15391 : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการประเมินคุณภาพทางชีวภาพ ในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ด้วยเทคนิค PCRs เพื่อการจัดการฟาร์มและการป้องกันโรค
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/8/2563 10:56:23
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/01/2563  ถึง  29/02/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  อาจารย์ นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา ยุวเกษตรกร และศิษย์เก่า ที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการศึกษาชีวภาพในฟาร์มและสิ่งแวดล้อม วันที่ 31 มกราคม 2563 ณ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ จำนวน 50 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆ ละ 600 บาท จำนวน 30,000 บาท 2563 30,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  โรจน์ทินกร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี  วิระสิทธิ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านบริการวิชาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 4.การบริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 4.1 ระบบการบริหารจัดการงานบริการ วิชาการที่ดี มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด 63 MJU 4.1.3 เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยจากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 63-64MJU4.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-63-4. การบูรณาการองค์ความรู้ที่เพิ่มศักยภาพและขีดสมรรถนะของชุมชนและสนองงานโครงการในพระราชดำริ
เป้าประสงค์ FT-63-4.1 เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ
ตัวชี้วัด FT-63-4-3 จำนวนรายรับจากการให้บริการ
กลยุทธ์ FT-63-4.1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการแก่สังคมทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เกิดภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) ทำให้มีการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค ซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่ในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำทั้งในการเพาะปลูกเพาะเลี้ยงและในแหล่งดินแหล่งน้ำธรรมชาติ สำหรับการตรวจสอบและการจัดการในฟาร์ม จะเป็นการตรวจคุณภาพดินและน้ำด้านกายภาพและเคมี เช่น pH DO ammonia เป็นต้น ส่วนคุณภาพด้านชีวภาพ ยังเป็นการตรวจด้วยวิธีดั่งเดิม เช่น การตรวจจุลินทรีย์ การนับวัดปริมาณละชนิดแพลงก์ตอนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งวิธีนี้จะต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน และต้องใช้เวลานานในการตรวจวัด หากนักวิชาการด้านเกษตร ผู้ประกอบการและเกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้นที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในฟาร์มและสิ่งแวดล้อม จะทำให้สามารถประเมินคุณภาพด้านชีวภาพของสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมน้ำที่ชัดเจน โดยจะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถวางแผนและจัดการฟาร์มและสุขภาพสัตว์น้ำได้อย่างเหมาะสม ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีเกินจำเป็น มีผลผลิตทางประมงที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในศตวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีดิจิตอลร่วมกับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้มีการพัฒนาด้านองค์ความรู้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งมีราคาถูกและประสิทธิภาพสูง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราพร โรจน์ทินกร ได้พัฒนาเทคนิคร่วมกับการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ทันสมัยและราคาถูก เพื่อให้สามารถใช้งานการประเมินด้านชีวภาพในภาคสนามได้ โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคอย่างง่ายในการตรวจสารพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย แล้วสามารถนำผลด้านชีวภาพที่แสดงให้เห็น มาใช้ในการประเมินจัดการฟาร์มให้เหมาะสม การป้องกันโรค และรวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง ผศ.ดร. จิราพร จะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะให้แก่ นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา และศิษย์เก่า เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคนิค PCRs อย่างง่าย ในการเปิดเผยข้อมูลชีวภาพและคุณภาพทางชีวภาพของเกษตร ปศุสัตว์ และประมง โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ช่วยในการตัดสินใจเพื่อป้องกันโรคและจัดการฟาร์มให้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย คาดว่า อาจารย์ นักวิชาการ เกษตรกร นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจเข้าอบรม สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปใช้ประโยชน์ในการจัดการฟาร์มเกษตร ปศุสัตว์ และประมง เพื่อการจัดการและการป้องกันโรคในฟาร์มได้จริง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้เกษตรกรลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ เป็นการส่งเสริมให้นักวิชาการ เกษตรกร และนักศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและราคาไม่สูง เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย เป็นการสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ให้สามารถพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิค PCRs อย่างง่าย ที่ทันสมัย และราคาถูก สำหรับประยุกต์ใช้ในการประเมินคุณภาพทางชีวภาพด้านเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ให้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา ยุวเกษตรกร และศิษย์เก่า มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินด้านชีวภาพของฟาร์ม และใช้ในการตัดสินใจเพื่อป้องกันโรคและจัดการฟาร์มเกษตร ปศุสัตว์ และประมง อย่างมีประสิทธิภาพสูง ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี และผลิตอาหารปลอดภัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อาจารย์ นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา ยุวเกษตรกร และศิษย์เก่า ที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการศึกษาชีวภาพในฟาร์มและสิ่งแวดล้อม
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อาจารย์ นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักศึกษา ยุวเกษตรกร และศิษย์เก่า ที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และการศึกษาชีวภาพในฟาร์มและสิ่งแวดล้อม
ชื่อกิจกรรม :
โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการประเมินคุณภาพทางชีวภาพ ในภาคเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ด้วยเทคนิค PCRs เพื่อการจัดการฟาร์มและการป้องกันโรค

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/01/2563 - 29/02/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร  โรจน์ทินกร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ จำนวน 1 คนๆ ละ 1 วันๆ ละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คนๆ ละ 5 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้เข้าอบรม จะน้อยกว่าที่ตั้งเป้าหมาย
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง และเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล