15583 : โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 27/3/2563 17:07:00
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/03/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  500  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และประชาชนในชุมชนรอบๆมหาวิทยาลัย
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2563 1,800,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นำพร  ปัญโญใหญ่
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 1.การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 63 MJU 1.5.6 ระดับความสำเร็จการประเมินผลของนักศึกษาที่ผ่านการใช้ทักษะชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU1.5.9 สร้างข้อมูลเนื้อหาเพื่อสร้างแบบสอบถามเพื่อทำการประเมิน -หาแนวทางในการส่งและรับคืนแบบสอบถามให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด -ชี้แจงการตอบแบบประเมินเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เป็นความจริงมากที่สุด
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของการรักษา ฐานการผลิตและให้บริการ รวมทั้งการดำรงชีพที่ยั่งยืน ฐานทรัพยากรธรรมชาติถูกนำไปใช้ในการพัฒนาจำนวนมากก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ทรัพยากรน้ำยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ และมีความเสี่ยงในการขาดแคลนในอนาคต เกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นจากการเข้าถึงและการจัดสรรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและต้นทุนทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทวีความเข้มข้นทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับภาระในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กระแสการแข่งขันทางการค้า ขณะที่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกหลัง ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในอีก ๑๕ ปี ข้างหน้า (ค.ศ. ๒๐๑๖-๒๐๓๐) จะส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น ประเด็นท้าทายที่ต้องเร่งดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้แก่ การสร้างความมั่นคง ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค พัฒนาระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้างมากขึ้น ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษให้มีคุณภาพดีขึ้น ด้วยการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำสำคัญของประเทศ และแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควัน การแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ด้วยการเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ น้ำเสียและของเสียอันตรายที่เกิดจากการผลิตและบริโภค สร้างเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือเมืองสีเขียวเพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะตกค้างสะสมในพื้นที่วิกฤต ผลักดันกฎหมายและกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ สนับสนุนการแปรรูปเป็นพลังงาน ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เกิดการลดปริมาณขยะ รวมทั้งสร้างวินัยคนในชาติเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยเร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในพื้นที่วิกฤต ผลักดันการจัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการร่วมลงทุนของภาคเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ สนับสนุนการจัดการขยะที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยลดปริมาณการผลิตขยะ และส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด ส่งเสริมการแปรรูปขยะมูลฝอยและวัตถุดิบที่เหลือจากกระบวนการผลิตเป็นพลังงาน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ ผลักดันการออกกฎหมายและมาตรการจัดการของเสียอันตรายชุมชน โดยเฉพาะซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วยมาตรการส่งเสริมและมาตรการบังคับตั้งแต่ต้นทางรวมไปถึงการควบคุมการนำเข้า จัดให้มีแหล่งรวบรวมและแหล่งรับกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ พัฒนาระบบควบคุมการขนส่งของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่ การจัดการที่ยั่งยืน โดยให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก และสร้างความตระหนัก ให้ประชาชน นักเรียน เยาวชน มีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการน าเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการขยะ โดยใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ทบทวนเกณฑ์การเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการขยะที่เหมาะสม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นโยบายการจัดการขยะมูลฝอยนอกจากจะเป็นนโยบายของรัฐบาลแล้วกระทรวงศึกษาธิการ ก็เป็น 1 ใน 10 ในนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวหน่วยงานสถานศึกษา ได้ดำเนินการ มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รณรงค์คัด แยก ลดขยะ ใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้จำนวนขยะที่ต้องกำจัดลดลง มีการสร้างนิสัย จิตสำนึกการทิ้งขยะลงถังให้ถูกต้อง 4 ฐาน ฐานขยะย่อยสลาย ฐานขยะรีไซเคิล ฐานขยะทั่วไป และฐานขยะอันตราย มี Road Map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย มีคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายโดยมีการส่งเสริมการลด และการใช้ประโยชน์ขยะ โดยการนำกลับมารีไซเคิล ดัดแปลงเป็นสิ่งประดิษฐ์ออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ชุดรีไซเคิล การใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น ทำปุ๋ยหมัก ผลิตน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปเพื่อผลิตพลังงาน ทำแก๊สชีวภาพจากการหมักเศษขยะ ผลิตก๊าซชีวภาพ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆตามมา ดังนั้น การบริหารจัดการระบบนิเวศของชุมชนที่เป็นระบบนั้น จะนำไปสู่การอนุรักษ์ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศชุมชน นั้น กระบวนวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ชุมชนและขยายผลในวงกว้างจึงจำเป็นในการดำเนินโครงการนั้น เช่น ด้านการวัดค่า การลดปริมาณฝุ่น และการกำจัดฝุ่น ทั้งขนาด pm 2.5 pm 10 และขนาดที่ใหญ่กว่า ด้านการลดปริมาณการผลิตขยะ ด้านการกำจัดขยะและการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ส่งเสริมการบริหารจัดการด้านระบบนิเวศในชุมชนมหาวิทยาลัย และพื้นที่ชุมชนรอบๆ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับรักษาสิ่งแวดล้อม วิธีบริหารจัดการปริมาณฝุ่นทั้งขนาด pm 2.5 pm 10 และขนาดที่ใหญ่กว่า การบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ด้านชีวมวลและการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและยั่งยืน เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ไปถ่ายทอดให้กับ ชุมชนภายในมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบๆ สนับสนุนการจัดการระบบนิเวศที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยการส่งเสริมให้เกิดกลไกการกำจัด การนำกลับมาใช้ใหม่ และส่งเสริมการแปรรูปโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สัดส่วนของปริมาณฝุ่นในชุมชนมหาวิทยาลัยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
KPI 1 : ระบบการบริหารจัดการฝุ่นลดปริมาณฝุ่นได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ร้อยละ 30 30
ผลผลิต : ได้ต้นแบบการจัดการระบบนิเวศในชุมชนมหาวิทยาลัย 3 ต้นแบบ (1.ด้านการจัดการฝุ่น 2.ด้านการจัดการชีวมวล 3.ด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากองค์ความรู้ที่เหมาะสม
KPI 1 : ได้ระบบการบริหารจัดการ/เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1 3 ระบบ 3
ผลผลิต : ได้เครือข่ายชุมชนสีเขียวต้นแบบเพื่อการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างยั่งยืนรอบมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 3 ชุมชน
KPI 1 : บุคลากรหรือประชาชนเข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 30 20 ร้อยละ 80 80
KPI 2 : เครือข่ายชุมชนต้นแบบ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 1 1 3 เครือข่าย 3
KPI 3 : บุคลากรหรือประชาชนเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 200 100 500 คน 500
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สัดส่วนของปริมาณฝุ่นในชุมชนมหาวิทยาลัยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
ชื่อกิจกรรม :
การติดต่อประสานงาน การประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ธุรการ (จำนวน 1 คน x 7 เดือน x 15,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 105,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 105000.00
ผลผลิต : ได้ต้นแบบการจัดการระบบนิเวศในชุมชนมหาวิทยาลัย 3 ต้นแบบ (1.ด้านการจัดการฝุ่น 2.ด้านการจัดการชีวมวล 3.ด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากองค์ความรู้ที่เหมาะสม
ชื่อกิจกรรม :
ติดตาม วิเคราะห์และรายงานผลดำเนินการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ผลการดำเนินการและจัดทำรายงาน (จำนวน 1 กิจกรรม x 2,000 บาท x 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 10000.00
ผลผลิต : ได้เครือข่ายชุมชนสีเขียวต้นแบบเพื่อการบริหารจัดการระบบนิเวศชุมชนอย่างยั่งยืนรอบมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 3 ชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
อบรมให้ความรู้กับบุคลากรและชุมชนรอบๆมหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพาหนะผู้เข้าอบรม (จำนวน 100 คน x 1 วัน x 200 บาท x 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 35,000.00 บาท 35,000.00 บาท 30,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 100 คน x 1 วัน x 150 บาท x 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 15,000.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 100 คน x 1 วัน x 35 บาท x 10 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 5,000.00 บาท 35,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำเอกสารฝึกอบรม (จำนวน 4 ฐาน x 60 บาท x 500 เล่ม)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 120,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมฐานเรียนรู้การจัดการฝุ่น (จำนวน 1 ฐาน x 150,000 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 150,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมฐานเรียนรู้การจัดการชีวมวล (จำนวน 1 ฐาน x 125,000 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 125,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมฐานเรียนรู้การแปรรูปชีวมวล (จำนวน 1 ฐาน x 125,000 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 125,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเตรียมฐานเรียนรู้ถนนสีเขียว (จำนวน 1 ฐาน x 125,000 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 125,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 125,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำเอกสารแผ่นพับ (จำนวน 4 ฐาน x 2.5 บาท x 500 แผ่น)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 120,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 160,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 160,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุโฆษณาและเผยแพร่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุก่อสร้าง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 120,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุไฟฟ้า
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 120,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 120,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
วัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 75,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรบุคลากรของรัฐ (จำนวน 10 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 30,000.00 บาท 90,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน (จำนวน 10 คน x 2 วัน x 200 บาท x 5 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1685000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล