15447 : โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน : กิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ณ บ้านแม่โจ้ใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ศุภลักษณ์ ดีน้อย (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/1/2563 9:53:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/01/2563  ถึง  31/03/2563
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  ผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองได้ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน 2563 8,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี กิติพงษ์  ขัติยะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนาพร  ขันธบุตร
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.4 ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนแม่บทบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.1.7 พัฒนาระบบบริหารงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA63-4 การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ LA63-4.1การบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่พัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA63-4.1.1 ร้อยละของโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดในโครงการ 100%
กลยุทธ์ LA63-4.1.1ส่งเสริมความร่วมมือการจัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) หมายถึง กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การประกอบอาชีพการงาน อาทิ การทำนา ทำสวน การรับจ้างทั่วไป การประกอบกิจวัตรประจำวัน อาทิ การเดิน การขี่จักรยาน การขับรถไปทำงาน การทำงานบ้าน การรดน้ำต้นไม้ และกิจกรรมที่ปฏิบัติในยามว่าง ได้แก่ การเล่น (Play)อาทิ ดนตรีพื้นเมือง ฟ้อนเจิง การออกกำลังกาย (Exercise) อาทิ กายบริหาร เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน รวมทั้งกีฬา (Sport) อาทิ กีฬาเปตองและการท่องเที่ยว (Travel) อาทิ ท่องเที่ยวด้วยวิธีการเดิน การขี่จักรยาน เที่ยวชมวัด สถานที่ทางประวัติศาสตร์ของชุมชน ทั้งนี้ต้องเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากขณะพัก กิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพและถือเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต ถ้ามีการใช้แรงกายอย่างเพียงพอย่อมมีผลดีต่อสมรรถภาพและสุขภาพของแต่ละบุคคล (สนธยา สีละมาด,2557 : 5) โดยเฉพาะกิจกรรมทางกายในยามว่างสำหรับผู้สูงอายุ การมีเหงื่อออก กับการออกกำลังกาย สามารถช่วยยืดอายุให้ยืนยาว มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง (Siegenthaler, 1999. อ้างถึงใน มธุรส สว่างบำรุง และสุวรี ศิวะแพทย์,2558 : 134) โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน : กิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นการนำเอาผลการวิจัยเรื่อง กิจกรรมทางกาย: ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ไปถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนในเขตชุมชนบ้านแม่โจ้ใหม่ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (Roadmap) ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2569) ที่ได้มีการวางเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา คือ การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (Maejo : University of Life) ” ซึ่งหมายความว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างชีวิตที่ดีมากกว่าการสร้างวัตถุ โดยชีวิตที่ดี หมายถึง ชีวิตของชาวแม่โจ้ ทั้งบุคลากร นักศึกษาบัณฑิตและชุมชน และยังสอดคล้องกับนโยบายการบริหารงาน ของคณบดีคณะศิลปศาสตร์ ในการบริหารงานตาม พันธกิจทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมการบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชน และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้มาตรฐานทางวิชาการและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมได้ การจัดโครงการฯ ดังกล่าวคาดว่าจะสามารถผลักดันความสำเร็จของนโยบายการพัฒนาของมหาวิทยาลัยและนโยบายการบริหารงานของคณบดีคณะศิลปศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยและการบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : คณะศิลปศาสตร์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยและการบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านแม่โจ้ใหม่
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนองค์ความรู้จากงานวิจัยที่ถ่ายทอดสู่ชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : คณะศิลปศาสตร์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยและการบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านแม่โจ้ใหม่
ชื่อกิจกรรม :
จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยและการบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านแม่โจ้ใหม่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม 2563 จำนวน 2 วัน ช่วงเวลา 14.00-18.00 น.สถานที่จัด ลานกิจกรรมชุมชนบ้านแม่โจ้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/02/2563 - 16/02/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
น.ส.ศุภลักษณ์  ดีน้อย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีกิติพงษ์  ขัติยะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน X 30 บาท X 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ (วัสดุกีฬา วัสดุสำนักงาน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 8000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาสถานที่จัดอบรม เนื่องจากเป็นพื้นที่สวนปลูกผักของประธานผู้สูงอายุ ซึ่งปรับมาเป็นพื้นที่ใช้ในการออกกำลังกายของชุมชน หากมีผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก พื้นดังกล่าวจะคับแคบไม่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรม
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
การแก้ปัญหาพื้นที่ออกกำลังกาย ควรมีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หรือ หาพื้นที่สาธารณะในชุมชนแห่งใหม่ เพื่อจัดเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล