15584 : โครงการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยถ่านชีวภาพและสารชีวภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 5/3/2563 13:52:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/03/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  เกษตรกร คนในชุมชนที่สนใจทำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2563 2,000,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.5 สร้างและพัฒนาชุมชนเป้าหมายด้านบริการวิชาการ และแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก การเพาะปลูกโดยทั่วไปนั้นมีการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย เกิดการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หนทางที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงต่อยาฆ่าแมลงในอาหารของคุณคือการบริโภคสินค้าอินทรีย์ อาหารอินทรีย์ที่ได้รับการตรวจรับรองทั้งผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ มีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนยาฆ่าแมลงน้อยกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงนั้นไม่ได้ส่งผลต่อแมลงเป้าหมายเท่านั้น แต่มันส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่ได้รับพิษจากมันโดยตรง ทั้งปนเปื้อนในแหล่งน้ำ หรือแม้กระทั่งทำลายระบบนิเวศน์ หลายคนอาจไม่ตระหนักว่า ยาฆ่าแมลงกว่า 300 ชนิดได้ถูกใช้ในการทำเกษตรทั่วไป และปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไปแม้จะผ่านการล้างทำความสะอาดและผ่านการปรุงสุกแล้ว มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่อนุญาตให้ใช้สารกำจัดแมลงสังเคราะห์ และห้ามโดยสิ้นเชิงไม่ให้ใช้สารกำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเสต แต่อนุญาตให้ใช้สารกำจัดแมลง 20 ชนิดที่ได้จากส่วนประกอบธรรมชาติ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ลดการแทรกแซงธรรมชาติ โดยการปลูกพืชหมุนเวียนและสร้างความหลากหลายโดยเลือกพืชที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช เกษตรกรอินทรีย์จึงสามารถจะลดปัญหาโรคพืช และลดความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีลง อย่างไรก็ตามการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ มากมายทั้งทางตรงซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีเอง หรือทางอ้อมจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ หรือการไหลบ่า เป็นสาเหตุทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัยขาดความน่าเชื่อมั่นจากผู้บริโภคและไม่สามารถทำการตลาดได้อย่างที่ควรจะเป็น กระแสการบริโภคอาหารปลอดภัย อาหารกรีน อาคารคลีน อาหารอินทรีย์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่การผลิตอาหารดังกล่าวต้องใช้ทั้งความเชี่ยวชาญ และความใส่ใจเป็นอย่างสูง ทำให้เกษตรกรจำนวนมากยังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเดิม ๆ มาเป็นการผลิตอาหารปลอดภัยได้ การยกระบบการเพาะปลูกพืชเพื่อผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรปลอดภัย ครอบคลุมทุกกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เริ่มตั้งแต่จากขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ การบริหารจัดการปัจจัยการเพาะปลูก การอารักขาพืช การเก็บเกี่ยว ระบบมาตรฐาน และระบบตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนถึงการจำหน่ายและการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักการเกษตรอินทรีย์ สหพันธ์การเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ ได้นิยามหลักการของการทำเกษตรอินทรีย์ไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านสุขภาพ (health) เกษตรอินทรีย์ มีดินที่อุดมสมบูรณ์ที่ส่งเสริมต่อการเติบโตของพืชสำหรับใช้เป็นอาหารของสัตว์ และมนุษย์ ดินที่ปราศจากสารพิษก็ย่อมไม่มีสารพิษในพืช พืชที่ไม่มีสารพิษทั้งที่มาจากดินหรือการฉีดพ่นของมนุษย์ ก็ย่อมทำก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์หรือมนุษย์ที่รับประทานเข้าไป 2. ด้านนิเวศวิทยา (ecology) เกษตรอินทรีย์ เป็นรูปแบบการเกษตรที่เกื้อหนุนให้ทรัพยากรในระบบนิเวศวิทยาดำเนินตามวัฏจักรที่เป็นไปตามธรรมชาติ และเกิดการต่อเนื่องสมดุลกัน ทรัพยากรแต่ละอย่างทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นหรือลดน้อยจนทำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล ทั้งทรัพยากรดิน น้ำ จุลินทรีย์ และสัตว์ ดังนั้น การทำการเกษตรใดๆจะต้องเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ ทั้งระบบนิเวศในแปลงเกษตร 3. ด้านความเป็นธรรม (fairness) เกษตรอินทรีย์ ช่วยส่งเสริมในด้านความเป็นธรรมของทรัพยากร อันหมายถึง การส่งเสริมความเป็นธรรมในสิทธิของชนิดทรัพยากร สิทธิของมนุษย์ต่อการกระทำ และการใช้ทรัพยากร และสิทธิของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเองในการบริโภคทรัพยากรนั้นๆ 4. ด้านการดูแลเอาใจใส่ (cares) การทำเกษตรอินทรีย์ มิใช่จะปล่อยให้ธรรมชาติจัดการเองในทุกเรื่อง แต่เกษตรกรหรือผู้ทำเกษตรอินทรีย์เองจะคอยร่วมจัดการ และส่งเสริมให้เกิดความสมดุล เกษตรอินทรีย์ เป็นวิธีที่ใช้ในกระบวนการผลิต ที่มักใช้ร่วมกับรูปแบบการเกษตรอื่นๆ อาทิ เกษตรแบบผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่ง 2 รูปแบบนี้ ถือเป็นการเกษตรในเชิงแบบแผนหรือการวางโครงสร้าง ส่วนเกษตรอินทรีย์จะเป็นเกษตรในเชิงวิธีการผลิต ซึ่งจะนำไปใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ในด้านการไม่พึ่งสารเคมีสังเคราะห์ ด้วยการใช้วัสดุอินทรีย์ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆเป็นหลัก นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่มีต่อภาคการผลิตทางด้านการเกษตร เป็นการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี โดยมีกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพอาศัยความร้อนเพื่อทำให้เกิดการแยกสลายแล้วจะให้พลังงานทดแทนที่สามารถนำไปใช้ในชุมชนและอุตสาหกรรมได้ ช่วยผลิตพลังงานทดแทน ถ่านชีวภาพผลิตจากชีวมวลรวมถึงเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดเป็นต้น ทำให้ช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรียวัตถุได้ เป็นในการกำจัดของเสียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในระยะยาวได้ด้วยการกักเก็บคาร์บอนไว้ในถ่านแล้วนำถ่านไปใช้ในดิน การปรับปรุงดินโดยใช้ถ่านชีวภาพเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน ลดภาวะโลกร้อน และลดความยากจนเป็นยุทธศาสตร์ทำหนึ่งได้สาม ตามในรูปของวงจรย้อนกลับระหว่างองค์ประกอบของระบบจัดการทรัพยากรแบบยั่งยืน ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากเศษวัสดุทางการเกษตร และมูลสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่าง ๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่งการทำงานของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน และอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิด ให้แก่พืช ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพดังรูปที่ 2 ที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพยังประกอบด้วยถ่านชีวภาพที่เป็นวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ใช้ช่วยปรับปรุงดินและผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากลักษณะความเป็นรูพรุนจะช่วยกักเก็บน้ำและอาหารในดิน ช่วยระบายอากาศ ลดความเป็นกรด และเป็นที่อยู่ให้กับจุลินทรีย์สำหรับทำกิจกรรมเพื่อสร้างอาหารให้ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้น ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้ลดต้นทุน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยเพิ่มรายได้ ให้กับเกษตรกร ครัวเรือนและชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. ส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยใช้สารชีวภาพ เช่น ถ่านชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สารชีวภาพอื่นๆ เป็นต้น
2. ให้ความรู้กับเกษตรกร คนในชุมชนในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต และสนับสนุนการพัฒนาระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เชิงปริมาณ
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
250 250 500 คน 500
KPI 2 : ได้ระบบการผลิต/ปัจจัยการผลิต/เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะ/สมจำนวนที่ใช้สารชีวภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 5 ระบบ 5
ผลผลิต : เชิงคุณภาพ
KPI 1 : จำนวนร้อยละของเกษตรกร ที่ได้รับการยกระดับเป็นฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 10 ร้อยละ 20 20
ผลผลิต : เชิงเวลา
KPI 1 : พัฒนาฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่และเกษตรปลอดภัย
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 1 ปี 100
ผลผลิต : เชิงค่าใช้จ่าย
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1556000 201000 243000 2,000,000 บาท 2000000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เชิงปริมาณ
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำฐานเรียนรู้ระบบการผลิต/ปัจจัยการผลิต/เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมที่ใช้สารชีวภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาฐานเรียนรู้การผลิตถ่านชีวภาพสำหรับเกษตรอินทรีย์ (จำนวน 1 ฐาน ๆ ละ 140,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาฐานเรียนรู้การผลิตวัสดุปลูกสำหรับเกษตรอินทรีย์ (จำนวน 1 ฐาน ๆ ละ 140,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาฐานเรียนรู้การผลิตสารชีวภัณฑ์สำหรับเกษตรอินทรีย์ (จำนวน 1 ฐาน ๆ ละ 140,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาฐานเรียนรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยถ่านชีวภาพและสารชีวภัณฑ์ (จำนวน 1 ฐาน ๆ ละ 170,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 170,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 170,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 590000.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้กับเกษตรกร ในการผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยใช้สารชีวภาพ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตโดยใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาพร  คำแดง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะผู้เข้าอบรม (จำนวน 500 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 ครั้ง 100,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 50,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 500 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท = 75,000)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 37,500.00 บาท 37,500.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่าง (จำนวน 500 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท =35,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 17,500.00 บาท 17,500.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารฝึกอบอบรม (จำนวน 4 ฐาน ๆ ละ 70 บาท จำนวน 500 เล่ม = 140,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ (จำนวน 4 ฐาน ๆ ละ 3 บาท จำนวน 500 แผ่น = 6,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร (จำนวน 500 คน ๆ ละ 10 แผ่น ๆ ละ 1 บาท = 5,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 140,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 150,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุโฆษณาและเผยแพร่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุก่อสร้าง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 150,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุไฟฟ้า
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 125,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 75,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1161000.00
ผลผลิต : เชิงคุณภาพ
ชื่อกิจกรรม :
ติดตามผลการดำเนินการและวิเคราะห์ผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ผลการดำเนินการและวิเคราะห์ผล ของการจัดอบรมในแต่ละชุมชน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท 32,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32000.00
ผลผลิต : เชิงเวลา
ชื่อกิจกรรม :
จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ผลผลิต : เชิงค่าใช้จ่าย
ชื่อกิจกรรม :
ค่าตอบแทน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนศิษฏ์  วงศ์ศิริอำนวย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ  ตันติกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร  ปัญโญใหญ่ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 8 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 5 ครั้ง = 72,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 36,000.00 บาท 36,000.00 บาท 72,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน (จำนวน 10 คน ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 200 บาท จำนวน 5 ครั้ง = 30,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ดูแลฐานเรียนรุ้ในการฝึกอบรม (เดือนละ 15,000 บาท จำนวน 7 เดือน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 105,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 207000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
บก 62-03
บก 61-04
บก 63-02
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล