15604 : โครงการการพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
นางณิชาพล บัวทอง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/3/2563 16:27:31
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/03/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  อาจารย์ คุณครู นักศึกษา นักเรียนและผู้ที่สนใจ (1) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (2) โรงเรียนละแมวิทยา (3) โรงเรียนบ้านดอนแค (4) โรงเรียนบ้านควนสูง (5) โรงเรียนชุมชนบ้านเขาหลาง (6) โรงเรียนท่าชนะ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 2563 750,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง ณิชาพล  บัวทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. บุญศิลป์  จิตตะประพันธ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการวิชาการจากต่างประเทศ (Vision KPI)
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 4. การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 4.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 4.1.3 จำนวนหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่เปิดให้บริการวิชาการแก่สังคม
กลยุทธ์ 3. พัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่อให้เอื้อสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งมีความจำเป็นต้องพัฒนาทุกๆ ด้าน อาทิด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านการเกษตร แต่ทั้งนี้รากฐานการพัฒนาที่สำคัญคือการพัฒนาการศึกษาก่อนอันดับแรก ซึ่งทุกความสำเร็จย่อมเริ่มต้นมาจากสถาบันการเรียนการสอนที่เข้มแข็ง ด้วยประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ มีพรรณไม้หลายชนิดที่เจริญเติบโตได้ในทุกภาคทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย พืชกลุ่มหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์มากคือ พืชสมุนไพร มีควบคู่มากับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ทำให้หมอพื้นบ้านรู้จักใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ ด้วยความรู้และประสบการณ์รักษาโรคได้สั่งสมสืบทอด และพัฒนาถึงขั้นจัดทำเป็นตำรายาสมุนไพร ประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กระแสความนิยมสมุนไพร และการดูแลสุขภาพได้ปรากฏชัดเจนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มีการผลิตและใช้ยาจากสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน การนำการแพทย์แผนไทยเข้าไปเป็นทางเลือกของการรักษาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 - 2544 ด้วยการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อลดการสูญเสียเงินจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และพยายามส่งออกสินค้าสมุนไพรเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้สมุนไพรเป็นปัจจัยหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2542 การตลาดพืชสมุนไพรในประเทศมีมูลค่าสูงถึง 3,800 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากรวมสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมและเครื่องสำอางสมุนไพรเข้าไปด้วยแล้ว มีมูลค่าตลาดสูงถึง 30,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20 - 25 จากการคาดการของบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ในปี 2543 มูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจะพุ่งขึ้นสูงกว่า 39,000 ล้านบาท และยังมีอัตราการขยายตัวของตลาดสูงถึงร้อยละ 30 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา นอกจากนี้พบว่ามูลค่า การบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2540 มีมูลค่าการบริโภค ถึง 800,000 ล้านบาท หรือในทวีปยุโรป ในปี 2538 มีมูลค่าการบริโภคถึง 250,000 ล้านบาท (กรมส่งเสริมการส่งออก, 2542) สำหรับประเทศไทยพบว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตเป็นการค้าสำหรับใช้ในประเทศเพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ โดยประเทศไทยมีการนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นตัวยาสำคัญและยาสำเร็จรูปมูลค่า 25,784 ล้านบาท (กรมส่งเสริมการส่งออก, 2542) ตลอดจนผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งรวมของพืชสมุนไพรที่มีความหลากหลายมากกว่าหมื่นชนิด โดยความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นประกอบกับ ประเทศไทยมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสมุนไพรทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และนำมาปลูกเพื่อการค้า ความต้องการใช้สมุนไพรมีขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งในด้านการบริโภคโดยการนำมาปรุงแต่งอาหาร และในอุตสาหกรรมยา จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยควรเร่งขยายการผลิตพืชสมุนไพรให้เป็นการค้า และเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อมีการส่งเสริมการปลูกให้เพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือ ต้นพันธุ์ ที่จะนำมาปลูก ถึงแม้ว่าจะนำต้นพันธุ์ที่ได้มาจากป่ามาปลูกเพื่อผลิตในเชิงการค้า เมื่อมีการนำต้นพันธุ์ออกจากป่ามากขึ้นทำให้ต้นที่มีเหลืออยู่ในป่ามีปริมาณที่ลดลง ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายของพรรณไม้เสียหาย ดังนั้นในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็วสามารถนำเทคโนโลยีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นที่ต้องมีการส่งเสริมสถาบันการเรียนการสอนให้มีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และพืชสมุนไพรอย่างครบวงจร เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพราะสมุนไพรไทยนี้ มีค่ามาก พระเจ้าอยู่หัว ทรงฝาก ให้รักษา แต่ปู่ย่า ตายาย ใช้กันมา ควรลูกหลาน รู้รักษา ใช้สืบไป เป็นเอกลักษณ์ ของชาติ ควรศึกษา วิจัยยา ประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมัย รู้ประโยชน์ รู้คุณโทษ สมุนไพร เพื่อคนไทย อยู่รอด ตลอดกาล ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
สร้างรากฐานและพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน เพื่อการขยายพันธุ์พืชในเวลาที่รวดเร็วให้กับความต้องการของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ศึกษาพัฒนาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อและชักนำให้เกิดต้น/ราก
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 80 80 ร้อยละ 80
KPI 2 : งบดำเนินงาน : ค่าตอบแทน, ค่าใช้สอย, ค่าวัสดุ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 643200 106800 บาท 750000
KPI 3 : การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 1 1 ปีงบประมาณ 1
KPI 4 : จำนวนผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0 120 80 คน 200
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ศึกษาพัฒนาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อและชักนำให้เกิดต้น/ราก
ชื่อกิจกรรม :
ศึกษาพัฒนาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อและชักนำให้เกิดต้น/ราก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางณิชาพล  บัวทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.สายทอง  สุจริยาพงศ์พร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ  ศุภวิญญู (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์นาตาลี อาร์  ใจเย็น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา  สว่างอารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 40 คนๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 90,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 40 คนๆ ละ 3 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 42,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 200 ชุดๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุดๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 5 เล่มๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 94,200.00 บาท 56,800.00 บาท 151,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคบรรยาย) จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 1 วันๆ ละ 7 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 21,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (ภาคปฏิบัติ ) จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 2 กลุ่มๆ ละ 2 คนๆ ละ 2 วันๆ ละ 7 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 84,000 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คนๆ ละ 20 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท 50,000.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (ขวดแก้ว, วุ้น, ผงถ่าน, สารเคมี ฯลฯ) เป็นเงิน 196,000 บาท
- ค่าวัสดุการเกษตร (กระถาง, ดินปลูก, ถาดปลูก, ถุงดำ, จอบ, เสียม, คลาด ฯลฯ) เป็นเงิน 90,000 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน (กระดาษ, ปากกา, แฟ้ม ฯลฯ) เป็นเงิน 45,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (หมึกพิมพ์) เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวัสดุก่อสร้าง (ไม้, ไม้อัด, ตะปู, กระจก, กาว ฯลฯ) เป็นเงิน 83,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (มีด, กะละมัง, กระดาษชำระ ฯลฯ) เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 474,000.00 บาท 0.00 บาท 474,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 750000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การปนเปื้อนเชื้อราและแบคทีเรีย, การดูแลรักษาไม่ต่อเนื่อง
ปัญหาเรื่องของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการบางโรงเรียนมีนักเรียนน้อย
ปัญหาสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เก็บไว้ในกล่องใสพร้อมให้แสงด้วยหลอดไฟ, ติดตามบ่อยขึ้น
บางโรงเรียนนักเรียนน้อยจึงมีนักเรียนระดันประถมศึกษาร่วมด้วยและต้องอบรมด้วยความระมัดระวังและอธิบายอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
3. ประสานงานกับโรงเรียนเพื่อวางแผนกำหนดปฏิทินใหม่ พร้อมวางแผนมาตรการในการจัดกิจกรรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
1/10/2562-30/09/2563
ช่วงเวลา : 01/03/2563 - 30/09/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร
ช่วงเวลา : 01/03/2563 - 30/09/2563
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล