15379 : 63-โครงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระดับทวิภาคีเพื่อยกระดับความเป็นนานาชาติ ณ ประเทศอินโดนีเซีย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
น.ส.ศิริกานดา ไข่คำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 7/12/2563 9:21:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการเดินทางไปต่างประเทศ
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
17/12/2562  ถึง  28/02/2563
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  13  คน
รายละเอียด  คณาจารย์วิทยาลัยบริหารศาสตร์ จำนวน 13 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น วิทยาลัยบริหารศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากกองทุนเงินสะสมวิทยาลัยบริหารศาสตร์ที่คณะกรรมการประจำวิทยาลัย และคณะกรรมการกองทุนได้ให้ความเห็นชอบแล้วในวงเงิน 729,560 บาท 2563 729,560.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นนท์  น้าประทานสุข
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. เฉลิมชัย  ปัญญาดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุริยจรัส  เตชะตันมีนสกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
ด้านการต่างประเทศ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2563 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 63 MJU 2.การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ (61-64)
เป้าประสงค์ 61-64MJU 2.2 มีเครือข่ายความร่วมมือที่ลงสู่การปฏิบัติจริงในทุกกิจกรรมตามพันธกิจ และมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 63 MJU 2.2.1 จำนวนเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่่เข้มแข็ง และมีกิจกรรมร่วมกัน (Inc-B)
กลยุทธ์ 61-64MJU 2.2.2 สร้างเครือข่ายพันธมิตรสถาบันการศึกษา เพื่อการต่อยอดการศึกษา (Transfer Credit, Dual Degree, Share Resources)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2563] ประเด็นยุทธศาสตร์ SAS 63-65 (2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการกับองค์การการศึกษาและองค์การที่มีบทบาทในการบริหารเพื่อสาธารณะ ทั้งในและต่างประเทศ
เป้าประสงค์ SAS 63-65 (2.1) มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการกับองค์การการศึกษาและองค์การที่มีบทบาทในการบริหารเพื่อสาธารณะ ทั้งในและต่างประเทศ
ตัวชี้วัด SAS 62-65 จำนวนความร่วมมือทางวิชาการ MOU/MOA กับหน่วยงานต่างประเทศ
กลยุทธ์ SAS ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการกับหน่วยงานทั้งในต่างประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นที่ Learning Outcomes เป็นมาตรฐานคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต โดยมีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากล วิทยาลัยบริหารศาสตร์จึงได้พัฒนาหลักสูตรของวิทยาลัยให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคำนึกถึงการพัฒนาทักษะของนักศึกษาและผลการเรียนรู้ ที่ทำให้นักศึกษาสามารถเป็นบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น วิทยาลัยได้วางกลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และความรู้วิชาการที่หลากหลาย ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ กรณีศึกษา และการศึกษาดูงาน ในเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือประเด็นต่างๆ เช่น การบริหารองค์การ การจัดการความขัดแย้ง ความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล รวมไปถึงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ภายใต้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม การเมืองและศาสนา โดยให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้ในการเรียนและการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะความเป็นสากลที่รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศ แต่ละท้องถิ่น รวมไปถึงการทำงานที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เมื่อสำเร็จการศึกษา ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาศักยภาพให้กับนักศึกษาที่คำนึงถึงความหลากหลายในมิติต่าง ๆ ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศอินโดนีเซีย ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื่อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมที่สูงมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่วิทยาลัยต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับคุณภาพทางวิชาการให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการเสริมสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับคณาจารย์ของวิทยาลัยจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกันระหว่างสถาบัน จึงขออนุมัติจัดโครงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระดับทวิภาคีเพื่อยกระดับความเป็นนานาชาติ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 18 -27 มกราคม 2563 ณ Universitas Muhammadiyah Yogyakarta, Udayana University, Institute for Peace and Democracy และ Warmadewa University ประเทศอินโดนีเซีย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย 2. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย
2. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : วิทยาลัยมีความสัมพันธ์ทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย
KPI 1 : วิทยาลัยมีความสัมพันธ์ทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาที่เข้าพบในประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 4 แห่ง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 แห่ง 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : วิทยาลัยมีความสัมพันธ์ทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อกิจกรรม :
ประชุมเจรจาความร่วมมือด้านการบริหารและวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 4 แห่ง คือ 1) Universitas Muhammadiyah Yogyakarta, 2) Udayana University, 3) Institute for Peace and Democracy และ 4) Warmadewa University

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/01/2563 - 27/01/2563
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นนท์  น้าประทานสุข (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 390,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 390,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาในการทำทัวร์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 339,560.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 339,560.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 729560.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล