15497 : โครงการยกระดับการผลิตกาแฟคุณภาพอินทรีย์ ปีที่ 2
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/4/2563 14:26:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/03/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดในภาคเหนือตอนบน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2563 คณะผลิตกรรมการเกษตร แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษา แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการสมาร์ทฟาร์มและสังคมสีเขียว (โครงการ ยกระดับการผลิตกาแฟคุณภาพอินทรีย์ปีที่ 2) 2563 1,500,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วาสนา  วิรุญรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.2 จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.5 สร้างและพัฒนาชุมชนเป้าหมายด้านบริการวิชาการ และแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 ผก 4. การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
เป้าประสงค์ 63 ผก 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ตัวชี้วัด 63 ผก 4.4 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของคณะ / มหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 63 ผก 4.5 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐาน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์มต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กาแฟอราบิก้าเป็นพืชเครื่องดื่มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งประเทศที่ผลิตกาแฟอราบิก้าติดอันดับของโลกได้แก่ บราซิล เวียดนาม โคลัมเบีย อินโดนีเซีย เอธิโอเปีย (International Coffee Organization, 2018) ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมาแนวโน้มในการบริโภคกาแฟโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในแถบเอเชียเพิ่มสูงถึง 3.4% ในช่วงปี 2016/2017 แต่การแข่งขันผลิตกาแฟอราบิก้าของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีอยู่สูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ลาว พม่า ซึ่งภาครัฐของประเทศเหล่านี้มีนโยบายขยายการเพาะปลูกกาแฟอราบิก้าเพิ่มมากขึ้นโดยผลิตกาแฟในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งโอกาสในการแข่งขันของกาแฟไทยในเชิงปริมาณเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปริมาณการผลิตกาแฟอราบิก้ามีเพียงร้อยละ 0.6 ของปริมาณผลผลิตกาแฟรวมของโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2558) อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกับกลุ่มประเทศอาเซียนยังพบว่า ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า โดยเฉพาะค่าแรงงานเก็บเกี่ยว ซึ่งประเทศไทยใช้แรงงานคน แต่ประเทศเวียดนาม ลาว พม่า ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว ดังนั้นช่องทางหรือโอกาสของกาแฟไทยบนเวทีโลก คือ การผลิตกาแฟในเชิงคุณภาพ ซึ่งสมาคมกาแฟพิเศษไทยพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการ และเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟของไทยผลิตกาแฟพิเศษ (Specialty Coffee) โดยสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกกาแฟแบบปราณีต และคัดเลือก ให้คะแนนกาแฟแต่ละตัวเพื่อเฟ้นหากาแฟพิเศษของไทยในแต่ละปี ทำให้เกิดภาวะตื่นตัวและการแข่งขันในกลุ่มผู้ผลิตกาแฟของไทยในการผลิตกาแฟพิเศษในจุดที่ระดับโลกยอมรับ (นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย, 2561) สำหรับปัจจุบันแนวโน้มผู้บริโภคกาแฟมีความพิถีพิถันมากยิ่งขึ้นในการบริโภคกาแฟ ซึ่งกระแสการเปลี่ยนแปลงในตลาดกาแฟโลกในปัจจุบันหนึ่งในนั้นคือ กาแฟพิเศษ หรือกาแฟคุณภาพ จากแหล่งปลูกที่แตกต่างกันทั่วโลก เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับกาแฟมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความพิถีพิถันในการเลือกกาแฟทั้งประเภทและแหล่งปลูก รวมถึงผู้บริโภคยังแสวงหากาแฟรสชาติใหม่ๆ มากขึ้น ร้านกาแฟทำการปรับตัวโดยการสรรหากาแฟที่มีอัตลักษณ์หลากหลายแหล่งปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ซึ่งกาแฟจากแหล่งปลูกที่มีชื่อเสียงจะมีราคาสูงกว่ากาแฟโดยทั่วไป เพราะนอกจากรสชาติของกาแฟจะขึ้นกับสายพันธุ์ที่เพาะปลูกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสมบัติดินและสภาพอากาศของแหล่งปลูกด้วย ทำให้กาแฟพันธุ์เดียวกันแต่ปลูกในพื้นที่ต่างกัน ให้รสชาติที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น กาแฟดอยช้าง ดอยตุงที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indication :GI) ซึ่งสามารถติดตราสัญลักษณ์ GI ของสหภาพยุโรปบนบรรจุภัณฑ์ได้ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับมาตรฐานสินค้าในระดับยุโรปเพื่อรับรองสินค้าคุณภาพ มีชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะจากแหล่งภูมิศาสตร์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2557) ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวส่งผลดีต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟที่จะสามารถสร้างมูลค่าสินค้ากาแฟได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพกาแฟให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณภาพคงที่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการกาแฟไทยต้องคำนึงถึง อย่างไรก็ตามคุณภาพกาแฟขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่หลากหลายตั้งแต่ พันธุ์กาแฟ พื้นที่เพาะปลูกและสภาพอากาศที่มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ และการจัดการดูแลรักษาต้นกาแฟให้สามารถผลิดอกออกผลได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพเท่าที่หรือดีขึ้นกว่าที่ธรรมชาติให้มา (พัชนี,2555) การรักษาคุณภาพให้คงที่และสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการผลิตกาแฟพิเศษ ซึ่งการผลิตสินค้าที่ดีสามารถส่งออกไปยังตลาดผู้บริโภคกาแฟกลุ่ม hi end market ได้ เช่น กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และรัฐเซีย เป็นต้น เนื่องจากแหล่งปลูกกาแฟคุณภาพล้วนแล้วแต่อยู่บนพื้นที่สูงมีระดับความสูงมากว่า 800 เมตรเหนือน้ำทะเลปานกลางขึ้นไปส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนมีสภาพอากาศหนาวเย็น และเป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นพื้นที่ลาดชันสูงซึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งการทำการเกษตรบนพื้นที่ดังกล่าวจึงควรเลือกพืชปลูกในระบบอินทรีย์ที่สามารถอยู่ร่วมกับป่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและผู้บริโภคจากการใช้สารเคมีที่อาจมีการปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำและผลผลิต จากข้อมูลการสำรวจสภาพแปลงและสัมภาษณ์การจัดการของเกษตรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ที่ได้ดำเนินการภายใต้โครงการ “ยกระดับกาแฟอินทรีย์” ปี 2562 (วาสนาและคณะ, 2561)พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 100 ราย ร้อยละ 60 มีการใช้สารเคมีเฉพาะปุ๋ยเคมีเท่านั้น แต่ปริมาณที่ใช้ตามประสบการณ์ของเกษตรกร และร้อยละ 40 พบว่าปลูกในรูปแบบตามมีตามเกิด คือไม่มีการตัดแต่งบำรุง หรือใส่ปุ๋ย ทำให้ผลผลิตน้อย แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการแปลง จัดการดินและปุ๋ย รวมถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (process) และคุณภาพของกาแฟ ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯมีความสนใจที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนเองให้ดีขึ้น และมีความสนใจอยากเรียนรู้เรื่องการตรวจสอบคุณภาพของกาแฟตนเอง อีกทั้งกิจกรรมของโครงการยกระดับกาแฟอินทรีย์ยังได้มีการสำรวจสภาพแปลง สุ่มเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติดิน เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิตของกาแฟรายแปลง และตรวจสอบคุณภาพกาแฟโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนให้คำแนะนำในการจัดการแปลง จัดการดินและปุ๋ยในปีการผลิต 2562 โดยจากการสอบถามความต้องการของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรมีความต้องการปรับเปลี่ยนจากการผลิตในระบบเดิมซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีเป็นอินทรีย์ แต่มีความกังวลในเรื่องปริมาณผลผลิตที่จะลดลง ดังนั้นในการดำเนินโครงการฯในปีแรก (2562) จึงทำได้เพียงศึกษาสถานการณ์การผลิตปี 2561 และให้คำแนะนำในการจัดการแปลงที่เหมาะสม จัดการดินและปุ๋ยกาแฟตามความต้องการของกาแฟทั้งในรูปแบบของปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจเบื้องต้นยังพบอีกเกษตรกรในบางพื้นที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของคุณภาพของกาแฟ ซึ่งในขั้นตอนของการ process (จัดการหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การสี การตาก ฯลฯ) ก็ส่งผลต่อคุณภาพและรสชาติของกาแฟเช่นกัน ดังนั้นในการดำเนินโครงการ ยกระดับกาแฟคุณภาพอินทรีย์ปีที่ 2 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไปติดตามและส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนสู่การผลิตกาแฟในระบบอินทรีย์ และผลักดันให้เกิดระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems (PGS) และพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสำหรับกาแฟตามสมบัติดิน ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจเรื่องคุณภาพกาแฟตั้งแต่ในแปลงจนถึงในแก้วที่เกษตรกรมีส่วนเกี่ยวข้อง และหนึ่งในช่องทางของการเพิ่มมูลค่ากาแฟได้อย่างชัดเจนและมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้เกิดผู้บริโภคกลุ่มนี้ขึ้นมาได้ คือ การผลิตกาแฟชนิดพิเศษ (specialty coffee) ซึ่งตอบโจทย์ของผู้บริโภคในทุกด้านตั้งแต่กระบวนการผลิตกาแฟที่อยู่ร่วมกับป่าและเป็นกาแฟที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งจะให้รสชาติที่ดี มีเสน่ห์และสลับซับซ้อนกว่ากาแฟที่ปลูกที่โล่ง (วัลลภ, 2561) สอดคล้องกับวิชญ์ภาสและคณะ (2560) ที่ศึกษาความผันแปรของขนาดเมล็ดกาแฟที่ปลูกภายใต้เรือนยอดป่าธรรมชาติ จะให้ขนาดและความกว้างของเมล็ดใหญ่กว่าการปลูกในรูปแบบอื่น สำหรับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว คือ สี ตาก คั่ว นั้นจะต้องมีความประณีตเพื่อรักษาคุณภาพกาแฟดั้งเดิมตามธรรมชาติของแหล่งปลูกที่แตกต่าง ส่งมอบให้ผู้ประกอบการกาแฟสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ไปสู่ตลาดบน (Hi end market) ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามในการผลิตกาแฟตามข้อมูลรายแปลงเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ 100 ราย ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย (วาสนา และคณะ, 2561) พบว่า สารกาแฟของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่ไม่มีคุณภาพ เป็นข้อบกพร่องของกาแฟสารหรือเป็นของเสียที่ต้องคัดทิ้ง (defect) ตลอดห่วงโซ่การผลิตกาแฟซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียแรงงานในการคัดทิ้ง ในปีการผลิตกาแฟ 2561 พบผลผลิตกาแฟที่มี defect ปริมาณสูงถึง 35-40% ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ 30-35% ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งปัญหาที่พบคือ เมล็ดพัฒนาไม่สมบูรณ์ ขนาดเล็ก ไม่สมมาตร เหี่ยว มีราขึ้น และถูกมอดเจาะ เป็นต้น ซึ่งเมล็ดที่เป็น defect นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอสำหรับกาแฟ แมลงเข้าทำลายในแปลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสี ตากไม่ดีพอ การผลิตกาแฟพิเศษโดยมีปริมาณของเสียน้อยลง (defect) ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกรตั้งแต่ในแปลงจนกระทั่งเป็นผลผลิตเมล็ดกาแฟ ซึ่งในสภาวะของสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบัน เกษตรกรจำเป็นต้องทันต่อสถานการณ์ดินฟ้าอากาศ และมีสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และที่สำคัญที่สุดคือการนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแปลงปลูกกาแฟของตนเอง การผลิตกาแฟบนพื้นที่สูงมีการชะล้างพังทลายของดินสูง มีรายละเอียดค่อนข้างมากในการที่จะบริหารจัดการทรัพยากรให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจและนำไปทดลองปฏิบัติจริงในแปลงปลูกของตนเองซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับป่าได้ อย่างไรก็ตามแรงจูงใจสำหรับเกษตรกร คือ หากพัฒนาเป็นกาแฟพิเศษ เกษตรกรสามารถกำหนดราคาซื้อขายเองได้ และราคาซื้อขายเพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตในรูปแบบเดิม และปริมาณกาแฟคุณภาพที่สามารถจำหน่ายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับ defect ซึ่งจะทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ติดตามการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน สภาพแปลง การเจริญเติบโต ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของกาแฟ ข้อบกพร่องของเมล็ดกาแฟ (defect) ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ปีที่ 2 หลังจากให้คำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับกาแฟในปีการผลิต 2561/62
พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพที่เหมาะสมสมบัติดินและการเจริญเติบโตของกาแฟ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (process) ที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ในการจัดการนิเวศน์แปลงปลูกกาแฟตั้งแต่ดินสู่แก้ว การผลิตกาแฟพิเศษอยู่ร่วมกับป่า
สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการปลูกกาแฟอยู่ร่วมกับป่า
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในระบบอินทรีย์ จาก 9 แหล่งปลูกที่เข้าร่วมโครงการ
KPI 1 : ผลิตภัณฑ์กาแฟของเกษตรกรที่เป็นกาแฟพิเศษ (specialty coffee) ตามมาตรฐาน SCAA
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ราย 3
KPI 2 : จำนวนสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพที่เหมาะสมกับสมบัติดินและการเจริญเติบโตของกาแฟ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 สูตร 5
KPI 3 : ผลการประเมินรสชาติกาแฟตามมาตรฐาน SCAA โดยผู้เชี่ยวชาญกาแฟ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ผลผลิตกาแฟของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปีการผลิต2561/62 มีคุณภาพรสชาติที่พึงประสงค์ดีขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
15 15 15 ร้อยละ 15
KPI 5 : ระยะเวลาที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
8 เดือน 8
KPI 6 : ความสมบูรณ์ของคู่มือการบริหารจัดการแปลงปลูกกาแฟพิเศษอินทรีย์อยู่ร่วมกับป่า
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรมฯมีความรู้และเข้าใจตระหนักและให้ความสำคัญกับการเพิ่มร่มเงาในแปลงกาแฟ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 80 ร้อยละ 80
KPI 8 : สามารถเบิกจ่ายงบประมาณภายในปีงบประมาณ
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
497600 913300 89100 บาท 1500000
KPI 9 : เพจการเผยแพร่องค์ความรู้การผลิตกาแฟพิเศษอินทรีย์รายแปลง เพจ ดินฟ้ากาแฟ (ต่อเนื่องปีที่ 2)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เพจ 1
KPI 10 : จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตกาแฟคุณภาพในระบบอินทรีย์ตั้งแต่ในแปลงและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ราย 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในระบบอินทรีย์ จาก 9 แหล่งปลูกที่เข้าร่วมโครงการ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 ติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน สภาพแปลง การเจริญเติบโตของกาแฟ ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตกาแฟ ปีที่ 2 (หลังการแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยจากโครงการยกระดับการผลิตกาแฟอินทรีย์ 2562)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา  อินสลุด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่โครงการฯ ลงพื้นที่ภายในจังหวัด (2 คน x 3 ครั้ง x 4 วัน x 144 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,304.00 บาท 1,152.00 บาท 3,456.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่โครงการฯ ลงพื้นที่นอกจังหวัดเชียงใหม่ (2 คน x 7 ครั้ง x 4 วัน x 240 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,760.00 บาท 7,680.00 บาท 13,440.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักเหมาจ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการฯ ลงพื้นที่ (2 คน x 10 ครั้ง x 3 คืน x 500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ (1 คน x 7 เดือน x 15000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 45,000.00 บาท 105,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการติดตามข้อมูลภาคสนาม (สภาพแปลง การจัดการแปลงของเกษตรกร การเจริญเติบโต ผลผลิตกาแฟฤดูการผลิต 2562/63) (9 พื้นที่ x 18,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 162,000.00 บาท 0.00 บาท 162,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการรถยนต์ พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง (1คัน x 48 วัน x 2,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท 56,000.00 บาท 112,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการเก็บตัวอย่างดินเกษตรกรและจัดเตรียมตัวอย่างให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์สมบัติดิน และการวิเคราะห์สมบัติดินทางกายภาพ (เนื้อดิน, %soil moisture, การซึมซาบน้ำของดิน ความหนาแน่นรวม เฉพาะในเกษตรกรรายใหม่) (130 ตัวอย่าง x 800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 104,000.00 บาท 0.00 บาท 104,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการวิเคราะห์สมบัติดินปลูกกาแฟ ( pH, %อินทรียวัตถุ, Avaliable P, Exchangeable K,Ca,Mg Extractable Fe, Zn, Cu) (260 ตัวอย้าง x 500 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 130,000.00 บาท 0.00 บาท 130,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม (20 คน x 4 มื้อ x 5 ครั้ง x มื้อละ 150 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท 12,000.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม (20 คน x 6 มื้อ x 5 ครั้ง x มื้อละ 25 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 3,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 42,000.00 บาท 0.00 บาท 42,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุคอมพิวเตอร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุงานบ้านงานครัว
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,644.00 บาท 0.00 บาท 6,644.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 828540.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพที่เหมาะสมกับสมบัติดินและการเจริญเติบโตของกาแฟ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรนภา  อินสลุด (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับกาแฟตามสมบัติดินแปลงเกษตรกร (5 สูตร x 1 ปี x 1 ครั้ง x 22,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 110,000.00 บาท 110,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 110000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนิเวศวิทยาในแปลงกาแฟ เพิ่มป่าในแปลงกาแฟ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ์ภาส  สังพาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ในโครงการฯ (2 คน x 2 วัน x 240 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 960.00 บาท 0.00 บาท 960.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดเตรียมต้นไม้ให้ร่มเงาในแปลงกาแฟของเกษตรกร (4,000 ต้น x 35 บาท)


ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 140,000.00 บาท 140,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักเหมาจ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการฯ (2 คน x 3 วัน x 500 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรับ-ส่งวิทยากร (2 คัน x 2 วัน x 1 ครั้ง x 2,800 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,200.00 บาท 11,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักเหมาจ่ายสำหรับวิทยากร (5 คน x 2 คืน x 500 บาท x 1 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม (80 คน x 1 มื้อ × มื้อละ 150 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม (80 คน x 2 มื้อ × มื้อละ 25 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างบริการช่วยปฏิบัติงานด้านการเงิน และบัญชี (1 คน x 3 เดือน x 15,000 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 30,000.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากรภายใน (4 คน x 1 วัน x 600 บาท x 5 ชม.)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าสมนาคุณวิทยากรภายนอก (2 คน x 1 วัน x 1,200 บาท x 3 ชม.)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 240360.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพกาแฟของเกษตรกร (ทดสอบรสชาติ และตรวจสอบกายภาพของเมล็ด) โดยผู้เชี่ยวชาญกาแฟ ตามมาตรฐาน SCAA

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา  นาเทเวศน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดเตรียมตัวอย่างสำหรับทดสอบรสชาติกาแฟ สีกะลา คัด defect และตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ (%ความชื้น ความหนาแน่นของเมล็ด ปริมาณ defect กาแฟ (130 ตัวอย่าง × 1,300 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 169,000.00 บาท 169,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาตรวจสอบรสชาติกาแฟ ( 130 ตัวอย่าง x 500 บาท )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 65,000.00 บาท 65,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 244000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 5 ประชาสัมพันธ์แนวทางการผลิตกาแฟพิเศษอินทรีย์อยู่ร่วมกับป่า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสนา  วิรุญรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ์ภาส  สังพาลี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำสื่อวิดีโอประชาสัมพันธ์โครงการยกระดับการผลิตกาแฟอินทรีย์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการกาแฟอินทรีย์คุณภาพรายแปลง (130 ชุด x 70 บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,100.00 บาท 9,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จ้างเหมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล เพื่อจัดทำองค์ความรู้ฉบับย่อเผยแพร่ในเพจ "ดินฟ้ากาแฟ"
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท 48,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 77100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เก็บข้อมูลผลผลิตกาแฟให้ครบทั้ง 5 พื้นที่ไม่ทัน เนื่องจากระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวมีจำกัด และในขั้นตอนของการสำรวจ และติดตามการเจริญเติบโตของกาแฟแต่ละแปลงใช้เวลามาก
เนื่องจากอุปกรณ์และเครื่องมือตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินในห้องมีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งยังมีจำนวนตัวอย่างดินจากโครงการ
การ process ของเกษตรกรแต่ละรายแต่ละแหล่งปลูกมีความแตกต่างกัน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
แบ่งทีมการสำรวจและติดตาม และทำงานคู่ขนานกัน ทีละ 2 พื้นที่
แบ่งจำนวนตัวอย่างดิน เป็น 3 รอบ และจัดเตรียมตัวอย่างดิน พร้อมวิเคราะห์ให้กับห้องปฏิบัติการฯ
จัดทำ protocol ในการจัดเตรียมตัวอย่างสารกาแฟสำหรับการตรวจสอบคุณภาพให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล