15485 : โครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน: การปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
อาจารย์พีรดา ประจงการ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/2/2563 11:00:56
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
22/02/2563  ถึง  22/02/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  150  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายภายในคือ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชา ศท 202 จิตวิทยาการปรับตัว และ ศป 026 จิตวิทยาเชิงบวก รวมจำนวน 50 คน กลุ่มเป้าหมายภายนอกคือ ผู้สูงอายุในตำบลป่าไผ่ จำนวน 100 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ 2563 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ พีรดา  ประจงการ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 1.การผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64 MJU 1.5 พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 63 MJU 1.5.1 ร้อยละของโครงการพัฒนานักศึกษาที่มีการบูรณาการด้านทักษะ IT ภาษาอังกฤษ วิชาชีพ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ฯลฯ
กลยุทธ์ 61-64MJU 1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านภาษา IT และทักษะวิชาชีพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA63-1 การผลิตบัณฑิต หลักสูตร และการพัฒนานักศึกษา
เป้าประสงค์ LA63-1.2เสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่นักศึกษา
ตัวชี้วัด LA63-1.2.11 ร้อยละของกิจกรรม/โครงการพัฒนานักศึกษาที่เสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์ LA63-1.2.1ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่นักศึกษา
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA63-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA63-4.2 มีการบริการวิชาการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ตัวชี้วัด LA63-4.2.2 ร้อยละของหลักสูตรที่มีโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
กลยุทธ์ LA63-4.2.1ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ภาครัฐจึงให้ความสำคัญต่อประเด็นผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้นโดยจัดให้มีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 แผนผู้สูงอายุแห่งชาติถือเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ของประเทศ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือยุทธศาตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ แต่ในขณะเดียวกันต้องเผชิญปัญหาที่ท้าทายที่สาคัญยิ่งของการเป็นสังคมผู้สูงอายุก็คือจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือมีสุขภาวะที่ดี (Well-Being) เพื่อจะได้เป็นผู้สูงที่มีความสุขและมีการพัฒนาการสูงวัยเชิงบวก เนื่่องจากว่า ผลการสำรวจและผลการวิจัยต่างๆ พบว่า ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 80 ยังประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตเพราะขาดการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุโดยเฉพาะปัญหาการเงิน ภาระหนี้สิน ปัญหาสุขภาพ ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามที่คาดหวังและตกอยู่ในภาวะครอบครัวเปราะบางท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ส่งผลให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพจิตและการปรับตัว มีความพึงพอใจในชีวิตน้อยลง มีความสุขลดลง ป่วยด้วยโรคจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ดังนั้น การจัดให้มีการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดี (Psychological Well-Being) แก่ผู้สูงอายุจะช่วยให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีได้ด้วยตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเต็มศักยภาพ มีความพึงพอใจในชีวิตและมีความสุขมากขึ้น และในการนี้ ผู้เรียนในรายวิชา ศป 026 จิตวิทยาเชิงบวก และรายวิชา ศท 202 จิตวิทยาการปรับตัว จะได้มีโอกาสศึกษานอกห้องเรียนและฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตและศึกษาการปรับตัวของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนได้อย่างลึกซึ้งจากการปฏิบัติจริงและสามารถปรับใช้สิ่งที่เรียนรู้ในครั้งนี้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีของตนเองเพื่อให้ตนเป็นผู้มีคุณลักษณะที่ดีคือ มีความสามารถปรับตัวได้ดี (Adaptability)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุ
ให้ผู้เรียนศึกษาการปรับตัวและฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
KPI 1 : ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัวและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุได้
KPI 1 : ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัวและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุได้ ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมบริการวิชาการสัญจร การให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุที่มาร่วมพิธีเข้ากั๋มหรือพิธีเข้าโสสานกรรม ณ ณาปนสถานบ้านศรีวังธารใต้ หมู่ 8 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย ภายใต้ความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านศรีวังธาร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/02/2563 - 22/02/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ผลผลิต : ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการปรับตัวและสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมฝึกปฏิบัติการของผู้เรียน ได้แก่ การศึกษาภาวะสุขภาพจิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุ และการฝึกปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 22/02/2563 - 22/02/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์พีรดา  ประจงการ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่มีเบิกจ่ายงบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล