขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการ, การเบิกจ่ายงบประมาณ และขอกันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปี เป็นระยะเวลา ๓ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล