15433 : โครงการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ สู่การเป็นมหาวิทยาลัย Go.Eco.U
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/1/2563 14:19:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/01/2563  ถึง  30/09/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  นักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2563 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาย อนุกูล  จันทร์แก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.2 เป็นที่พึ่งของประชาชน และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.2.1 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 61-64MJU 4.2.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ศัตรูพืช มาตรฐษน ประมง ปศุสัตว์ พืช ฟาร์ม ต้นแบบเกษตรยั่งยืน การแปรรูป ตลาด ฯลฯ ให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ 3. เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 3.1.9 จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ระยะ 15 ปี มีเส้นทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ซึ่งได้กำหนดเส้นทางยุทธศาสตร์การพัฒนา (Flagships) ออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลา ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green) 2) มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic) 3) มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco) ซึ่งทั้ง 3 ช่วงระยะการพัฒนา ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดเดียวกัน หากแต่ให้ความสำคัญในมิติที่แตกต่างกัน นั่นคือ ในด้านการเกษตร มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ คือ เป็นการเกษตรที่เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติลด ละ เลิกการใช้สารเคมีมีการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและรับผิดชอบในด้านกายภาพ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยและชุมชนให้มีความสมดุลกับธรรมชาติรวมทั้งการพัฒนาศาสตร์และองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ประเทศชาติและโลกในภาพรวมของการพัฒนามหาวิทยาลัย ทุกด้านมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่สร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืน คำนึงถึงความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ การพัฒนาจิตใจ และการสร้างจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ถือเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านพื้นที่ บุคลากร ในการส่งเสริมด้าน Green Organic Eco รวมถึงโครงการพระราชดำริ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ให้สามารถผลิตพืชอินทรีย์ได้ตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการหรือมาตรฐาน GAP และ ตามยุทธศาสตร์จังหวัดแพร่ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ ส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ยังขาดการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้สู่ด้าน Green Organic Eco และโครงการพระราชดำริ ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนโดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่างๆ ต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ด้าน Green Organic Eco ต้นแบบเกษตรอินทรีย์
2 เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน Green Organic Eco ต้นแบบเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ สู่การเป็นมหาวิทยาลัย Go.Eco.U
KPI 1 : การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามที่กำหนด
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50000 บาท 50000
KPI 2 : ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เพิ่มขิ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ สู่การเป็นมหาวิทยาลัย Go.Eco.U
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ ฯ สู่การเป็นมหาวิทยาลัย Go.Eco.U

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/01/2563 - 30/09/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายธวัชชัย  ชัยธวัชวิถี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมารถแบ็คโฮขุดปรับพื้นที่ จำนวน 25 ชั่วโมง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 25,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจาก สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ทำให้มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ส่งผลให้จังหวัดแพร่ได้ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ประกาศแนวทางการเตรียมรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 ในวันที่ 23 มีนาคม 2563 ส่งผลให้การดำเนินงานด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้เปลี่ยนไปจากแผนเดิมที่กำหนดไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้รายงานผลการดำเนินการ ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน ให้หัวหน้าโครงการได้รับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป
ติดตามข่าวสารทางราชการตลอดเวลา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล