15549 : โครงการบูรณาบริการการวิชาการกับวิจัย : แนวทางป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่งของเยาวชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์พีรดา ประจงการ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/9/2563 10:32:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/09/2563  ถึง  26/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอและตำบล และตัวแทนเครือข่ายเยาวชนต่างๆ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงาน 2563 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พีรดา  ประจงการ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA63-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA63-4.1การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่พัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA63-4.1.1 ร้อยละของโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดในโครงการ 100%
กลยุทธ์ LA63-4.1.1ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในช่วงระยะเวลาระหว่าง ปี พ.ศ.2553-2557 ที่ผ่านมานั้น มีปรากฏการณ์ของความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสูญเสียของชีวิต ทรัพย์สิน ผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้สูญหายอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ปรากฏข้อมูล เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังมีความสูญเสียของสิ่งที่เป็นอาคาร สถานที่ ต่างๆ อีกหลายแห่ง สังคมไทยในช่วงที่ผ่านมานั้น เป็นยุคที่มีการแบ่งแยก หวาดระแวง ประชาชนไม่สามารถจะพูดคุยกันได้ตามปกติ เพื่อนไม่สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ คนในครอบครัวไม่สามารถพูดหรือวิจารณ์การเมืองได้ เนื่องจากมีความเห็นที่ต่างกันออกเป็นสองขั้ว ชุมชนในแต่ละชุมชน มีการบ่มเพาะความเกลียดชังให้แก่ฝั่งตรงข้าม ประชาชนเลือกรับสื่อเฉพาะด้านที่ตนเองต้องการจะฟัง มีการใช้เครื่องมือสื่อสารโซเชียลเนตเวิร์คเป็นเครื่องมือความเท็จ เพื่อใส่ร้ายป้ายสีฝั่งตรงข้ามเพื่อให้เกิดความเกลียดชังอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดการแตกแยกของสังคมอย่างเด่นชัด มีความพยายามใช้วาทกรรมที่ก่อให้เกิดการแบ่งชนชั้น โดยเน้นให้คนเห็นว่ามีการเลือกปฏิบัติระหว่างคนจนและคนรวย ความเหลื่อมล้ำของชนชั้น ความไม่เท่าเทียมตามอุดมคติของหลักประชาธิปไตย (สำนักงานสร้างเสริมความสมานฉันท์แห่งชาติ, 2561) เป็นปรากฎการณ์สะท้อนความรุนแรงทางการเมืองของไทย และนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม 2562 ตัวแทนนักวิจัยจาก 5 มหาวิทยาลัย ใน 3 ภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับโครงการ Together ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัท DAI Global, LLC ได้ร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการวิจัยเรื่องการจัดการการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development-USAID) ดำเนินการวิจัยแล้วเสร็จในปี 2562 ซึ่งมีการศึกษาผลการวิจัยเชิงปริมาณและผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำให้เห็นภาพรวมของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง ในการนี้จึงมีความประสงค์ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการบริการทางวิชาการโดยการอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่ายเยาวชนต่างๆ เกี่ยวกับปัจจัยขับเคลื่่อนความขัดแย้งและผลการวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับเส้นชีวิตหรือ Pathway Study ของผู้ปฏิบัติการที่ยอมเข้าร่วมกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงแบบสุดโต่ง เนื่องจากในปัจจุบัน เยาวชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้นท่ามกลางความเห็นต่างการเมืองของสังคมและสถานการณ์สร้างความเกลียดชังความเห็นต่างตามที่เป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นเหตุก่อตัวไปสู่ความรุนแรงและการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง ดังนั้น การให้ความรู้แก่เยาวชนจะช่วยให้เยาวชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง การใช้ความรุนแรง การเป็นผู้ปฏิบัติการที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่งและส่งผลกระทบ และช่วยให้เยาวชนมีความเข้าใจในแนวทางป้องกันการใช้ความรุนแรง (สุดโต่ง) เพื่อการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ และตัวแทนเครือข่ายเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำผลการวิจัยและความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมของตนเองต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเส้นชีวิตของผู้ปฏิบัติการที่ยอมรับเข้ากลุ่มที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่งและแนวทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเส้นทางชีวิตของผู้ปฏิบัติการที่ยอมเข้ากลุ่มที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่งและแนวทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง
KPI 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเส้นทางชีวิตของผู้ปฏิบัติการที่ยอมเข้าร่วมกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่งและแนงทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการปกครองชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการปกครอางชุมชนและปัจจัยขับเคลื่อนความขัดแย้ง และแนวทางการนำความรู้ไปวางแผนดำเนินงานหรือประยุกต์ใช้ ณ ที่ทำงานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/09/2563 - 26/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายลงทุน » ค่าครุภัณฑ์
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเส้นทางชีวิตของผู้ปฏิบัติการที่ยอมเข้ากลุ่มที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่งและแนวทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเส้นทางชีวิตของผู้ปฏิบัติการที่ยอมเข้าร่วมกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่ง และแนวทางการป้องกันการใช้ความรุนแรงสุดโต่ง และแนวทางการนำความรู้ไปวางแผนดำเนินงานหรือประยุกต์ใช้ ณ ที่ทำการสภาเด็กและเยาวชน ณ ที่ทำงานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/09/2563 - 26/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายอุดหนุน
ไม่เบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล