15504 : โครงการยกระดับความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
นายชุมพลภัทร์ คงธนจารุอนันต์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/3/2563 10:43:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/04/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  สมาชิกกลุ่มอาชีพ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลป่าไผ่และตำบลใกล้เคียง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคมงานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4) 2563 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุรชัย  กังวล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ที่เกิดจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.7 ติดตามประเมินสัมฤทธิ์ผล และผลกระทบต่อชุมชนจากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63ECON-3 การบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ 63ECON 3.1 เพื่อให้บริการวิชาการที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม
ตัวชี้วัด 63ECON 3.2 จำนวนครั้งการจัดประชุม สัมมนา เสวนาทางวิชาการ
กลยุทธ์ 63ECON 3.2.1 จัดประชุม สัมมนา เสวนา และหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายและสังคม ระดับชาติ/นานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไข ปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความร่วมมือของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่มีบริบทคล้ายกันในการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบ เศรษฐกิจระดับภูมิภาค สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รวมกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 และได้กำหนดทิศทางความ ร่วมมือที่แน่ชัดที่จะต้องเดิน ไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นเพียงหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนภายใต้ กฎบัตรอาเซียนความร่วมมือกันดังกล่าวถือเป็น แนวทางหนึ่งที่น่าจะสามารถช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะในระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ละพื้นที่มีกลุ่มอาชีพ รวมทั้งกลุ่มธุรกิจชุมชนอยู่เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศ และกำลังมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นทุกปี อีกทั้งรัฐบาลไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญ และสนับสนุนในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผนวกกับการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงมีนโยบายให้ความสำคัญกับกลุ่มอาชีพสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศด้านการสร้างงานใหม่เพิ่มการแข่งขันสามารถเชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในอนาคต อีกทั้งรัฐบาลมองเห็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดตั้งขึ้น ภายใต้พระราชบัญญัติวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่สำหรับเสนอแนะส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานระบบการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีความสอดคล้องกันละดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นธุรกิจของชุมชนเป็นแนวทางหนึ่ง ที่มุ่งในการยกระดับรายได้ชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนหรือเกษตรกรในชนบทที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับเป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของประเทศ หากกลุ่มคนในชุมชนหรือเกษตรกรเหล่านี้มีรายได้สูงขึ้น จะส่งผลกระทบด้านบวกต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยในการประกอบธุรกิจชุมชนจะมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองได้โดยผ่านการพัฒนาเพื่อยกระดับความเข็มแข็งของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัตถุดิบภายในท้องถิ่น นำมาแปรรูปอาหารจากเกษตรกรในชุมชนที่มีเวลาว่างจาการทำการเกษตร โดยมีการจัดการจากคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชนช่วยกันวางแผนและตั้งเป้าหมายในแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทั้งนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคชนบทนั้น ๆ ด้วย ดังนั้น โครงการบริการวิชาการภายใต้การขับเคลื่อนงานบริการวิชาการสู่ชุมชน (Sansai Development Model) การยกระดับความเข็มแข็งของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และนำไปสู่การจัดตั้งธุรกิจชุมชน กลุ่มอาชีพ รวมไปถึงวิสาหกิจชุมชนจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศได้ในอนาคต จากผลการสำรวจของโครงการขับเคลื่อนงานบริชาการวิชาการสู่ชุมชน เมื่อปี พ.ศ.2560 พบว่า ในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีความการต้องผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร ซึ่งในปี 2560 และในปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูป ในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ทางกลุ่มเกษตรกรยังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพแม่บ้าน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของเกษตรกรในพื้นที่ ดังนั้นจึงได้มีการจัดโครงการบริการวิชาการ เพื่ออบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในชุมชน โดยจัดโครงการการยกระดับความเข็มแข็งของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังพบว่า ความต้องการของสมาชิกในชุมชน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีความต้องได้รับความรู้จากการจัดโครงการบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อันได้แก่ พื้นที่เทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัว และเทศบาลตำบลป่าไผ่ ซึ่งพื้นที่นำร่องในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยข้อมูลทั่วไปของสมาชิกในชุมชนทั้ง 2 แห่ง ในพื้นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนใกล้เคียงกับพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ซึ่งอาชีพของสมาชิกชุมชนโดยส่วนใหญ่ คือ การทำเกษตรกรรรม พืชที่เพาะปลูกในพื้นที่ส่วนใหญ่ ได้แก่ มันฝรั่ง กล้วย และข้าวไรซ์เบอรี่ ที่ผ่านมาพบว่าเกิดปัญหาและอุปสรรคในเรื่องขาดการต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน ดังนั้น ภายใต้โครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรจึงตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรกลุ่มดังกล่าว สู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนในอนาคต ที่มีการดำเนินการภายใต้ศักยภาพความรู้ความสามารถรวมถึงการมองเห็นคุณค่าของตนเอง ซึ่งในปีปัจจุบันคาดว่าผลการดำเนินงานในโครงการบริการวิชาการครั้งนี้สู่การเพิ่มมูลค่าผลผลิตในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และยกระดับความเข็มแข็งของกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริงอีกทั้งมีความมั่นใจในการคิดพึ่งพาตนเอง และพึ่งพาซึ่งกันและกันภายในชุมชนได้มากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตร

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ถูกต้อง สะอาดและปลอดภัยของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลป่าไผ่
เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและวิธีการเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรม ในแต่ละท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด
เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความเข็มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : มีองค์ความรู้กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ถูกวิธีตรงตามคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety), พัฒนาความรู้ความสามารถและวิธีการเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด, เสริมสร้างและพัฒนาความเข็มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ และประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชากรและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนกลุ่มอาชีพเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กลุ่ม 1
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.08 ล้านบาท 0.08
KPI 7 : ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ค่าเฉลี่ย 3.51
KPI 8 : การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิคภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : มีองค์ความรู้กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ถูกวิธีตรงตามคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety), พัฒนาความรู้ความสามารถและวิธีการเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ ให้มีเอกลักษณ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และเป็นที่ต้องการของตลาด, เสริมสร้างและพัฒนาความเข็มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ และประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการอบรมความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ถูกวิธีตรงตามคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/04/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
-ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม ขนาด จำนวน 50 เล่มๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ป้ายไวนิล ตารางเมตรละ 50 บาท ตามเกณฑ์กรรมาธิการ 3x1.5 =4.5 เมตร x 50 =225 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,725.00 บาท 0.00 บาท 11,725.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
-ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษบรูฟ เป็นเงิน 4,225 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,225.00 บาท 0.00 บาท 4,225.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19550.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมความรู้วิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/04/2563 - 31/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ค่าอาหาร จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 50 เล่มๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,500.00 บาท 0.00 บาท 11,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
บรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษปรูฟ เป็นเงิน 13,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท 0.00 บาท 13,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28600.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการอบรมความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มให้มีความเข็มแข็งเพื่อเตรียมความพร้อมยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/04/2563 - 31/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ค่าอาหาร จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรมจำนวน 50 เล่มๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,500.00 บาท 11,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
บรรยาย จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษบรูฟ เป็นเงิน 13,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,000.00 บาท 13,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 03/04/2563 - 31/08/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผลโครงการ จำนวน 50 ชุดๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน จำนวน 3 เล่ม ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,750.00 บาท 3,750.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3750.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. การรวมกลุ่มคนเพื่อจัดอบรมอาจดำเนินการได้ยากภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-192. งบประมาณที่มาล่าช้าทำให้มีเงื่อนเวลาในการเร่งเบิกจากและดำเนินการจัดทำโครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ดำเนินการจัดอบรมภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยและควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด 2. ดำเนินการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างรัดกุม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล